1. | รถเลี้ยวขวาด้วยอัตราเร็วคงที่เป็นวงกลม ให้ X เป็นเวกเตอร์โมเมนตัมเชิงมุมรอบศูนย์กลางของวงกลม และ Y เป็นเวกเตอร์ความเร่งของรถ จากมุมมองของคนขับข้อใดต่อไปนี้ถูกต้อง |
A | X ไปทางซ้าย และ Y ไปทางซ้าย |
B | X ไปข้างหน้า และ Y ไปทางขวา |
C | X พุ่งลง และ Y ไปข้างหน้า |
D | X ไปทางซ้าย และ Y ไปทางขวา |
E | X พุ่งลง และ Y ไปทางขวา |
2. | ลูกบอลกลิ้งลงมาจากพื้นเอียงโดยไม่ไถล ดังรูป เวกเตอร์ในข้อใด แสดงทิศทางของแรงสุทธิที่ลูกบอลกระทำกับพื้นเอียงได้ถูกต้อง |
A | |
B | |
C | |
D | |
E |
3. | วัตถุที่มีความหนาแน่นสม่ำเสมอ มีส่วนที่ลอยพ้นน้ำอยู่ 20% ของวัตถุ ถ้าออกแรงกดที่ด้านบนของวัตถุ 3 N จะทำให้วัตถุจมทั้งชิ้น แล้ววัตถุมีปริมาตรเท่าใด ให้ความหนาแน่นของน้ำเท่ากับ ρน้ำ = 1000 kg/m3 |
A | Vวัตถุ = 0.3 ลิตร |
B | Vวัตถุ = 0.67 ลิตร |
C | Vวัตถุ = 1.2 ลิตร |
D | Vวัตถุ = 1.5 ลิตร |
E | Vวัตถุ = 3.0 ลิตร |
4. | จากข้อความที่กำหนด จงหาจำนวนชิ้นส่วน N1 , N2 และ N3 ให้ถูกต้อง ให้สมมุติว่าไม่มีแรงภายนอกมากระทำ และ ในกรณีที่ไม่สามารถสรุปจำนวนชิ้นส่วนได้ให้ใช้ N = 1 • ถ้าวัตถุระเบิดเป็น N1 ชิ้น (หรือจำนวนชิ้นน้อยกว่านี้) โดยที่ทราบมวลของแต่ละชิ้นและทราบพลังงานจลน์รวม แล้วเราจะสามารถหาพลังงานจลน์ของแต่ละชิ้นได้ • ถ้าวัตถุระเบิดเป็น N2 ชิ้น (หรือจำนวนชิ้นน้อยกว่านี้) ความเร็วของวัตถุแต่ละชิ้นจะต้องอยู่บนเส้นตรงเดียวกัน • ถ้าวัตถุระเบิดเป็น N3 ชิ้น (หรือจำนวนชิ้นน้อยกว่านี้) ความเร็วของวัตถุแต่ละชิ้นจะต้องอยู่บนระนาบ |
A | N1 = 2, N2 = 1, N3 = 1 |
B | N1 = 1, N2 = 2, N3 = 3 |
C | N1 = 2, N2 = 2, N3 = 3 |
D | N1 = 3, N2 = 2, N3 = 3 |
E | N1 = 2, N2 = 3, N3 = 4 |
5. | ขี่จักรยานตามรางที่เป็นวงกลมรัศมี 30 m ด้วยอัตราเร็วคงที่ 10 m / s (เร็วมาก!) แล้วขนาดของมุมในการเข้าโค้งของผู้ขี่จักรยานเทียบกับแนวตั้ง ที่ไม่ทำให้จักรยานล้มเท่ากับข้อใด สมมุติว่า ความสูงของคนขี่จักรยานเตี้ยกว่าความยาวรัศมีของราง |
A | 9.46° |
B | 9.59° |
C | 18.4° |
D | 19.5° |
E | 70.5° |
6. | ลูกบาศก์มวล 10 kg แต่ละด้านยาว 5 m สามารถขยับไปตามพื้นราบได้อย่างอิสระโดยไม่มีแรงเสียดทาน ภายในลูกบาศก์มีกล่องเล็กๆ มวล 2 kg ซึ่งเคลื่อนที่ภายในลูกบาศก์ โดยไม่มีแรงเสียดทาน ที่เวลา t = 0 ถ้ากล่องเล็กๆ เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 5 m / s ไปยังด้านหนึ่งของกล่อง โดยลูกบาศก์ยังคงหยุดนิ่ง และสัมประสิทธิ์การกระแทกสำหรับการชนกันระหว่างลูกบาศก์กับกล่องเท่ากับ 90% หมายความว่าอัตราเร็วสัมพัทธ์ระหว่างลูกบาศก์กับกล่อง หลังการชนจะเท่ากับ 90% ของอัตราเร็วสัมพัทธ์ระหว่างลูกบาศก์กับกล่อง ก่อนการชน แล้วระยะทางที่กล่องจะเคลื่อนที่จากตำแหน่งเดิม หลังผ่านไป 1 นาทีเท่ากับข้อใด |
