1. | แอปเปิ้ลขนาด 0.3 kg เดิมอยู่นิ่ง ร่วงลงมาจากความสูง 40 cm ลงบนพื้นราบ และหยุดนิ่งใน 0.1 s พื้นผิวที่ตกกระแทกพื้นเท่ากับ 4 cm2 แล้วความดันเฉลี่ยของแอปเปิ้ลขณะตกกระแทกพื้นเท่ากับข้อใด ไม่ต้องคำนึงถึงแรงต้านอากาศ |
A | 67,000 Pa |
B | 21,000 Pa |
C | 6,700 Pa |
D | 210 Pa |
E | 67 Pa |
2. | วัตถุที่เหมือนกัน 3 ชิ้น ถูกวางโต๊ะที่ไม่มีแรงเสียดทาน ดังรูป ให้มวลที่อยู่ตรงกลางอยู่นิ่ง ส่วนอีกสองชิ้นพุ่งเข้าหาวัตถุที่อยู่ตรงกลางด้วยอัตราเร็ว v เหมือนกัน โดยวัตถุที่อยู่ตรงกลางจะอยู่ใกล้กับวัตถุทางซ้ายมากกว่าทางขวา และการเคลื่อนที่ทั้งหมดเกิดขึ้นหนึ่งมิติ ตามแนวนอน สมมุติว่า การชนแต่ละครั้งใช้เวลาน้อยมากและยืดหยุ่นสมบูรณ์ หลังจากผ่านไปซักพัก ข้อความใดต่อไปนี้เป็นจริง |
A | วัตถุตรงกลาง จะเคลื่อนที่ไปทางซ้าย |
B | วัตถุตรงกลาง จะเคลื่อนที่ไปทางขวา |
C | วัตถุตรงกลาง หยุดนิ่งอยู่ทางด้านซ้ายของตำแหน่งเริ่มต้น |
D | วัตถุตรงกลาง หยุดนิ่งอยู่ที่ตำแหน่งเริ่มต้น |
E | วัตถุตรงกลาง หยุดนิ่งอยู่ทางด้านขวาของตำแหน่งเริ่มต้น |
3. | วัตถุที่เหมือนกัน 3 ชิ้น ถูกวางโต๊ะที่ไม่มีแรงเสียดทาน ดังรูป ให้มวลที่อยู่ตรงกลางอยู่นิ่ง ส่วนอีกสองชิ้นพุ่งเข้าหาวัตถุที่อยู่ตรงกลางด้วยอัตราเร็ว v เหมือนกัน โดยวัตถุที่อยู่ตรงกลางจะอยู่ใกล้กับวัตถุทางซ้ายมากกว่าทางขวา และการเคลื่อนที่ทั้งหมดเกิดขึ้นหนึ่งมิติ ตามแนวนอน สมมุติว่า การชนแต่ละครั้งใช้เวลาน้อยมากและไม่ยืดหยุ่นสมบูรณ์ หลังจากผ่านไปซักพัก ข้อความใดต่อไปนี้เป็นจริง |
A | วัตถุตรงกลาง จะเคลื่อนที่ไปทางซ้าย |
B | วัตถุตรงกลาง จะเคลื่อนที่ไปทางขวา |
C | วัตถุตรงกลาง หยุดนิ่งอยู่ทางด้านซ้ายของตำแหน่งเริ่มต้น |
D | วัตถุตรงกลาง หยุดนิ่งอยู่ที่ตำแหน่งเริ่มต้น |
E | วัตถุตรงกลาง หยุดนิ่งอยู่ทางด้านขวาของตำแหน่งเริ่มต้น |
4. | นักบินอวกาศมวล 80 kg นั่งอยู่บนยานอวกาศที่กำลังเข้าใกล้พื้นโลก ถ้ายานอวกาศมีความเร่งในทิศขึ้นตั้งฉากกับพื้นโลกเป็นห้าเท่าของความเร่งโน้มถ่วง แล้วแรงที่นักบินกระทำกับยานอวกาศจะเท่ากับข้อใด |
A | 4800 N |
B | 4000 N |
C | 3200 N |
D | 800 N |
E | 400 N |
