ข้อสอบคัดเลือกของทีม USA 2017 (25 ข้อ)

1. ขี่มอเตอร์ไซค์ไต่รอบถังทรงกลมขนาดใหญ่ ถ้าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานระหว่างยางมอเตอร์ไซค์กับผนัง คือ μ แล้ว μ น้อยสุดที่ทำให้มอเตอร์ไซค์ไม่หล่นลงไปเท่ากับข้อใด 
ตอบในรูป μ ที่แปรผันกับอัตราเร็ว s ของมอเตอร์ไซค์
A \(\rm\mu \propto {s^0}\)
B \(\rm\mu \propto {s^{ - 1/2}}\)
C \(\rm\mu \propto {s^{ - 1}}\)
D \(\rm\mu \propto {s^{ - 2}}\)
E ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ (D)
2. มวล m ถูกแขวนด้วยสปริงเบาที่ติดอยู่เพดานภายในของกล่องมวล M ขณะกล่องอยู่นิ่งระบบสปริงจะสั่นในแนวตั้งด้วยความถี่เชิงมุม ω ถ้าปล่อยกล่องให้ตกลงอย่างอิสระภายใต้แรงโน้มถ่วง แล้วความถี่เชิงมุมจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร
A ω จะไม่เปลี่ยนแปลง
B ω จะเพิ่มขึ้น
C ω จะลดลง
D การสั่นจะไม่เกิดขึ้น ภายใต้เงื่อนไขดังกล่าว
E ω จะเปลี่ยนแปลง โดยขึ้นกับมวล M และ m
ตอบ (B)
3. ลูกบอลเล็กรัศมี R มวล m ถูกใส่เข้าไปในบอลใหญ่เปลือกบางที่มีมวลเท่ากัน แต่มีรัศมี 2R  ให้ตอนแรกลูกบอลเล็กอยู่ที่ผิวด้านข้างของลูกบอลใหญ่ และยังไม่เสียดสีกับพื้นในแนวนอน จากนั้นปล่อยลูกบอลเล็กให้กลิ้งภายในบอลใหญ่ จนหยุดที่ด้านล่างของลูกบอลใหญ่ แล้วลูกบอลใหญ่จะกลิ้งไปได้เท่าไร จากจุดเริ่มต้นที่สัมผัสพื้น
A R
B R/2
C R/4
D 3R/8
E R/8
ตอบ (B)
4. รถแบบเดียวกันหลายคันกำลังติดไฟแดงบนถนนหนึ่งเลน ซึ่งจอดต่อกันเป็นแถวเดียว และมีระยะหว่างระหว่างคันเท่ากัน เมื่อขึ้นไฟเขียว รถคันแรกไปทิศขวาด้วยความเร่งคงที่ แล้วรถคันที่สองก็วิ่งแบบเดียวกันใน 0.2 วินาที ให้หลัง และรถคันถัดไปก็จะวิ่งอย่างเดียวกัน ถ้ารถทุกคันเร่งความเร็ว จนมีอัตราเร็ว 45 km/hr จากนั้นวิ่งไปทิศขวาด้วยอัตราเร็วคงที่ พิจารณาการเรียงแถวของรถยนต์ ตามรูป
ก่อนที่รถคันแรกจะเริ่มเร่งไปทิศขวา รถทั้งหมดจะเรียงแถวตามรูป I. แล้วลำดับการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดจะเป็นไปตามข้อใด
A เปลี่ยนจาก I ไป II ไป III
B เปลี่ยนจาก I ไป II ไป IV
C เปลี่ยนจาก I ไป IV ไม่มี II และ III
D เปลี่ยนจาก I ไป II
E เปลี่ยนจาก I ไป III
ตอบ (B)
5. ยิงปืนด้วยอัตราเร็ว v0 ออกจากขอบหน้าผาสูง h ทำมุม θ กับแนวนอน โดยไม่คำนึงถึงแรงต้านอากาศ จงหา θ ที่ทำให้กระสุนพุ่งออกไปในแนวราบได้ไกลที่สุด
