ข้อสอบคัดเลือกของทีม USA 2018 (ชุด A) (25 ข้อ)

1. กราฟข้อใด แสดงอัตราเร็วกับเวลาของวัตถุที่ถูกขว้างขึ้นไปโดยมีแรงต้านอากาศ ได้ดีที่สุด
A
B
C
D
E
ตอบ (D)

ความเร็วสุดท้ายควรเป็นค่าคงที่และมีค่าเป็นลบ ทำให้ตัดตัวเลือกออกไปหมด จนเหลือแค่ข้อ (D) สังเกตว่า ขนาดของความเร่งควรจะลดลงด้วยเช่นกัน
 
2. มวล 3.0 kg เคลื่อนที่ไปทางขวาด้วยอัตราเร็ว 30 m/s พุ่งชนกับมวล 2.0 kg ที่เคลื่อนที่ไปทางซ้ายด้วยอัตราเร็ว 20 m/s หลังการชน จุดศูนย์กลางมวลของระบบจะเคลื่อนที่ไปด้วยอัตราเร็วเท่าใด
A 5 m/s
B 10 m/s
C 20 m/s
D 24 m/s
E 26 m/s
ตอบ (B)

ความเร็วที่จุดศูนย์กลางของมวลจะถูกอนุรักษ์ด้วยกฎการอนุรักษ์โมเมนตัม ดังนั้น เราจึงไม่จำเป็นต้องคำนวณหาการชนที่เกิดขึ้น โดยก่อนชน โมเมนตัมสุทธิจะเท่ากับ 50 kg m/s และมวลสุทธิเท่ากับ 5 kg ดังนั้น อัตราเร็วที่จุดศูนย์กลางของมวลเท่ากับ 10 m/s
3. ให้บอลลูกแรกเคลื่อนที่ไปตามแกน x แล้วชนกับบอลลูกที่สองที่เดิมอยู่นิ่ง และมีมวลเท่ากัน แล้วหลังเกิดการชนข้อใดกล่าวผิด
A โมเมนตัมสุดท้ายสุทธิตามแกน x จะเท่ากับโมเมนตัมเริ่มต้นของบอลลูกแรก 
B พลังงานจลน์สุทธิหลังเกิดการชน จะเท่ากับพลังงานจลน์เริ่มต้นของบอลลูกแรก 
C โมเมนตัมสุดท้ายของลูกบอลทั้งสองตามแกน y ที่ถูกเพิ่มเข้ามาจะเป็นศูนย์ 
D อัตราเร็วสุดท้ายของจุดศูนย์กลางมวลของลูกบอลทั้งสอง มีค่าเท่ากับครึ่งหนึ่งของอัตราเร็วต้นของบอลลูกแรก 
E ลูกบอลทั้งสองจะไม่สามารถหยุดนิ่ง หลังเกิดการชนกันได้ 
ตอบ (B)

ข้อ (A), (C) และ (E) เป็นจริง ตามกฎการอนุรักษ์โมเมนตัม ข้อ (D) เป็นจริง ตามผลลัพธ์ของ ptot = mtot vCM ส่วนข้อ (B) เป็นเท็จ เพราะการชนนั้นอาจ ไม่ยืดหยุ่นบางส่วน หรือ ไม่ยืดหยุ่นสมบูรณ์
 
4. ให้ดาวเทียมอยู่ในวงโคจรวงรีรอบโลก และเครื่องยนต์สามารถให้แรงดลค่าหนึ่งได้เพียงครั้งเดียว เพื่อให้ดาวเทียมได้พลังงานมากที่สุด แรงดลควรเป็นไปตามข้อใด
A ควรมีทิศตามความเร็วของดาวเทียม และใช้ขณะอยู่จุดใกล้สุด
B ควรมีทิศตามความเร็วของดาวเทียม และใช้ขณะอยู่จุดไกลสุด
C ควรมีทิศพุ่งเข้าหาโลก และใช้ขณะอยู่จุดใกล้สุด
D ควรมีทิศพุ่งเข้าหาโลก และใช้ขณะอยู่จุดไกลสุด
E ควรมีทิศพุ่งออกจากโลก และใช้ขณะอยู่จุดไกลสุด
ตอบ (A)

ผลต่างความเร็ว Δv มีขนาดคงที่ เพราะพลังงานจลน์แปรผันตาม v2 ซึ่งผลต่างที่มากที่สุดจะเกิดขึ้น เมื่อแรงดลขนานกับความเร็ว และความเร็วมากสุดจะขึ้นเกิดที่ จุดใกล้สุด
 