5. | ดาวเทียมขนาดเท่ากันสามดวง A, B และ C อยู่ในวงโคจรของดาวเคราะห์ ตามรูป ถ้าขนาดของโมเมนตัมเชิงมุมของดาวเทียมที่วัดจากดาวเคราะห์ เท่ากับ LA , LB และ LC แล้วข้อใดต่อไปนี้ถูกต้อง |
A | LA > LB > LC |
B | LC > LB > LA |
C | LB > LC > LA |
D | LB > LA > LC |
E | การจัดลำดับขนาดจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับช่วงเวลานั้นๆ |
6. | วัตถุถูกโยนด้วยอัตราเร็วต้นคงที่ v0 ด้วยมุมที่แตกต่างกัน α กับแนวราบ ที่ความสูงคงที่ค่าหนึ่ง h เหนือจุดยิง อัตราเร็ว v ของวัตถุจะมีค่าตามฟังก์ชันของมุมเริ่มต้น α ข้อใดอธิบาย v ที่เปลี่ยนไปตามมุม α ได้ดีที่สุด (สมมุติว่า มีความสูง h ตามเงื่อนไข และไม่มีแรงต้านอากาศ) |
A | v จะเพิ่มขึ้นเป็นลำดับทางเดียวตาม α |
B | v จะเพิ่มขึ้นถึงค่าวิกฤต vmax ค่าหนึ่ง หลังจากนั้นจะลดลง |
C | v จะคงที่ โดยไม่ขึ้นกับ α |
D | v จะลดลงถึงค่าวิกฤต vmin ค่าหนึ่ง หลังจากนั้นจะเพิ่มขึ้น |
E | ไม่มีข้อใดถูก |
7. | นกตัวหนึ่งบินเป็นเส้นตรง โดยตอนแรกบิน 10 m/s แล้วเพิ่มอัตราเร็วอย่างสม่ำเสมอจนถึง 15 m/s ได้ระยะทางทั้งหมด 25 m ความเร่งของนกเท่ากับข้อใด |
A | 5.0 m / s2 |
B | 2.5 m / s2 |
C | 2.0 m / s2 |
D | 0.5 m / s2 |
E | 0.2 m / s2 |
8. | ให้แผ่นกลมหมุนรอบแกนที่ผ่านจุดศูนย์กลาง และตั้งฉากกับระนาบของแผ่นกลม ด้วยความเร็วเชิงมุมตามกราฟด้านล่าง
แล้วความเร่งเชิงมุมของแผ่นกลมที่ t = 2.0 s เท่ากับข้อใด |
A | – 12 rad / s2 |
B | – 8 rad / s2 |
C | – 4 rad / s2 |
D | – 2 rad / s2 |
E | 0 rad / s2 |
9. | ให้แผ่นกลมหมุนรอบแกนที่ผ่านจุดศูนย์กลาง และตั้งฉากกับระนาบของแผ่นกลม ด้วยความเร็วเชิงมุมตามกราฟด้านล่าง แล้วมุมที่กวาดไปได้ในช่วง 3 วินาที เท่ากับข้อใด |
A | 9 rad |
B | 8 rad |
C | 6 rad |
D | 4 rad |
E | 3 rad |
10. | ชายคนหนึ่งยืนอยู่ที่ขอบประตูหนีไฟ เขาขว้างแอปเปิ้ลสองลูกพร้อมกัน โดยอันหนึ่งโยนขึ้นด้วยอัตราเร็ว 7 m/s และอีกอันขว้างลงด้วยอัตราเร็วเท่ากัน ระยะห่างของแอปเปิ้ลทั้งสองที่ วินาทีที่ 2 หลังโยนออกไปเท่ากับข้อใด สมมุติว่าทั้งสองยังไม่ตกถึงพื้น |
A | 14 m |
B | 20 m |
C | 28 m |
D | 34 m |
E | 56 m |