A 45° < θ < 90°
B θ = 45°
C 0° < θ < 45°
D θ = 0°
E θ < 45° หรือ 45° < θ ขึ้นกับค่า h และ v0
ตอบ (C)
6. กำหนดคานสองคาน มีเชือกเบา 7 เส้น ผูกอยู่ในตำแหน่งต่างๆ ดังรูป ถ้ามวลของวัตถุ M1 = 400 g, M2 = 200 g และ M4 = 500 กรัม แล้วมวล M3 มีค่าเท่าใด เมื่อคานอยู่ในสภาวะสมดุล
A 300 g
B 400 g
C 500 g
D 600 g
E 700 g
ตอบ (E)
7. รถไฟเดิมมีมวล M เคลื่อนที่ไปตามแนวราบโดยไม่มีแรงเสียดทาน และมีอัตราเร็วคงที่ เมื่อหิมะเริ่มตกลงมาเกาะรถไฟด้วยอัตรา ρ โดย ρ มีหน่วย kg/s ซึ่งรถไฟจะต้องรักษาระดับอัตราเร็ว v ให้คงที่ แม้จะมีหิมะเกาะสะสมอยู่บนรถไฟ
แล้วพลังงานจลน์ของรถไฟและหิมะเพิ่มขึ้นในอัตราเท่าใด
A \(0\)
B \(\rm Mgv\)
C \(\rm \dfrac{1}{2}Mv^2\)
D \(\rm \dfrac{1}{2}\rho v^2\)
E \(\rm \rho v^2\)
ตอบ (D)
8. รถไฟเดิมมีมวล M เคลื่อนที่ไปตามแนวราบโดยไม่มีแรงเสียดทาน และมีอัตราเร็วคงที่ เมื่อหิมะเริ่มตกลงมาเกาะรถไฟด้วยอัตรา ρ โดย ρ มีหน่วย kg/s ซึ่งรถไฟจะต้องรักษาระดับอัตราเร็ว v ให้คงที่ แม้จะมีหิมะเกาะสะสมอยู่บนรถไฟ
กำลังต่ำสุดที่รถไฟต้องใช้รักษาระดับอัตราเร็ว v ให้คงที่ เท่ากับข้อใด
A \(0\)
B \(\rm Mgv\)
C \(\rm \dfrac{1}{2}Mv^2\)
D \(\rm \dfrac{1}{2}\rho v^2\)
E \(\rm \rho v^2\)
ตอบ (E)
9. ขวด A, B และ C มีฐานเป็นวงกลมรัศมี 2 cm เหมือนกัน ถ้าเทน้ำที่มีปริมาณเท่ากัน 
ลงในขวดแต่ละใบ โดยไม่ให้มีน้ำล้นออกมา จงเรียงลำดับ แรง F ที่น้ำกระทำกับฐานของขวดจากมากไปหาน้อย
A FA > FB > FC
B FA > FC > FB
C FB > FC > FA
D FC > FA > FB
E FA = FB = FC
ตอบ (D)
10. หูจับแกลลอนนม มี Plug อุดอยู่เนื่องจากข้อผิดพลาดในการผลิต หลังจากเปิดฝา 
แล้วเทนมบางส่วนออกมา นมที่อยู่ในแกลลอนจะอยู่ต่ำกว่านมที่อยู่ในหูจับ ตามรูป 
ข้อใดเป็นจริงเกี่ยวกับความดันเกจ P ของนมที่ฐานด้านล่างของแกลลอน เมื่อ ρ คือ ความหนาแน่นของนม
A P = ρgh
B P = ρgH
C ρgH < P < ρgh
D P > ρgh
E P < ρgH
ตอบ (B)
11. ทรงกลมตันขนาดเล็กมวล m รัศมีเล็กมาก เชื่อมกับคานบางยาว L มีมวล 2m และทรงกลมตันขนาดเล็กอันที่สองมวล M มีรัศมีเล็กมาก ถูกยิงในแนวตั้งฉากกับคานบางเหนือทรงกลมตันแรกเป็นระยะ h ดังรูป
ถ้าไม่ต้องการให้คานหมุนหลังเกิดการชน ทรงกลมตันที่สองควรพุ่งชนที่ตำแหน่งใด
 