A | 0 m |
B | 50 m |
C | 100 m |
D | 200 m |
E | 300 m |
7. | คานยาว 1.00 m มีความหนาแน่นสม่ำเสมอ มีจุดหมุนห่างจากปลายคาน 30 cm ถ้าคานเกิดสมดุลเมื่อวางวัตถุมวล 50.0 g ให้ห่างจากปลายคาน 20 cm (อ้างอิงปลายเดิม) แล้วคานมีมวลเท่าไร |
8. | นำวัตถุมวล M ไปแขวนกับสปริงที่มีค่านิจสปริง k และปล่อยให้แขวนลงมาในแนวตั้ง โดยคาบของการสั่นเท่ากับ T0 ถ้าตัดสปริงให้เหลือครึ่งเดียวแต่ยังใช้มวลเท่าเดิม แล้วนำไปวางบนพื้นลื่นที่เอียง θ กับแนวนอน แล้วคาบของการสั่นบนพื้นเอียงในเทอมของ T0 เท่ากับข้อใด |
A | \(\rm T_0\) |
B | \(\rm T_0/2\) |
C | \(\rm 2T_0\sin θ\) |
D | \(\rm T_0/\sqrt2\) |
E | \(\rm T_0\sin θ / \sqrt2\) |
9. | กำหนด กราฟแรงที่กระทำกับวัตถุหนัก 5.00 ตามเวลาที่เปลี่ยนแปลงไป ดังรูป ถ้าความเร็วที่ t = 0.0 s คือ +1.0 m / s แล้วความเร็วของวัตถุที่ t = 7 s คือข้อใด |
A | 2.45 m/s |
B | 2.50 m/s |
C | 3.50 m/s |
D | 12.5 m/s |
E | 15.0 m/s |
10. | รถบังคับวิทยุถูกผูกติดกับเสาด้วยเชือกยาว 3.00 m และถูกบังคับให้วิ่งเป็นวงกลม ด้วยความเร็วเชิงมุมเริ่มต้น 1.00 rad / s และเร่งความเร็วต่อเนื่องด้วยอัตรา 4.00 rad / s2 ถ้าเชือกขาดเมื่อความเร่งสู่ศูนย์กลางเกิน 2.43×102 m / s2 แล้วเราสามารถเร่งความเร็วรถได้นานแค่ไหนก่อนเชือกขาด |
A | 0.25 s |
B | 0.50 s |
C | 1.00 s |
D | 1.50 s |
E | 2.00 s |
11. | มวล m ติดสปริงในอุดมคติ ถูกนำไปวางในแนวนอนบนพื้นลื่น จากนั้นดึงมวลเล็กน้อย แล้วปล่อยออก ข้อใดแสดงกราฟพลังงานจลน์กับฟังก์ชันของพลังงานศักย์ได้ถูกต้องที่สุด |
A | |
B | |
C | |
D | |
E |
12. | เฮลิคอปเตอร์กระดาษ มีรัศมีใบพัด r มีน้ำหนัก W ถูกปล่อยที่ความสูง h กลางอากาศที่มีความหนาแน่น ρ
สมมุติว่า เฮลิคอปเตอร์ไปถึงความเร็วสุดท้ายด้วยเวลาอันสั้น แล้วฟังก์ชันสำหรับเวลาบิน T สามารถหาได้จาก
\(\rm T = kh^α r^βρ^δ W^ω\)
โดยที่ k เป็นค่าคงที่ที่ไม่มีมิติ (ค่าแท้จริงคือ 1.164) α, β, δ, และ ω เป็นค่าคงตัวของเลขชี้กำลังที่ต้องหาแล้วค่า α เท่ากับข้อใด |
A | α = -1 |
B | α = -1/2 |
C | α = 0 |
D | α = 1/2 |
E | α = 1 |
13. | เฮลิคอปเตอร์กระดาษ มีรัศมีใบพัด r มีน้ำหนัก W ถูกปล่อยที่ความสูง h กลางอากาศที่มีความหนาแน่น ρ สมมุติว่า เฮลิคอปเตอร์ไปถึง