11. | มวล 2.25 kg มีการเร่งอัตราเร็วดังกราฟ งานที่กระทำกับมวลได้เท่ากับข้อใด |
A | 36 J |
B | 22 J |
C | 5 J |
D | – 17 J |
E | – 36 J |
12. | แบทแมนมวล M = 100 kg ปีนขึ้นดาดฟ้าสูง 30 m จากนั้นโยนเชือกเบาให้โรบินจับไว้ แล้วดึงโรบินที่มีมวลประมาณ 75 kg ขึ้นมาบนดาดฟ้า งานสุทธิที่แบทแมนทำหลังโรบินขึ้นมาบนดาดฟ้าได้เท่ากับข้อใด |
A | 60 J |
B | 7 × 103 J |
C | 5 × 104 J |
D | 600 J |
E | 3 × 104 J |
13. | ก (มวล 33.1 kg) ข (มวล 63.7 kg) และ ค (มวล 24.3 kg) นั่งห่างกันบนกระดานหกสม่ำเสมอที่มีน้ำหนักเบา เว้นระยะห่าง 2.74 m ตามลำดับ (ข อยู่ระหว่าง ก และ ค) ทำให้กระดานหกสมดุล ใครมีทอร์กบนกระดานหกมากที่สุด (ในแง่ของขนาด) ไม่ต้องสนมวลของกระดานหก |
A | ก |
B | ข |
C | ค |
D | ทั้งสามมีทอร์กเท่ากัน |
E | ข้อมูลไม่เพียงพอต่อการตอบคำถาม |
14. | บล็อคไม้ (มวล M) ถูกแขวนบนเชือกเบาที่ถูกปักหมุดไว้ กระสุนที่มาด้วยอัตราเร็ว (มีมวล m และอัตราเร็วต้น v0) ชนกับบล็อคที่เวลา t = 0 และฝังอยู่ในนั้น ถ้า S เป็นระบบที่ประกอบด้วย บล็อกและกระสุน แล้วปริมาณใดที่ถูกอนุรักษ์ไว้ในช่วง t = –10 s ถึง t = +10 s |
A | โมเมนตัมเชิงเส้นรวมของ S |
B | องค์ประกอบในแนวนอนของ โมเมนตัมเชิงเส้นของ S |
C | พลังงานกลของ S |
D | โมเมนตัมเชิงมุมของ S ที่วัดเทียบกับแกนตั้งฉากกับหมุด |
E | ไม่มีปริมาณใดถูกอนุรักษ์ไว้ |
15. | กระเป๋าเดินทาง 22.0 kg ถูกลากด้วยอัตราเร็วคงที่ 1.10 m/s เป็นเส้นตรง โดยนักเรียนคนหนึ่งที่จะไปสอบ IPhO ครั้งที่ 40 ที่ประเทศเม็กซิโก ถ้าเขาลากกระเป๋าที่สนามบินด้วยแรง 1.00×102 N เอียงทำมุมสูง 30.0 องศากับแนวระดับ แล้วสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานจลน์ ระหว่างกระเป๋าเดินกับพื้นเท่ากับข้อใด |
A | μk = 0.013 |
B | μk = 0.394 |
C | μk = 0.509 |
D | μk = 0.866 |
E | μk = 1.055 |
16. | วัตถุมวล m สองอันที่เหมือนกัน นำไปติดที่ปลายทั้งสองของสปริง ที่มีค่านิจสปริง k และวางอยู่บนพื้นที่ไม่แรงเสียดทานในแนวนอน แล้วที่ความถี่เชิงมุม ω ขณะระบบสั่นเท่ากับข้อใด |
A | \(\rm\sqrt{k/m}\) |
B | \(\rm\sqrt{2k/m}\) |
