งาน พลังงาน โมเมนตัม ชุดที่ 2 (17 ข้อ)

1. ลูกตุ้มมวล m ยาว ℓ เริ่มแกว่งจากหยุดนิ่งในแนวระดับลงไปชนมวล M แล้วติดไปด้วยกัน หลังการชนมวล m จะแกว่งขึ้นไปได้ระยะทางสูงสุดเท่าใดจากพื้น
(ข้อสอบคัดเลือก ม.4 ศูนย์เตรียม 26 ส.ค. 2555)
ตอบ \(\rm\left(\dfrac{m}{m+M}\right)^2ℓ\)
2. มวล M ตั้งต้นเคลื่อนที่เข้าหากำแพงจากระยะห่าง D ด้วยความเร็วคงที่ v ที่จังหวะเดียวกันกับที่ลูกบอลเล็กๆ มวล m << M กระดอนจาก M แล้วด้วยความเร็ว u > v เทียบกับพื้นไปชนและกระดอนอย่างยืดหยุ่นจากกำแพงแข็งกลับมาชนกับ M อีก ที่จังหวะนี้ m ได้เคลื่อนที่ไปแล้วเป็นระยะทางรวมเท่าใดนับจากเมื่อชน M ครั้งแรก
(ข้อสอบคัดเลือก ม.4 ศูนย์เตรียม 26 ส.ค. 2555)
ตอบ \(\rm \dfrac{2uD}{u+v}\)
3. สปริงมีความยาวธรรมชาติ ℓ ปลายหนึ่งยึดติดกำแพง อีกปลายหนึ่งยึดกับมวล m ถูกอัดไว้เป็นระยะทาง \(\dfrac{ℓ}{2}\) แล้วปล่อยให้ดันมวล m ไปชนมวล m เท่ากันอีกก้อนที่แค่เดิมอยู่นิ่งที่ B แล้วติดกันไป จะไปได้ไกลสุดเท่าใดจากจุด B 
(ข้อสอบคัดเลือก ม.5 ศูนย์เตรียม 3 ก.ย. 2549)
ตอบ \(\dfrac{ℓ}{2\sqrt2}\)
4. จงแปลงค่าของพลังงานจลน์ \(\rm \dfrac{1}{2}mv^2=5\) จูล ไปอยู่ในหน่วยกรัม (มิลลิเมตรต่อวินาที)2
(ข้อสอบคัดเลือก ม.5 ศูนย์เตรียม 6 ก.ย. 2546)
ตอบ 5 × 109 g ⋅ (mm/s)2
5. มวล M อยู่นิ่งบนพื้นระดับลื่นและมีสปริงเบาติดอยู่ด้านซ้าย ค่าคงที่สปริงเท่ากับ k มวล m เคลื่อนที่ด้วยความเร็วต้น u เข้าชน สปริงจะหดเข้าไปมากที่สุดเป็นระยะทางเท่าไร
(ข้อสอบคัดเลือก ม.5 ศูนย์เตรียม 6 ก.ย. 2546)
ตอบ \(\rm u\sqrt{\dfrac{1}{k}\left(\dfrac{Mm}{M+m}\right)}\)
6. โปรเจคไทล์ตั้งต้นจากจุด O เมื่อขึ้นไปถึงจุดสูงสุดก็ระเบิดออกเป็นสองชิ้นมวลเท่ากัน ชิ้นหน้าคือ A ชิ้นหลังคือ B ทันทีหลังระเบิด B มีความเร็วเป็นศูนย์เทียบกับพื้น ชิ้น A จะตกบนพื้นเลยจุดตกของ B ไปเป็นระยะทางกี่เท่าของระยะทาง OC 
(ข้อสอบคัดเลือก ม.4 ศูนย์เตรียม 26 ส.ค. 2555)
ตอบ 2 เท่า
7. ปล่อยลูกบอลมวล m จากจุดหยุดนิ่งจากที่สูง H จากพื้นทุกครั้งที่ลูกบอลกระทบพื้นจะกระดอนขึ้นด้วยอัตราเร็ว e(< 1) เท่าของอัตราเร็วก่อนกระทบพื้นพอดี ตอนที่ลูกบอลกระดอนขึ้นครั้งที่ n ลูกบอลมีพลังงานจลน์เท่าใด และจะกระดอนขึ้นไปได้สูงเท่าใดก่อนตกกลับลงมาอีก