5. มวลสองอันถูกแขวนอยู่บนรอกด้วยเชือกเบา และรอกนั้นตั้งอยู่บนพื้นเอียง ดังรูป ถ้าทุกพื้นผิวไม่มีแรงเสียดทาน และมวลทั้งสองที่เดิมอยู่นิ่งถูกปล่อยออก แล้วพื้นเอียงจะเป็นไปตามข้อใด
A จะมีความเร่งไปทางซ้าย ถ้า m1 < m2
B จะมีความเร่งไปทางขวา ถ้า m1 < m2
C จะมีความเร่งไปทางซ้าย โดยไม่สนมวลที่ถูกแขวนไว้
D จะมีความเร่งไปทางขวา โดยไม่สนมวลที่ถูกแขวนไว้
E พื้นเอียงไม่เคลื่อนที่ไปไหน
ตอบ (E)

พื้นเอียงจะไม่เคลื่อนที่ไปไหน ซึ่งอธิบายได้หลายแบบ แต่เหตุผลง่ายๆ คือ ระบบนี้ไม่มีโมนตัมที่กระทำในแนวนอน 
มีเพียงแค่มวลที่เลื่อนขึ้นเลื่อนลง (ในเชือกไม่มีโมเมนตัมในแนวนอน เพราะเป็นเชือกเบา)
6. ลังใส่ของมวล m = 15 kg ถูกดันขึ้นไปบนทางลาดที่ความยาว 5.00 m และทำมุม 20° กับแนวราบ ด้วยแรง F = 1.00 ×103 N ในทิศที่ขนานกับทางลาด และแรงเสียดทานที่ต้านการเคลื่อนที่เท่ากับ f = 4.00 × 102 N ถ้าเดิมลังอยู่นิ่ง แล้วอัตราเร็วของลัง ณ จุดบนสุดของทางลาดเท่ากับข้อใด
A 4.24 m/s
B 5.11 m/s
C 7.22 m/s
D 8.26 m/s
E 9.33 m/s
ตอบ (A)

แรงโน้มถ่วงที่ขนานไปกับทางลาดและมีค่าเท่ากับ -mg sinθ = -393 N ทำให้ได้แรงสุทธิเท่ากับ 207 N 
สำหรับวัตถุที่มีมวล 115 kg ความเร่งจะเท่ากับ 1.8 m/s2 และความเร็วจะเท่ากับ \(\rm\sqrt{2ad}= 4.24 ~m/s\)
7. ให้รถมีความเร่งมากสุดเท่ากับ a0 และความเร่งต่ำสุดเท่ากับ – a0 แล้วเวลาสั้นสุดที่ทำให้รถที่เดิมอยู่นิ่งวิ่งไปหยุดที่ระยะทาง d เท่ากับข้อใด
A \(\rm \sqrt{d/2a_0}\)
B \(\rm \sqrt{d/a_0}\)
C \(\rm \sqrt{2d/a_0}\)
D \(\rm \sqrt{3d/2a_0}\)
E \(2\rm \sqrt{d/a_0}\)
ตอบ (E)

คำตอบข้อนี้จะใช้วิธีเร่งสูงสุดในครึ่งแรก และเบรกสูงสุดในครึ่งหลัง 
เนื่องจากครึ่งแรกและครึ่งหลังใช้เวลา \(\rm \sqrt{d/a_0}\) เท่ากัน ดังนั้น เวลาทั้งหมดเท่ากับ \(2\rm \sqrt{d/a_0}\)
8. แผ่นกลมรัศมี r กลิ้งอย่างสม่ำเสมอโดยไม่มีการไถล วนอยู่ภายในห่วงที่ถูกตรึงไว้ และห่วงมีรัศมี R ถ้าคาบการกลิ้ง
ของแผ่นกลมเท่ากับ T แล้วอัตราเร็วขณะหนึ่งของจุดที่อยู่ตรงข้ามกับจุดที่แผ่นกลมสัมผัสกับห่วงเท่ากับข้อใด
A \(\rm 2π(R + r)/T\)
B \(\rm 2π(R + 2r)/T\)
C \(\rm 4π(R – 2r)/T\)
D \(\rm 4π(R– r)/T\)
E \(\rm 4π(R + r)/T\)
ตอบ (D)