C | \(\rm\sqrt{k/2m}\) |
D | \(2\rm\sqrt{k/m}\) |
E | \(\rm\sqrt{k/m}/2\) |
17. | ถ้าคุณมีก้อนมวลมาตรฐาน 1 กิโลกรัม และส้อมเสียงในหน่วย Hz นอกจากนี้คุณยังมีเครื่องมือในห้องปฏิบัติการครบเซต แต่เป็นเครื่องมือที่ไม่ได้ให้ค่าในหน่วย SI และไม่ทราบค่าคงที่พื้นฐานใดๆ แล้วปริมาณใดที่สามารถวัดในหน่วย SI ได้ |
A | ความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วง |
B | อัตราเร็วแสงในสุญญากาศ |
C | ความหนาแน่นของน้ำอุณหภูมิห้อง |
D | ค่านิจสปริงของสปริงที่กำหนด |
E | ความดันอากาศในห้อง |
18. | ลูกตุ้มอย่างง่ายมีเชือกเบาความยาว L แขวนวัตถุมวล m กับจุดหมุนหนึ่ง และปักหมุดเล็กๆ ขวางไว้ใต้จุดหมุนที่ 2L/3 เพื่อให้ลูกตุ้มแกว่งตามรูป ถ้าจับมวลออกไป 5 องศากับแนวตั้ง แล้วปล่อยออก จะต้องใช้เวลานานเท่าใด ลูกตุ้มจึงจะกลับมาที่จุดเริ่มต้น |
A | \(\rm\pi\sqrt{\dfrac{L}{g}}\left(1+\sqrt{\dfrac{2}{3}}\right)\) |
B | \(\rm\pi\sqrt{\dfrac{L}{g}}\left(2+\dfrac{2}{\sqrt{3}}\right)\) |
C | \(\rm\pi\sqrt{\dfrac{L}{g}}\left(1+\dfrac{1}{3}\right)\) |
D | \(\rm\pi\sqrt{\dfrac{L}{g}}\left(1+\sqrt{3}\right)\) |
E | \(\rm\pi\sqrt{\dfrac{L}{g}}\left(1+\dfrac{1}{\sqrt{3}}\right)\) |
19. | ถ้ากองหลังฟุตบอลสามารถโยนลูกฟุตบอลไปได้ไกลสุด 80 เมตรตามแนวราบ แล้วลูกฟุตบอลที่ถูกโยนไปได้ไกลสุดจะมีจุดสูงสุดเท่ากับข้อใด ไม่ต้องสนแรงต้านอากาศ |
A | 10 m |
B | 20 m |
C | 30 m |
D | 40 m |
E | 50 m |
20. | พิจารณาการชนแบบไม่ยืดหยุ่นสมบูรณ์ของวัตถุสองก้อน ถ้าก้อนที่ 1 มีมวล m และ เคลื่อนที่ไปทางทิศเหนือด้วยอัตราเร็ว v0 ส่วนก้อนที่ 2 มีมวล 3m เคลื่อนที่ไปทางทิศตะวันออกด้วยอัตราเร็ว v0/2 แล้วอัตราเร็วสุดท้ายหลังการชนเท่ากับข้อใด ไม่ต้องคำนึงถึงแรงโน้มถ่วง และถือว่าวัตถุทั้งสองติดไปด้วยกันหลังการชน |
A | \(\rm7/6v_0\) |
B | \(\rm\sqrt5/8v_0\) |
C | \(\rm\sqrt{13}/8v_0\) |
D | \(\rm5/8v_0\) |
E | \(\rm\sqrt{13/8}v_0\) |
21. | ดาวสองดวงโคจรรอบมวลศูนย์กลางหนึ่ง ดังรูป โดยมวลของดาวเท่ากับ 3M และ M และดาวทั้งสองดวงห่างกัน d แล้วพลังงานศักย์โน้มถ่วงของดาวทั้งสองดวงในระบบเท่ากับข้อใด |