(ข้อสอบคัดเลือก ม.4 ศูนย์เตรียม 29 ส.ค. 2553)
ตอบ e2nH
8. ลูกปืนตะกั่วลูกหนึ่งเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็ว 200 m/s เข้าใส่เป้าและหยุดนิ่งอยู่ในเป้า สมมุติว่าพลังงานจลน์ทั้งหมดของลูกปืนเปลี่ยนเป็นความร้อนหมด และความร้อนนี้แบ่งไปให้ลูกปืนกับเป้าอย่างละเท่ากัน ลูกปืนมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นเท่าใด ความจุความร้อนจำเพาะของตะกั่วมีค่าเป็น 0.032 เท่าของน้ำ ความจุความร้อนจำเพาะของน้ำมีค่าเท่ากับ 1.00 cal/(g ⋅C) และ 1.00 cal มีค่าเท่ากับ 4.186 J
(ข้อสอบคัดเลือก ม.4 ศูนย์เตรียม 30 ส.ค. 2552)
ตอบ 75C
9. A กับ B เป็นมวลทรงกลมผิวเกลี้ยงรัศมีเท่ากัน A กำลังเคลื่อนที่ในแนว OX เข้าชน B ซึ่งอยู่นิ่งก่อนชนหลังการชนกันอย่างยืดหยุ่น แล้ว B จะกระเด็นทำมุมกี่องศากับแนว OX 
(ข้อสอบคัดเลือก ม.5 ศูนย์เตรียม 31 ส.ค. 2551)
ตอบ \(\dfrac{\pi}{6}\)
10. ปล่อยมวลเล็ก ๆ ให้ไถลจากจุดหยุดนิ่งที่จุด A เข้าสู่รางวงกลม OB อย่างนุ่มนวล (ไม่มีการสะดุด, กระแทก) จะต้องให้จุด A อยู่สูงจากพื้นระดับเป็นกี่เท่าของรัศมีของราง OB จึงจะทำให้มวลนั้นขึ้นถึงจุด B ได้พอดีโดยไม่แยกตัวจากรางก่อน
(ข้อสอบคัดเลือก ม.5 ศูนย์เตรียม 31 ส.ค. 2551)
ตอบ \(\rm \dfrac{R}{2}\)
11. ลูกบอลลูกหนึ่งตกลงมาจากที่สูง 10 m กระดอนกับพื้น และลอยกลับขึ้นไปได้สูง 2.5 m ถ้าลูกบอลกระทบพื้นนาน 0.10 s ความเร่งเฉลี่ยของลูกบอลระหว่างที่แตะพื้นมีขนาดเท่าใด
(ข้อสอบคัดเลือก ม.4 ศูนย์เตรียม 31 ส.ค. 2551)
ตอบ 2.1 × 10 2 m/s2
12. M กับ m ผูกโยงกันด้วยเส้นยางยืดหย่อนๆ อยู่บนผืนระดับรอบเเละลื่นต่อมาดีด M ไปทางขวาด้วยความเร็ว v อึดใจต่อมาขณะที่เส้นยางยืดตึงที่สุดนั้น M มีความเร็วเป็นเท่าไรและพลังงานศักย์ของระบบขณะเดียวกันนั้นมีค่าเท่าไร
(ข้อสอบคัดเลือก ม.5 ศูนย์เตรียม 1 ก.ย. 2556)
ตอบ \(\rm v_{_M} = \dfrac{M}{M +m}v_0\) และ \(\rm PE = \dfrac{1}{2}\left(\dfrac{mM}{M +m}\right) v^2_0\)
13. ลูกตุ้ม M ห้อยอยู่นิ่ง ๆ มวล m เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว u เข้าชนแล้วติดกันไปจะขึ้นไปได้สูงจากเดิมเป็นระยะทางเท่าไร
(ข้อสอบคัดเลือก ม.4 ศูนย์เตรียม 31 ส.ค. 2557)
ตอบ สูงจากเดิม \(\rm \dfrac{1}{2g}\left(\dfrac{m}{m+n}\right)^2\)