จุดศูนย์กลางของมวลของแผ่นกลมจะอยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางห่วง \(\rm R – r\) และอัตราเร็วที่จุดศูนย์กลางของแผ่นกลมจะเท่ากับ \(\rm ω (R – r) = (2π / T) (R – r)\) โดยอัตราเร็วของจุดที่อยู่ตรงข้ามกับจุดที่แผ่นกลมสัมผัสกับห่วงจะเป็นสองเท่าของอัตราเร็วที่จุดศูนย์กลางของแผ่นกลม โดยที่แผ่นกลมหมุนรอบจุดที่สัมผัสนั้นอย่างรวดเร็ว 
ดังนั้น \(\rm v = 4π (R – r) / T\)
9. แท่งไม้สม่ำเสมอมวล m เดิมวางราบอยู่บนพื้น ปลายด้านหนึ่งมีเชือกผูกไว้ เมื่อดึงเชือกขึ้นในแนวตั้งด้วยแรงตึงคงที่ F แล้วจุดศูนย์กลางมวลของแท่งไม้จะเคลื่อนที่ขึ้นด้วยความเร่ง a < g แล้วแรงปกติ N ที่พื้นกระทำกับแท่งไม้ในอีกด้านที่ไม่ถูกยกขึ้น หลังจากที่แท่งไม้ด้านขวาถูกยกขึ้นเหนือพื้นดินเพียงนิดเดียว เท่ากับข้อใด
A N = mg
B mg > N > mg/2
C N = mg/2
D mg/2 > N > 0
E N = 0
ตอบ (B)

จากกฎข้อที่สองของนิวตัน จะได้การเคลื่อนที่ในแนวตั้งเท่ากับ
\(\rm F + N –  m g  = ma\)

เมื่อเกิดทอร์กที่ปลายซ้ายของแท่งไม้ เราจะได้
 
\(\tau = {\rm{FL}} - \dfrac{{{\rm{mgL}}}}{2}~,\rm I = \dfrac{1}{3}{\rm{m}}{{\rm{L}}^2}~,\alpha = \dfrac{a}{{{\rm{L/2}}}}\)

แก้สองสมการจะได้ N
\(\rm N =  \dfrac{1}{3}ma+ \dfrac{1}{2}mg\)

ซึ่งผลลัพธ์อยู่ในช่วงคำตอบของข้อ (B)
10. กราฟข้อใด แสดงความเร่งกับเวลาของวัตถุที่เคลื่อนที่ขึ้นไปโดยมีแรงต้านอากาศได้ดีที่สุด
A
B
C
D
E
ตอบ (E)

ความเร่งควรสิ้นสุดลงที่ศูนย์ ตามความเร็วปลายของวัตถุ และกราฟควรเริ่มต้นด้วยค่าที่น้อยกว่า -10 m/s2 เนื่องจากมีแรงต้านอากาศที่กระทำในทิศเดียวกับแรงโน้มถ่วง
11. ให้สปริงเบาในอุดมคติถูกตรึงปลายด้านหนึ่งไว้ ส่วนปลายอีกด้านติดมวลไว้ แล้วสปริงจะสั่นด้วยความถี่เชิงมุม ω ถ้าปลายสปริงถูกตรึงไว้ทั้งสองด้าน แล้วตัดแบ่งครึ่งเพื่อนำมวลไปติดไว้กึ่งกลางระหว่างสปริงทั้งสอง 
แล้วความถี่เชิงมุมใหม่ของการสั่น จะเท่ากับข้อใด
A \(ω/2\)
B \(ω\)
C \(\sqrt2ω\)
D \(2ω\)
E \(4ω\)
ตอบ (D)

การแบ่งครึ่งสปริง จะทำให้ค่านิจสปริงเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า หมายความ ถ้าแรง F ยึดสปริงเดิมได้ระยะ x แล้วแรงนั้นจะยืดสปริงใหม่ได้ระยะ x´ = x / 2 ซึ่งเป็นไปตาม F = – kx โดย k´ = 2k จากโจทย์ระบบใหม่ประกอบด้วยสปริงสองอันที่มีค่านิจสปริงเป็นสองเท่าของสปริงเดิม แสดงว่าค่านิจสปริงของระบบจะเพิ่มขึ้นสี่เท่า เนื่องจากความถี่เชิงมุมเท่ากับรากที่สองของค่านิจสปริง ดังนั้น ความถี่เชิงมุมใหม่จะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า
 