A | \(\rm-\dfrac{GM^2}{d}\) |
B | \(\rm\dfrac{3GM^2}{d}\) |
C | \(\rm-\dfrac{GM^2}{d^2}\) |
D | \(\rm-\dfrac{3GM^2}{d}\) |
E | \(\rm-\dfrac{3GM^2}{d^2}\) |
22. | ดาวสองดวงโคจรรอบมวลศูนย์กลางหนึ่ง ดังรูป โดยมวลของดาวเท่ากับ 3M และ M และดาวทั้งสองดวงห่างกัน d คาบวงโคจรของมวล 3M เท่ากับข้อใด |
A | \(\rm \pi\sqrt{\dfrac{d^3}{GM}}\) |
B | \(\rm \dfrac{3\pi}{4}\sqrt{\dfrac{d^3}{GM}}\) |
C | \(\rm \pi\sqrt{\dfrac{d^3}{3GM}}\) |
D | \(\rm 2\pi\sqrt{\dfrac{d^3}{GM}}\) |
E | \(\rm \dfrac{\pi}{4}\sqrt{\dfrac{d^3}{GM}}\) |
23. | นำมวลติดกับสปริงอุดมคติ และสปริงมีความยาวตามปกติ ที่เวลา t = 0 มวลได้รับความเร็วต้น ถ้าคาบการสั่นแบบซิมเปิลฮาร์มอนิกเท่ากับ T แล้ว ณ เวลาใดที่สปริงจะกระทำกับมวลด้วยกำลังที่มากที่สุดเป็นครั้งแรก |
A | t = 0 |
B | t = T/8 |
C | t = T/4 |
D | t = 3T/8 |
E | t = T/2 |
24. | บล็อกไม้สี่เหลี่ยมผืนผ้าสม่ำเสมอมวล M ยาว b สูง a อยู่พื้นเอียงดังรูป บล็อกและพื้นเอียงมีสัมประสิทธิ์แรงเสียดทาน μs และพื้นเอียงทำมุม θ กับแนวระดับ ในบางมุมวิกฤติบล็อกอาจพลิกลง หรือไถลไปตามพื้นเอียงก็ได้ จงหาความสัมพันธ์ระหว่าง a, b และ μs ที่ทำให้บล็อกพลิกลง (และไม่ไถล) ที่มุมวิกฤติ อย่าลืมว่า บล็อกเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า และ a ≠ b |
A | μs > a/b |
B | μs > 1 – a/b |
C | μs > b/a |
D | μs < a/b |
E | μs < b/a – 1 |
25. | แผ่นดิสก์สองแผ่น มีแกนหมุนเบาเสียบที่จุดศูนย์กลางและตั้งฉากกับแผ่นพอดี โดยแกนหมุนจะต้องอยู่ในแนวตั้งตลอดเวลา และดิสก์สามารถหมุนบนแกนได้โดยไม่มีแรงเสียดทาน ถ้าดิสก์หนาเท่ากัน และทำจากวัสดุเดียวกัน แต่รัศมีแตกต่างกันเป็น r1 และ r2 ดิสก์จะมีความเร็วเชิงมุมเป็น ω1 และ ω2 ตามลำดับ เมื่อนำขอบดิสก์มาสัมผัสกัน จะเกิดแรงเสียดทานจนกระทั่งสองแผ่นหยุดชะงัก แล้วข้อใดสรุปความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นได้ถูกต้อง ไม่ต้องคำนึงผลที่เกิดจากแกนหมุนแนวตั้ง |
A | ω12r1 = ω22r2 |
B | ω1r1 = ω2r2 |
C | ω1r12 = ω2r22 |
D | ω1r13 = ω2r23 |
E | ω1r14 = ω2r24 |