14. มวล M รูปทรงกลมรัศมี R วางไว้ที่พื้นในห้องที่อุณหภูมิ t จะมีพลังงานศักย์เพิ่มขึ้นหรือลดลงเท่าใด เมื่ออุณหภูมิห้องสูงขึ้นเป็น t1
(ข้อสอบคัดเลือก ม.4 ศูนย์เตรียม 12 ก.ย. 2547)
ตอบ \(\rm MgαR(t_1 − t_0)\)
15. มวล m1 กับ m2 ผูกติดกันด้วยเชือกยาว l และถูกเหวี่ยงให้หมุนอย่างอิสระบนโต๊ะระดับด้วยอัตราเร็วเชิงมุม ω ผู้สังเกตในระบบอ้างอิงเฉื่อยจะพบความเร็วสัมพันธ์ระหว่าง m2 กับ m1 มีขนาดเป็นเท่าใด
(ข้อสอบคัดเลือก ม.5 ศูนย์เตรียม 3 ก.ย. 2549)
ตอบ ωl
16. จงตอบคำถามต่อไปนี้
1) จงพิสูจน์ว่าในกรอบอ้างอิงจุดศูนย์กลางมวลของระบบ โมเมนตัมของระบบมีค่ารวมกันเป็นศูนย์
2) จงแสดงว่าพลังงานจลน์ทั้งหมดของระบบมีค่าเท่ากับพลังงานจลน์ของจุดศูนย์กลางมวลของระบบบวกกับพลังงานจลน์รอบจุดศูนย์กลางมวลของระบบ
(ข้อสอบปลายค่าย 1 ม.4 ศูนย์เตรียม 24 ต.ค. 2552)
ตอบ
1) จาก นิยามของ \(\rm v_{cm}\)จะได้
\(\rm v_{cm}=\dfrac{\sum\limits_{i = 1}^{i = n} {m_iv_i} }{\sum\limits_{i = 1}^{i = n} {m_1}}\)
โมเมนตัมรวมของระบบเทียบจุดศูนย์กลางมวล คือ
\(\rm \sum\limits_{i = 1}^{i = n} {m_i{(v-v_{cm})}}i\)
จึงได้ว่า
\(\rm \sum\limits_{i = 1}^{i = n} {m_iv_i} - \sum\limits_{i = 1}^{i = n} {m_iv_{cm}} = 0\)

2) พลังงานจลน์ของระบบคือ
\(\rm \sum\limits_{i = 1}^{i = n} {\dfrac{1}{2}m_iv^2_i} = \sum\limits_{i = 1}^{i = n} {\dfrac{1}{2}m_i(v_{cm}+v_{i,cm})^2} = \sum\limits_{i = 1}^{i = n} {\dfrac{1}{2}m_iv^2_{cm}} + \sum\limits_{i = 1}^{i = n} {\dfrac{1}{2}m_iv^2_{i,cm}}\)
ใช้ผลจากข้อที่แล้วร่วมด้วย เพื่อตัดพจน์ตรงกลางทิ้งไป
\(\rm ∴ KE_{system} = KE_{cm} +KE_{around \,cm}\)
17.
จงใช้หลักอนุรักษ์โมเมนตัมหาค่าของ V ในรูปของ \(\rm θ, \dotθ,m,M, a\) แล้วใช้หลักอนุรักษ์พลังงาน ผสมกับผลข้างต้นเพื่อ หาค่าของ \(\rm \dotθ^2\) ในรูปของ \(\rm θ,m,M, a\) และ \(\rm g\) และถ้าทำต่อไปได้ให้หาค่าของมุม \(\rm θ\) ที่ \(\rm m\) เริ่มหลุดจากผิวของทรงกระบอก
(ข้อสอบปลายค่าย 1 ม.5 ศูนย์เตรียม 25 ต.ค. 2551)
ตอบ
1) \(\rm V=\dfrac{m\dotθRcos}{M+m}\)
2) \(\rm 2g(1-\cos\theta) = \left[\dfrac{M+m(1-\cos\theta)^2}{M+m}\right]a\dot\theta^2\)
3) \(\rm \theta=arccos\left[\dfrac{2(M+m)}{2(M+m)+M}\right]\)