12. (เกินหลักสูตรการสอบเข้า สอวน.) นักเรียนกลุ่มหนึ่งต้องการวัดความเร่งโน้มถ่วงด้วยลูกตุ้มอย่างง่าย พวกเขาใช้ลูกตุ้มที่มีความยาว L = 1.00 ± 0.05 m และวัดคาบของการแกว่งในหนึ่งครั้งได้ T = 2.00 ± 0.10 s ถ้าสมมุติว่า ทุกความคลาดเคลื่อนมีการกระจายตัวแบบ Gaussian (มีการแจกแจงแบบปกติ) แล้วความเร่งโน้มถ่วงที่คำนวณจากผลการทดลองนี้ ควรได้ค่าตามข้อใด
A 9.87 ± 0.05 m/s2
B 9.87 ± 0.15 m/s2
C 9.9 ± 0.25 m/s2
D 9.9 ± 1.1 m/s2
E 9.9 ± 1.5 m/s2
ตอบ (D)

จากสูตรคาบของลูกตุ้มจัดรูปใหม่จะได้ \(\rm g = 4π^2L / T^2\) จากนั้นใช้ standard error propagation rules เพื่อหาค่าความคลาดเคลื่อน โดยใช้สูตรส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดังนี้ 
(A) ถ้า x มีความคลาดเคลื่อนสัมพัทธ์เท่ากับ Δx / x แล้ว xn จะมีความคลาดเคลื่อนสัมพัทธ์เท่ากับ 
\(\rm Δ(x^n)/x^n = | n | ~Δx / x\) 
(B) ถ้ามีสองตัวแปรที่เป็นอิสระต่อกันคูณกันอยู่ ความคลาดเคลื่อนสัมพัทธ์จะเท่ากับ
\(\rm \dfrac{{\Delta (xy)}}{{xy}} = \sqrt {{{\left( {\dfrac{{\Delta x}}{x}} \right)}^2} + {{\left( {\dfrac{{\Delta y}}{y}} \right)}^2}} \)
(C) ความคลาดเคลื่อนสัมพัทธ์จะไม่เปลี่ยนแปลงตามการปรับขนาดของตัวแปร 
ในกรณีนี้ ความคลาดเคลื่อนสัมพัทธ์ของ L เท่ากับ 5% ความคลาดเคลื่อนสัมพัทธ์ของ T เท่ากับ 5% และความคลาดเคลื่อนสัมพัทธ์ของ 1/T2 เท่ากับ 10% ความคลาดเคลื่อนสัมพัทธ์ของ g เท่ากับ \(\sqrt {{{0.1}^2} + {{0.05}^2}} \approx 11\%\) ซึ่งตรงกับข้อ (D)
 
13. ให้เชือกเบามีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.54 cm (1 นิ้ว) ถูกแขวนในแนวราบ และอยู่ระหว่างต้นไม้สองต้นที่ห่างกัน 18.0 m แล้วนักไต่เชือกคนหนึ่งเดินไปที่จุดกึ่งกลางของเชือกและทำให้เกิดแรงตึง 7300 N จนเชือกหย่อนลงมาทำมุม 1.50° กับแนวราบ
จากมอดุลัสของยัง คือ อัตราส่วนของความเค้นส่วนความเครียด โดยความเค้น คือ แรงที่กระทำต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ และความเครียด คือ เศษส่วนของการเปลี่ยนแปลงความยาว ΔL/L แล้วมอดุลัสของยังของเชือกเท่ากับข้อใด
 
A 1.5 × 106 N/m2
B 2.0 × 108 N/m2
C 2.2 × 109 N/m2
D 2.4 × 1010 N/m2
E 4.2 × 1010 N/m2
ตอบ (E)

ความเครียดของเชือกเท่ากับ
\(\dfrac{{\Delta L}}{L} = \dfrac{{{L_0}/\cos \theta - {L_0}}}{{{L_0}}} = \dfrac{1}{{\cos \theta }} - 1 \approx \dfrac{{{\theta ^2}}}{2}\)
จาก L0 เป็นความนาวเริ่มต้น จะได้มอดุลัสของยังเท่ากับ
\(Y = \dfrac{{7300{\rm{N}}}}{{\pi {{(0.0127m)}^2}}}{\left( {\dfrac{{{{(1.50\pi /180)}^2}}}{2}} \right)^{ - 1}} = 4.2 \times {10^{10}}~\rm N/m^2\)
14. ให้มวลที่เหมือนกันสามชิ้นเชื่อมกับคานแข็งแบบเดียวกัน และมีจุดหมุนที่จุด A เมื่อมวลก้อนล่างสุดถูกดันในแนวนอนเบาๆ ไปทางซ้าย จะเกิดการแกว่งด้วยคาบ T1 เมื่อเปลี่ยนเป็นดันเบาๆ ที่ด้านหน้าแบบตั้งฉากกับกระดาษ จะได้คาบของการแกว่งเท่ากับ T2 แล้วอัตราส่วน T1/T2 เท่ากับข้อใด
A \(1/2\)
B \(1\)
C \(\sqrt3\)
D \(2\sqrt2\)
E \(2\sqrt5\)
ตอบ (C)