A h = 0
B h = L/3
C h = L/3
D h = L
E จุดใดก็ได้ บน L
ตอบ (B)
12. ทรงกลมตันขนาดเล็กมวล m รัศมีเล็กมาก เชื่อมกับคานบางยาว L มีมวล 2m และทรงกลมตันขนาดเล็กอันที่สองมวล M มีรัศมีเล็กมาก ถูกยิงในแนวตั้งฉากกับคานบางเหนือทรงกลมตันแรกเป็นระยะ h ดังรูป
ถ้าไม่ต้องการให้คานหมุนหลังเกิดการชน ทรงกลมตันที่สองควรมีมวล M เท่าใด
 
A M = m
B M = 1.5m
C M = 2m
D M = 3m
E M มีมวลเท่าใดก็ได้
ตอบ (E)
13. เชือกเบาคล้องผ่านรอกที่ไม่มีความฝืด วัตถุมวล M และ M + m ถูกแขวนที่ปลายเชือกแต่ละด้าน ถ้า m = 0 แล้วแรงตึงเชือก T เท่ากับ Mg แล้วกรณีที่เพิ่มค่า m ถึงอนันต์ แรงตึงเชือกจะเปลี่ยนไปอย่างไร
A คงที่
B ลดลง และเข้าใกล้ค่าคงที่ ที่ไม่ใช่ศูนย์
C ลดลง และเข้าใกล้ 0
D เพิ่มขึ้น และเข้าใกล้ค่าคงที่ค่าหนึ่ง
E เพิ่มขึ้น และมีค่าเป็นอนันต์
ตอบ (D)
14. กำหนดให้ วัตถุจากจุดนิ่งกลิ้งลงบนพื้นลาดเอียงโดยไม่ไถล
ถ้าวัตถุในแต่ละข้อมีมวล M รัศมี R เหมือนกัน แล้วข้อใดมีอัตราเร่งมากสุด ขณะกลิ้งลงมา
 
A ทรงกลมตัน
B แผ่นกลม
C ทรงกลมกลวง
D ห่วง
E ทุกข้อมีอัตราเร่งเท่ากัน
ตอบ (A)
15. กำหนดให้ วัตถุจากจุดนิ่งกลิ้งลงบนพื้นลาดเอียงโดยไม่ไถล
ถ้าวัตถุในแต่ละข้อเป็นทรงกลมสม่ำเสมอ ที่เดิมอยู่นิ่งและถูกปล่อยออกเหมือนกัน แล้วข้อใดจะมีอัตราเร็วมากที่สุด หลังจุดศูนย์กลางมวลเคลื่อนที่ตามแนวตั้งไปได้ระยะ h แล้ว
 
A ทรงกลมมวล M รัศมี R
B ทรงกลมมวล 2M รัศมี \(\frac{1}{2}\) R
C ทรงกลมมวล M/2 รัศมี 2R
D ทรงกลมมวล 3M รัศมี 3R
E ทุกข้อมีอัตราเร็วเท่ากัน
ตอบ (E)
16. ไม้ท่อนหนึ่งถูกวางพาดกับผนังเอียง ดังรูป ถ้าส่วนปลายของไม้ที่สัมผัสพื้นเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว v แล้วอัตราเร็วส่วนปลายที่สัมผัสกับผนังจะมีค่าเท่ากับข้อใด
A \(\rm v\dfrac{{\sin \theta }}{{\cos (\alpha - \theta )}}\)
B \(\rm v\dfrac{{\sin (\alpha - \theta )}}{{\cos (\alpha + \theta )}}\)
C \(\rm v\dfrac{{\cos (\alpha - \theta )}}{{\sin (\alpha + \theta )}}\)
D \(\rm v\dfrac{{\cos \theta }}{{\cos (\alpha - \theta )}}\)
E \(\rm v\dfrac{{\sin \theta }}{{\cos (\alpha + \theta )}}\)
ตอบ (D)
17. วัตถุถูกขว้างลงมาในแนวดิ่งจากอาคารสูง 180 เมตร ถ้าผ่านไป 1.0 วินาที วัตถุเคลื่อนที่ได้ 60 เมตร แล้วอัตราเร็วต้นของวัตถุที่ขว้างลงมาเท่ากับข้อใด
A 15 m/s
B 25 m/s
C 35 m/s
D 55 m/s
E ข้อมูลไม่เพียงพอ
ตอบ (B)
18. แผ่นกลมถูกดึงด้วยแรง F ผ่านเชือกที่ยึดกับจุดศูนย์กลางมวล ดังรูป สมมุติว่า แผ่นกลมกลิ้งโดยไม่มีการไถล ในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ พื้นที่ใดที่มีความเร่งเป็นศูนย์ (ถ้ามี)
A พื้นที่ I
B พื้นที่ II
C พื้นที่ III
D พื้นที่ IV
E ทุกจุดบนแผ่นกลมมีความเร่ง
ตอบ (D)
19. ลูกฮอกกี้ถูกตีขึ้นทางลาดที่ทำมุม 30 กับแนวนอน ได้กราฟอัตราเร็วของลูกฮอกกี้กับเวลา ดังรูป แล้วค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานระหว่างลูกฮอกกี้กับทางลาดเท่ากับข้อใด
A 0.07
B 0.15
C 0.22
D 0.29
E 0.37
ตอบ (D)
20. วัตถุมวล m เคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็ว v0 ชนกับวัตถุมวล M ซึ่งเดิมอยู่นิ่ง จะได้สัดส่วนการถ่ายโอนโมเมนตัม f คือ 
ค่าสัมบูรณ์ของโมเมนตัมสุดท้ายของ M หารด้วยโมเมนตัมเริ่มต้นของ m