ความเร็วสุดท้ายด้วยเวลาอันสั้น แล้วฟังก์ชันสำหรับเวลาบิน T สามารถหาได้จาก
\(\rm T = kh^α r^βρ^δ W^ω\)
โดยที่ k เป็นค่าคงที่ที่ไม่มีมิติ (ค่าแท้จริงคือ 1.164) α, β, δ, และ ω เป็นค่าคงตัวของเลขชี้กำลังที่ต้องหาแล้วค่า β เท่ากับข้อใด |
A | β = 1/3 |
B | β = 1/2 |
C | β = 2/3 |
D | β = 1 |
E | ข้อมูลไม่เพียงพอสำหรับการหาค่า β |
14. | (เกินหลักสูตรการสอบเข้า สอวน.) แผ่นกลมมวล M มีโมเมนต์ความเฉื่อย I รัศมี R มีเชือกพันรอบแผ่นกลมไว้ ดังรูป แผ่นกลมกลิ้งอย่างอิสระไปตามทิศทางที่แสดงดังรูป มีแรงคงที่ T กระทำที่ปลายเชือก และทำให้แผ่นกลมมีความเร่งบนพื้นลื่น หลังจากแผ่นกลมมีความเร่งจากระยะทางหนึ่งแล้ว อัตราส่วนของ KE ในการเลื่อนที่กับ KE สุทธิของแผ่นกลม KEการเลื่อนที่ / KEสุทธิ เท่ากับข้อใด |
A | \(\rm \dfrac{I}{{M{R^2}}}\) |
B | \(\rm \dfrac{{M{R^2}}}{I}\) |
C | \(\rm \dfrac{I}{{3M{R^2}}}\) |
D | \(\rm \dfrac{I}{{M{R^2} + I}}\) |
E | \(\rm \dfrac{{M{R^2}}}{{M{R^2} + I}}\) |
15. | ให้ทอร์กสูงสุดที่ออกมาจากเครื่องยนต์ของรถทดลองมวล m คือ τ อัตราเร็วเชิงมุมสูงสุดของเครื่องยนต์คือ ω เครื่องยนต์มีกำลังที่ออกมาคงที่ P และเครื่องยนต์เชื่อมต่อกับล้ออย่างไม่มีการสูญเสียพลังงาน ถ้าล้อมีรัศมี R และสัมประสิทธิ์ของแรงเสียดทานสถิตระหว่างล้อกับถนนคือ μ แล้วอัตราเร็วสูงสุดที่รถสามารถวิ่งบนพื้นเอียง 30 องศา ได้เท่ากับข้อใด สมมุติว่า ไม่มีการสูญเสียจากแรงเสียดทาน และ μ มีขนาดใหญ่พอที่จะทำให้ยางไม่ไถลขณะวิ่ง |
A | \(\rm v = 2P/(mg)\) |
B | \(\rm v = 2P/(\sqrt3mg)\) |
C | \(\rm v = 2P/( μmg)\) |
D | \(\rm v = τω /(mg)\) |
E | \(\rm v = τω /( μmg)\) |
16. | วัตถุมวล m1 เคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็ว v0 ชนกับวัตถุมวล m2 = αm1 โดย α < 1 จากเดิมหยุดนิ่ง การชนนี้อาจยืดหยุ่นสมบูรณ์ ไม่ยืดหยุ่นสมบูรณ์ หรือ ไม่ยืดหยุ่นบางส่วนก็ได้ หลังการชนวัตถุทั้งสองเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็ว v1 และ v2 สมมุติว่า การชนเกิดขึ้นในหนึ่งมิติและวัตถุแรกไม่สามารถพุ่งผ่านวัตถุสองได้ หลังการชน อัตราส่วนอัตราเร็ว r1 = v1 / v0 ของวัตถุแรกจะอยู่ในช่วงใด |
A | (1 – α) / (1 + α) ≤ r1 ≤ 1 |
B | (1 – α) / (1 + α) ≤ r1 ≤ 1 / (1 + α) |
C | α / (1 + α) ≤ r1 ≤ 1 |
D | 0 ≤ r1 ≤ 2α / (1 + α) |
E | 1 / (1 + α) ≤ r1 ≤ 2 / (1 + α) |