ทั้งสองกรณีนั้นเป็นการเคลื่อนที่แบบลูกตุ้ม ซึ่งมีคาบแปรผันกับ \(\rm \sqrt{I / Mgx }\) โดย x คือ ระยะจากจุดหมุนถึงจุดศูนย์กลางมวล และ I คือ โมเมนต์ความเฉื่อยรอบจุดหมุน เนื่องจาก x เท่ากันทั้งสองกรณี จะได้ว่า \(\rm T_1 / T_2 ∝ \sqrt{I_1/I_2}= \sqrt3\) ในกรณีที่สองนั้นเฉพาะมวลด้านล่างทำให้เกิดโมเมนต์ความเฉื่อย
15. ถ้ายานอวกาศที่อยู่ในวงโคจรวงกลมรอบโลก มีคาบในการโคจรยาวนาน เพราะได้รับผลกระทบจากแรงต้านอากาศ ซึ่งทำให้พลังงานสุทธิของยานอวกาศลง 1 J แล้วพลังงานจลน์ของดาวเทียมจะเป็นไปตามข้อใด
A จะเพิ่มขึ้น 1 J
B ยังคงเท่าเดิม
C จะลดลง \(\frac{1}{2}\)  J
D จะลดลง 1 J
E จะลดลง 2 J
ตอบ (A)

แม้จะมีแรงต้าน (จากอากาศที่เบาบาง) ที่ทำให้ดาวเทียมเคลื่อนที่ช้าลงแต่ ดาวเทียมจะยังคงอยู่ในวงโคจรวงกลม 
ในวงโคจร พลังงานสุทธิจะเท่ากับ E = K + V โดยv = - 2K หรือ E = - K ถ้าพลังงานสุทธิลดลง ΔE 
แล้วพลังงานจลน์จะเพิ่มขึ้น ΔE
16. สถานีอวกาศทรงกระบอกสามารถสร้าง “แรงโน้มถ่วงเทียม” จากการหมุนด้วยความถี่เชิงมุม ω ให้พิจารณาในกรอบอ้างอิงที่สถานีอวกาศกำลังหมุน ถ้านักบินอวกาศเดิมยืนนิ่งอยู่บนพื้น และหันหน้าไปในทิศที่สถานีอวกาศกำลังหมุน แล้วเขากระโดดขึ้นในแนวตั้งเทียบกับพื้นด้วยอัตราเร็วต้นที่น้อยกว่าอัตราเร็วของพื้น แล้วหลังหลุดออกจากพื้น การเคลื่อนที่ของเขาเทียบกับพื้นของสถานีอวกาศจะเป็นไปตามข้อใด
A จะมีส่วนประกอบของความเร่ง ที่มีทิศชี้ไปยังพื้นเสมอ และจะตกกลับมาที่จุดเดิมที่เคยกระโดดขึ้น
B จะมีส่วนประกอบของความเร่ง ที่มีทิศชี้ไปยังพื้นเสมอ และจะตกกลับมาหน้าจุดเดิมที่เคยกระโดดขึ้น
 
C จะมีส่วนประกอบของความเร่ง ที่มีทิศชี้ไปยังพื้นเสมอ และจะตกกลับมาหลังจุดเดิมที่เคยกระโดดขึ้น
 
D จะมีส่วนประกอบของความเร่ง ที่มีทิศชี้ออกจากพื้นเสมอ และจะตกกลับมาหลังจุดเดิมที่เคยกระโดดขึ้น
 
E จะมีความเร่งเป็นศูนย์เมื่อเทียบกับพื้น และเขาจะไม่กลับมาสู่พื้นอีก
ตอบ (B)

ในการหาคำตอบ เราอาจจะวาดทิศทางของนักบินในกรอบอ้างอิงเดิมโดยใช้เส้นตรงอย่างง่าย 
โดยนักบินจะถึงพื้น ตรง 'ด้านหน้า' ของจุดที่กระโดดเสมอ
17. มีทรายร่วงลงมาเป็นสายจากเฮลิคอปเตอร์ที่เคลื่อนที่ไปทางขวาด้วยอัตราเร็วคงที่ v แล้วเปลี่ยนทิศกระทันหันไปทางซ้ายแล้วมีอัตราเร็วคงที่ v ถ้าไม่คิดถึงแรงต้านอากาศ แล้วรูปร่างของสายทรายที่มองเห็นจากพื้นดิน จะเป็นไปตามข้อใด ให้จุดสีดำ คือ เฮลิคอปเตอร์
A
B
C
D
E
ตอบ (D)