ถ้าการชนนั้นไม่ยืดหยุ่นสมบูรณ์ แล้วเงื่อนไขในข้อใด ที่ทำให้สัดส่วนการถ่ายโอนโมเมนตัมของสองวัตถุ มีค่ามากสุด
A m/M << 1
B 0.5 < m/M < 1
C m = M
D 1 < m/M < 2
E m/M >> 1
ตอบ (A)
21. วัตถุมวล m เคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็ว v0 ชนกับวัตถุมวล M ซึ่งเดิมอยู่นิ่ง จะได้สัดส่วนการถ่ายโอนโมเมนตัม f  คือ 
ค่าสัมบูรณ์ของโมเมนตัมสุดท้ายของ M หารด้วยโมเมนตัมเริ่มต้นของ m

ถ้าการชนนั้นยืดหยุ่นสมบูรณ์ แล้วสัดส่วนการถ่ายโอนโมเมนตัมที่มีค่ามากสุด ที่เป็นไปได้ fmax มีค่าเท่าใด
A \(\rm 0 < f_{max} < \dfrac{1}{2}\)
B \(\rm f_{max} = \dfrac{1}{2}\)
C \(\rm \dfrac{1}{2} < f_{max} < \dfrac{3}{2}\)
D \(\rm f_{max} = 2\)
E \(\rm f_{max}\ge 3\)
ตอบ (D)
22. วัตถุมวล m เคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็ว v0 ชนกับวัตถุมวล M ซึ่งเดิมอยู่นิ่ง จะได้สัดส่วนการถ่ายโอนโมเมนตัม f  คือ 
ค่าสัมบูรณ์ของโมเมนตัมสุดท้ายของ M หารด้วยโมเมนตัมเริ่มต้นของ m

สัดส่วนการถ่ายโอนพลังงาน คือ ค่าสัมบูรณ์ของพลังงานจลน์สุดท้ายของ M หารด้วยพลังงานจลน์เริ่มต้นของ m 
ถ้าการชนนั้นยืดหยุ่นสมบูรณ์ แล้วเงื่อนไขในข้อใด ที่ทำให้สัดส่วนการถ่ายโอนพลังงานของสองวัตถุ มีค่ามากสุด
A m/M << 1
B 0.5 < m/M < 1
C m = M
D 1 < m/M < 2
E m/M >> 1
ตอบ (C)
23. สปริงขณะยังไม่ถูกดึงยาว 1.0 เมตร เมื่อยืดสปริงให้ยาว 10 เมตร การสั่นของคลื่นจากปลายหนึ่งไปสู่อีกปลายใช้เวลา 1.0 วินาที ถ้ายืดสปริงให้ยาว 20 เมตร แล้วเวลาที่ใช้ในการสั่นของคลื่นจากปลายหนึ่งไปสู่อีกปลาย จะมีค่าใกล้เคียงกับข้อใด
A 0.5 วินาที
B 0.7 วินาที
C 1 วินาที
D 1.4 วินาที
E 2 วินาที
ตอบ (C)
24. บอลมวล m เคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็ว v ชนกับสปริงเบาที่มีค่านิจสปริง k โดยสปริงติดอยู่กับกล่องนิ่งมวล M ในอวกาศ ถ้าการชนไม่มีการสูญเสียพลังงานเชิงกล และระบบไม่เกิดการหมุน แล้วระยะหดมากสุดของสปริง x มีค่าเท่ากับข้อใด
A \(\rm x = v\sqrt {\dfrac{{mM}}{{(m + M)k}}}\)
B \(x = v\sqrt {\dfrac{m}{k}}\)
C \(\rm x = v\sqrt {\dfrac{M}{k}}\)
D \(x = v\sqrt {\dfrac{{m + M}}{k}}\)
E \(\rm x = v\sqrt {\dfrac{{{{(m + M)}^3}}}{{mMk}}}\)
ตอบ (A)
25. ดาวเคราะห์ดวงหนึ่งโคจรรอบดาวฤกษ์ S ดังรูป ให้ระยะครึ่งแกนเอกถึงวงโคจร เท่ากับ a และ ระยะที่สั้นที่สุดระหว่างดาวเคราะห์กับดาวฤกษ์ มีค่าเท่า 0.5a ถ้าดาวเคราะห์เคลื่อนผ่านไป จุด P (จุดบนเส้นตรงที่ผ่านดาวฤกษ์ S และตั้งฉากกับแกนเอก) ด้วยอัตราเร็ว v1 แล้วอัตราเร็ว v2 ขณะผ่านจุด perigee มีค่าเท่ากับข้อใด
A \(\rm {v_2} = \dfrac{3}{{\sqrt 5 }}{v_1}\)
B \(\rm {v_2} = \dfrac{3}{{\sqrt 7 }}{v_1}\)
C \(\rm{v_2} = \dfrac{2}{{\sqrt 3 }}{v_1}\)
D \(\rm {v_2} = \dfrac{{\sqrt 7 }}{{\sqrt 3 }}{v_1}\)
E \(\rm {v_2} = 4{v_1}\)
ตอบ (A)