17. | เมฆละอองฝุ่นทรงกลมในอวกาศ มีความหนาแน่นสม่ำเสมอ ρ0 มีรัศมี R0 และมีความเร่งโน้มถ่วงที่ผิวเมฆเป็น g0 ถ้าการเกิดก้อนเมฆ (การขยายตัวเนื่องจากความร้อน) ทำให้รัศมีของเมฆเป็น 2R0 และละอองฝุ่นยังคงกระจายตัวอย่างสม่ำเสมอ แล้วความเร่งโน้มถ่วงปัจจุบันที่ระยะ R0 จากศูนย์กลางของก้อนเมฆ เท่ากับข้อใด |
A | g0 / 32 |
B | g0 / 16 |
C | g0 / 8 |
D | g0 / 4 |
E | g0 / 2 |
18. | พิจารณกล่องและเครื่องชั่งสองอัน ดังรูป ให้เครื่องชั่ง A รับน้ำหนักกล่องผ่านเชือกเบา ภายในกล่องมีรอกแขวนลงมาจากด้านบน และมีเชือกเบาอีกเส้นคล้องผ่านรอก ให้ปลายด้านหนึ่งยึดกับพื้นกล่อง และปลายอีกด้านหนึ่งผูกกับเครื่องชั่ง B ความตึงในเส้นเชือกที่อ่านจากเครื่องชั่งทั้งสองคือ TA และ TB ให้เดิมเครื่องชั่ง A อ่านได้ 30 นิวตัน และเครื่องชั่ง B อ่านได้ 20 นิวตัน
ถ้าเพิ่มแรงดึงบนเครื่องชั่ง B จนอ่านค่าได้ 30 นิวตัน แล้วเครื่องชั่ง A จะอ่านค่าได้เท่าใด ( ดัดแปลงมาจากการสาธิตของ Richard Berg ) |
A | 35 นิวตัน |
B | 40 นิวตัน |
C | 45 นิวตัน |
D | 50 นิวตัน |
E | 60 นิวตัน |
19. | เฮลิคอปเตอร์บินตามแนวนอนด้วยอัตราเร็วคงที่ มีสายเคเบิลที่ยืดหยุ่นสมบูรณ์ตลอดเส้นผูกติดไว้ที่ใต้เฮลิคอปเตอร์ และมีแรงต้านอากาศกระทำกับสายเคเบิลอยู่พอสมควร แล้วข้อใดแสดงลักษณะของสายเคเบิลขณะที่เฮลิคอปเตอร์บินไปทางขวาได้ถูกต้องที่สุด |
A | |
B | |
C | |
D | |
E |
20. | (เกินหลักสูตรการสอบเข้า สอวน.) นักวิทยาศาสตร์ได้สร้างสถานีอวกาศแห่งใหม่ที่มีรูปร่างคล้ายล้อรถ มีรัศมี R โครงสร้างทั้งหมดมีมวล M อยู่ที่ส่วนขอบ เมื่อนักบินอวกาศมาถึงสถานี สถานีจะหมุนในอัตราที่ทำให้วัตถุที่ขอบของสถานีมีความเร่งสู่ศูนย์กลางเป็น g ให้ใกล้เคียงกับแรงโน้มถ่วงของโลก โดยสภาวะนั้นต้องพึ่งจรวดเล็กสองลำ แต่ละลำมีแรงดัน T นิวตัน ให้ติดตั้งบนขอบของสถานี แล้วจรวดต้องใช้เวลาเดินเครื่อง t เท่าใด จึงจะทำให้เกิดสภาวะที่ต้องการ (ดัดแปลงมาจาก Physics for Scientists and Engineers โดย Richard Wolfson) |
A | \(\rm t = \sqrt{gR^3} M / (2T)\) |
B | \(\rm t = \sqrt{gR} M / (2T)\) |
C | \(\rm t = \sqrt{gR} M / T\) |
D | \(\rm t = \sqrt{gR/\pi} M / T\) |
E | \(\rm t = \sqrt{gR} M / (\pi T)\) |
21. | (เกินหลักสูตรการสอบเข้า สอวน.) ให้รอกสองอัน ทำจากโลหะชนิดเดียวกันมีความหนาแน่น ρ (แสดงดังรูป) รอก A เป็นแบบแผ่นกลมสม่ำเสมอมีรัศมี R รอก B เป็นแบบวงแหวน ส่วนที่กลวงมีรัศมี R/2 นำกล่องสองใบมวล M = αm (α > 1) แขวนกับรอกผ่านเชือกเบา และหมุนโดยไม่ไถล แล้วอัตราส่วนความเร่งในระบบ A กับ B เท่ากับข้อใด ถ้ามวลของรอก A เท่ากับ M + m |