ถ้าทรายร่วงลงมาจากเฮลิคอปเตอร์ที่บินด้วยความเร็วคงที่ แล้วทิศทางของสายทรายจะต้องร่วงลงมาเส้นตรงเหมือนเดิม ดังนั้น สายทรายที่เห็นควรเป็นเส้นตรงสองเส้นในแนวตั้ง (ไม่คิดแรงต้านอากาศ)
18. มวล m ติดกับคานบางยาว l ซึ่งสามารถหมุนเป็นวงกลมในแนวตั้งได้อย่างอิสระด้วยคาบ T แล้วผลต่างของแรงตึงบนคานขณะมวลแกว่งอยู่ที่ด้านบนของวงกลม กับที่ด้านล่างของวงกลมจะเท่ากับข้อใด
A \(\text{6mg}^2\text{T}^2/l\)
B \(4π\text{mg}^2\text{T}^2/l\)
C \(6\rm mg\)
D \(π^2\text{m}l / \rm T^2 \)
E \(4π\text{m}l / \rm T^2\)
ตอบ (C)

จะมีผลต่าง \(\rm 2mg\) จากแรงโน้มถ่วงที่ต้านแรงดึงขณะมวลอยู่ที่ด้านล่างและด้านบน และผลต่างของแรงสู่ศูนย์กลางจะเท่ากับ
\(Δ(\text{mv}2/l) = 2Δ\text{K}/l = 2(2\text{mg}l)/l = 4\text{mg}\)
ดังนั้น ผลต่างทั้งหมด คือ \(\rm 6mg\)
19. ให้ปริมาณฝนที่ตกมีความหนาแน่น n หยดต่อลูกบาศก์เมตร หยดฝนมีรัศมี r0 กระทบพื้นด้วยอัตราเร็ว v0 ความดันบนพื้นดินที่เกิดจากฝนเท่ากับ P0 ถ้าปริมาณความหนาแน่นของฝนเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า แต่หยดฝนมีรัศมีลดลงครึ่งหนึ่ง อัตราเร็วลดลงครึ่งหนึ่ง แล้วความดันใหม่จะเท่ากับข้อใด
A P0
B P0/2
C P0/4
D P0/8
E P0/16
ตอบ (E)

ฝนแต่ละหยดจะมีมวล 1/8 และมีอัตราเร็ว 1/2 ดังนั้น จะมีโมเมนตัมเท่ากับ 1/16 และอัตราการตกลงสู่พื้นของทุกหยดจะเท่ากันหมด จากโจทย์ให้ความหนาแน่นเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า แต่ความเร็วลดลงครึ่งหนึ่ง แล้วความดันใหม่จะเท่ากับ P0/16
20. เมื่อยืดสปริงให้ยาวเป็นสองเท่าของความยาวตามปกติ จะมีพลังงานศักย์ U0 ถ้าตัดสปริงครึ่งหนึ่ง แล้วนำแต่ละส่วนมายืดให้ยาวเป็นสองเท่าของความยาวตามปกติ แล้วพลังงานศักย์สุทธิของสปริงทั้งสองเท่ากับข้อใด
A 4U0
B 2U0
C U0
D U0/2
E U0/4
ตอบ (C)

เราสามารถคำนวณโดยตรงจากสูตร U = kx2/2 โดยสปริงที่ถูกตัดออกมาจะมีค่านิจสปริงเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า หรืออีกวิธีหนึ่งคือ คิดจากพลังงาน ซึ่งทั้งหมดจะถูกเก็บไว้ใน microscopically และใน microscopically แต่ละอันจะมีโมเลกุลเท่าเดิมไม่ว่าสปริงจะเต็มอันหรือเหลือแค่ครึ่งเดียว ดังนั้น แม้ว่าสปริงจะถูกตัดออกไปค่าที่ได้ก็จะต้องเท่ากัน
 