A | aA / aB = 47 / 48 |
B | aA / aB = 31 / 32 |
C | aA / aB = 15 / 16 |
D | aA / aB = 9 / 6 |
E | aA / aB = 3 / 4 |
22. | ดาวเคราะห์มวล M และ m << M อยู่ในวงโคจรรอบจุดศูนย์กลางมวล ภายใต้แรงดึงดูดซึ่งกันและกัน และดาวทั้งสองอยู่ห่างกัน R ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าดาวทั้งสองดวง ถ้าชิ้นส่วนเล็ก ๆ ขนาด δm << m จากดาวมวล m ถูกดูดไปยังดาวมวล M โดยการถ่ายโอนนี้เกิดขึ้นในขณะที่วงโคจรของดาวทั้งสองยังเป็นวงกลม และยังคงห่างกัน R แล้วข้อความใดต่อไปนี้ถูกต้อง |
A | แรงดึงดูดระหว่างดาวทั้งสองจะเพิ่มขึ้น |
B | แรงดึงดูดระหว่างดาวทั้งสองจะยังคงที่ |
C | โมเมนตัมเชิงมุมสุทธิของระบบจะเพิ่มขึ้น |
D | โมเมนตัมเชิงมุมสุทธิของระบบจะยังคงที่ |
E | คาบของวงโคจรของดาวเคราะห์ทั้งสองจะยังคงเป็นค่าคงที่ |
23. | นักบินอวกาศมวล 100 kg พกปืนที่บรรจุกระสุนขนาดใหญ่ไว้ 10 kg ตัวปืนและชุดนักบินมีมวลน้อยมาก เมื่อเหนี่ยวไกกระสุนจะพุ่งออกด้วยอัตราเร็วสัมพัทธ์ 50 m/s เทียบกับนักบิน แล้วขณะเหนี่ยวไก นักบินอวกาศจะได้รับแรงดลจากปืนเท่าใด |
A | 455 Ns |
B | 500 Ns |
C | 550 Ns |
D | 5000 Ns |
E | 5500 Ns |
24. | นักบินอวกาศมวล 100 kg พกปืนที่บรรจุกระสุนขนาดใหญ่ไว้ 10 kg ตัวปืนและชุดนักบินมีมวลน้อยมาก เมื่อเหนี่ยวไกกระสุนจะพุ่งออกด้วยอัตราเร็วสัมพัทธ์ 50 m/s เทียบกับนักบิน หากก่อนหน้านี้นักบินอวกาศมาด้วยความเร็ว 10 m/s (วัดในกรอบอ้างอิงหนึ่ง) แล้วเขาต้องการยิงปืน เพื่อให้ความเร็วของเขาเปลี่ยนไปจากเดิมเป็นมุมที่มากที่สุดเมื่อเทียบกับทิศเดิม (วัดในกรอบอ้างอิงเดียวกัน) แล้วขนาดของมุมที่มากที่สุดเท่ากับข้อใด (คำแนะนำ: ลองวาดภาพประกอบดู) |
A | 24.4° |
B | 26.6° |
C | 27.0° |
D | 30.0° |
E | 180.0° |
25. | ปล่อยกล่องมวล m จากหยุดนิ่ง ให้ลงมาตามทางลาดโดยไม่มีแรงเสียดทาน ที่ความสูง h1 จากฐานของทางลาด เมื่อเลื่อนมาถึงฐานทางลาดแรกมันจะเลื่อนขึ้นทางลาดที่สอง โดยสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานของกล่องกับทางลาดที่สองเท่ากับ μk ถ้าทั้งสองทางลาดทำมุม θ กับแนวนอน แล้วความสูง h2 ที่วัดจากฐานของทางลาดที่สองที่ทำให้กล่องขึ้นไปได้ เท่ากับข้อใด |
A | h2 = (h1 sinθ) / (μk cosθ + sinθ) |
B | h2 = (h1 sinθ) / (μk + sinθ) |
C | h2 = (h1 sinθ) / (μk cos2 θ + sinθ) |
D | h2 = (h1 sinθ) / (μk cos2 θ + sin2 θ) |
E | h2 = (h1 cosθ) / (μk sinθ + cosθ) |