21. ลูกปิงปอง (ทรงกลมกลวง) มวล m อยู่บนพื้นและมีความเร็วต้น v0 มีอัตราเร็วเชิงมุมเป็นศูนย์ที่เวลา t = 0 สัมประสิทธิ์แรงเสียดทานระหว่างลูกปิงปองกับพื้นเป็น μs = μk = μ แล้วเวลาที่ลูกปิงปองจะเริ่มกลิ้งโดยไม่ลื่นไถลเท่ากับข้อใด
A t = (2/5)v0/μg
B t = (2/3)v0/μg
C t = v0/μg
D t = (5/3)v0/μg
E t = (3/2)v0/μg
ตอบ (A)

จากแรงเสียดทานเท่ากับ μmg ดังนั้น ความเร็วจะลดลง เป็น \(\rm \dot{v} = – μg\) ส่วนทอร์กที่กระทำที่จุดศูนย์กลางมวลจะเท่ากับ \(\rm μmgR\) โดย \(\rm R\) คือรัศมี ดังนั้น ความเร็วเชิงมุมจะเพิ่มขึ้น เป็น \(\rm\dot{ω} = (3/2)μg/R\) การหมุนโดยไม่ไถลจะเกิดขึ้นเมื่อ \(\rm v = Rω\) ดังนั้น \(\rm t = (2/5)v_0/μg\)
22. เรือทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากมีรูรั่วเล็กๆ อยู่ที่ใต้ท้องเรือ ทำให้มีน้ำไหลเข้ามา และเรือก็ค่อยๆจมลงในน้ำ แล้วกราฟข้อใดแสดงอัตราการไหลของน้ำที่ไหลเข้ามาในเรือเทียบกับเวลา (leak rate) ได้ดีที่สุด สมมุติให้ขณะจมลง เรือยังคงอยู่ในแนวราบ
A
B
C
D
E
ตอบ (A)

จากหลักของอาร์คิมีดีส ผลต่างของระดับน้ำด้านในและด้านนอนจะต้องเท่าเดิมเสมอ ดังนั้น แรงดันที่น้ำจะเข้ามาตามรูรั่วจะต้องคงที่ ตามหลักของแบร์นูลลี ดังนั้น อัตราการไหลของน้ำที่ไหลเข้ามาจะต้องคงที่
23. ให้สัมประสิทธิ์แรงเสียดทานจลน์สถิตระหว่างลูกบอลและทางลาดเท่ากับ μs = μk = μ ถ้าลูกบอลที่เดิมอยู่นิ่ง ถูกปล่อยลงมาจากด้านบนของทางลาด แล้วกราฟข้อใดแสดงความเร่งเชิงมุมของลูกบอลที่จุดศูนย์กลางมวล เทียบกับขนาดมุมของทางลาดได้ดีที่สุด
A
B
C
D
E
ตอบ (C)

ข้อนี้อาจหาคำตอบโดยใช้วิธี limiting cases สังเกตว่า 
ถ้าทางลาดนั้นราบไปกับพื้น ความเร่งเชิงมุมของลูกบอลก็จะเท่ากับ ศูนย์ และถ้าทางลาดนั้นตั้งฉากกับพื้น ลูกบอลก็จะไม่หมุนและมีความเร่งเชิงมุมเป็นศูนย์เช่นกัน หรือใช้วิธีหาความเร่งเชิงมุมของลูกบอล สำหรับกรณีที่ลูกบอลกลิ้งโดยไม่ไถล ความเร่งจะเท่ากับ
g sinθ / (1 + I / MR2) ∝ sinθ
เมื่อมุมสูงมากพอก็จะเกิดการไถล โดยความเร่งเชิงมุมจะแปรผัน ตามแรงเสียดทานจลน์ ซึ่งเป็นสัดส่วนกับ cosθ 
ดังนั้น กราฟจะมีส่วนที่เพิ่มขึ้นและลดลงเป็นโค้งเว้า 
และมียอดแหลม ณ จุดที่เกิดการไถล ซึ่งตรงกับข้อ (C)
24. ให้มวลติดที่ปลายด้านหนึ่งของคานแข็ง และอีกด้านของคานติดกับเพลาลื่นในแนวนอนที่สามารถหมุนได้รอบ 360° มวลถูกแขวนที่ปลายคาน และคานอยู่ในแนวตั้ง ให้มวลจะมีพลังงานจลน์เริ่มต้น K ถ้า K มีขนาดเล็กมาก มวลก็จะเปรียบเสมือนลูกตุ้ม เมื่อสั่นด้วยมุมเล็กๆ จะได้คาบของการแกว่ง T0 แล้วกรณีที่ K เพิ่มขึ้น คาบของมวลจะเป็นไปตามข้อใด
A ยังคงเท่าเดิม
B เพิ่มขึ้น และเข้าใกล้ค่าหนึ่งที่หาค่าได้
C ลดลง และเข้าใกล้ค่าหนึ่งที่ไม่ใช่ศูนย์ และหาค่าได้
D ลดลง และเข้าใกล้ศูนย์
E ตอนแรกจะเพิ่มขึ้น แล้วลดลง
ตอบ (E)

เมื่อแอมพลิจูดเพิ่มเป็น \(π\) คาบก็จะลู่ออก ดังนั้น ช่วงแรกคาบจะเพิ่มขึ้น (หรืออีกวิธีหนึ่ง สังเกตว่า cosθ ในจัตุภาคจะมีเครื่องหมายตรงกันข้าม ทำให้ลดแรงส่งกลับ และทำให้คาบเพิ่มขึ้น) ถ้าพลังงานเพิ่มขึ้นต่อไปอีก มวลก็จะวนในทิศทางเดียวตลอดไป แล้วคาบก็จะลดลง และเป็นค่าที่สามารถหาค่าได้
25. (เกินหลักสูตรสอบเข้า สอวน.) ก และ ข กำลังเขียนรายงานผลการทดลอง โดย ก วัดคาบของลูกตุ้มได้ 1.013 ± 0.008 s ในขณะที่ ข วัดได้คาบ 0.997 ± 0.016 s ซึ่งทั้งคู่สามารถสรุปข้อมูลที่ได้ตามวิธีต่อไปนี้
วิธีที่ 1 : ใช้ข้อมูลของ ก โดยไม่สนของ ข 
วิธีที่ 2 : ใช้ค่าเฉลี่ยของข้อมูล ก และ ข 
วิธีที่ 3 : ใช้ค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของข้อมูล ก และ ข โดยถ่วงให้ ก มีน้ำหนักมากกว่า ข อยู่ 4 เท่า
ข้อใดสรุป ความคลาดเคลื่อนของผลลัพธ์ในแต่ละวิธี ได้ดีที่สุด
A วิธีที่ 1 มีความคลาดเคลื่อนต่ำที่สุด ส่วนวิธีที่ 2 มีความคลาดเคลื่อนสูงที่สุด 
B วิธีที่ 3 มีความคลาดเคลื่อนต่ำที่สุด ส่วนวิธีที่ 2 มีความคลาดเคลื่อนสูงที่สุด
C วิธีที่ 2 มีความคลาดเคลื่อนต่ำที่สุด ส่วนวิธีที่ 1 มีความคลาดเคลื่อนสูงที่สุด
D วิธีที่ 3 มีความคลาดเคลื่อนต่ำที่สุด ส่วนวิธีที่ 1 มีความคลาดเคลื่อนสูงที่สุด
E วิธีที่ 1 มีความคลาดเคลื่อนต่ำที่สุด ส่วนวิธีที่ 3 มีความคลาดเคลื่อนสูงที่สุด
ตอบ (B)

ให้ Δx เป็นความคลาดเคลื่อนในการวัดของ ก จะได้ ความคลาดเคลื่อนของ ข เท่ากับ 2Δx 
การหาความคลาดเคลื่อน โดยใช้สูตรส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จะมีกฏที่จำเป็น ดังต่อไปนี้
(A) การคูณด้วยค่าคงที่ : ถ้า x มีความคลาดเคลื่อน Δx แล้ว cx จะมีความคลาดเคลื่อน cΔx 
(B) การเพิ่มตัวแปร : ถ้า x มีความคลาดเคลื่อน Δx และ y มีความคลาดเคลื่อน Δy โดยทั้งสองเป็นอิสระต่อกัน แล้ว x + y จะมีความคลาดเคลื่อนเท่ากับ
\(\rm \sqrt{(Δx)^2 +(Δy)^2}\)
เราสามารถหาความคลาดเคลื่อนของทั้งสามวิธีได้ ดังนี้ 
วิธีที่ 1: \(\rm Δx\)
วิธีที่ 2: \(\rm \sqrt{(Δx)^2 +(2Δx)^2} / 2  = (\sqrt5/2) Δx  \)  
วิธีที่ 3: \(\rm\sqrt{(4Δx)^2 +(2Δx)^2} / 5  = (2/\sqrt5) Δx   \) 

ดังนั้น วิธีที่ 3 มีความคลาดเคลื่อนต่ำที่สุด (ในทางปฏิบัติ) ส่วนวิธีที่ 2 มีความคลาดเคลื่อนสูงที่สุด