ข้อสอบคัดเลือกของทีม USA 2011 (25 ข้อ)

1. ปั่นจักรยานด้วยอัตราเร็วคงที่ 22.0 km/hr และมีการหยุดพัก 20 นาที ถ้าอัตราเร็วเฉลี่ยของการปั่นจักรยานคือ 17.5 km/hr แล้วระยะทางที่ปั่นจักรยานไปได้เท่ากับข้อใด
A 28.5 km
B 30.3 km
C 31.2 km
D 36.5 km
E 38.9 km
ตอบ (A)
2. กำหนดกราฟแสดงความเร็วต่อเวลาของวัตถุสามชิ้นที่เคลื่อนที่ในหนึ่งมิติ ดังนี้
ข้อใดเรียงลำดับขนาดความเร่งเฉลี่ยในช่วงเวลาสิบวินาทีได้ถูกต้อง
A I > II > III
B II > I > III
C III > II > I
D I > II = III
E I = II = III
ตอบ (E)
3. กำหนดกราฟแสดงความเร็วต่อเวลาของวัตถุสามชิ้นที่เคลื่อนที่ในหนึ่งมิติ ดังนี้
ข้อใดเรียงลำดับขนาดความเร็วสูงสุดในช่วงเวลาสิบวินาทีได้ถูกต้อง
A I > II > III
B II > I > III
C III > II > I
D I > II = III
E I = II = III
ตอบ (D)
4. กำหนดกราฟแสดงความเร็วต่อเวลาของวัตถุสามชิ้นที่เคลื่อนที่ในหนึ่งมิติ ดังนี้
ข้อใดเรียงลำดับระยะทางที่เคลื่อนที่ไปได้ในช่วงเวลาสิบวินาทีได้ถูกต้อง
A I > II > III
B II > I > III
C III > II > I
D I > II = III
E I = II = III
ตอบ (B)
5. โลกที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยอัตราเร็วคงที่ จะมีระยะทางห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 150,000,000 กิโลเมตร ความเร่งของโลกในวงโคจรนี้ควรมีค่าเท่ากับข้อใด
A เข้าใกล้ 0 m/s2
B 0.006 m/s2
C 0.6 m/s2
D 6 m/s2
E 10 m/s2
ตอบ (B)
6. เด็กสะดุดลื่นด้วยความเร็ว vc บนทะเลสาบน้ำแข็ง ไปชนกับเด็กอีกคนที่เดิมอยู่นิ่ง ซึ่งเขามีมวลเป็น 3 เท่าของเด็กคนแรก หลังการชนทั้งคู่ไถลไปด้วยกัน ความเร็วของคู่หลังการชนเท่ากับข้อใด
A 2 vc
B vc
C vc / 2
D vc / 3
E vc / 4
ตอบ (E)
7. นักเล่นสเก็ตน้ำแข็งสามารถหมุนรอบตัวเองด้วยความเร็วเชิงมุม ω0 ขณะยืดแขนออก และเมื่อดึงแขนกลับเข้ามาใกล้ตัวความเร็วเชิงมุมจะเปลี่ยนเป็น 2ω0 โดยไม่มีทอร์กภายนอกใด ๆ มากระทำ แล้วอัตราส่วนของพลังงานจลน์ของการหมุนสุดท้ายกับพลังงานจลน์ของการหมุนเริ่มต้น เท่ากับข้อใด
A \(\sqrt{2}\)
B \(2\)
C \(2\sqrt2\)
D \(4\)
E \(8\)
ตอบ (B)
8. บล็อกไม้หนัก 30 N หากกดให้จมอยู่ในน้ำเต็มชิ้น จะมีแรงลอยตัวจากน้ำกระทำกับบล็อกไม้ 50 N เมื่อปล่อยให้ลอยอย่างอิสระ บล็อกไม้จะลอยขึ้นไปที่ผิวน้ำ แล้วส่วนที่ลอยพ้นน้ำเป็นเศษส่วนเท่าใดของบล็อกไม้ทั้งชิ้นขณะลอยตัวขึ้นไป
A 1/15
B 1/5
C 1/3
D 2/5
E 3/5
ตอบ (D)
9. สปริงสมดุลยาว 2.0 เมตร มีค่านิจสปริง 10 นิวตัน/เมตร ให้ ก ดึงปลายด้านหนึ่งของสปริงด้วยแรง 3.0 นิวตัน ส่วน ข ดึงปลายอีกด้านด้วยแรง 3.0 นิวตัน ในทิศทางตรงกันข้าม ความยาวของสปริง ณ ปัจจุบันเท่ากับข้อใด
A 1.7 m
B 2.0 m
C 2.3 m
D 2.6 m
E 8.0 m
ตอบ (C)
10. การกระทำในข้อใด ที่ทำให้คาบของลูกตุ้มอย่างง่าย มีค่าเพิ่มขึ้น
A ลดความยาวลูกตุ้ม
B เพิ่มมวลลูกตุ้ม
C เพิ่มแอมพลิจูดการแกว่งของลูกตุ้ม
D แกว่งลูกตุ้มในลิฟท์ที่กำลังเคลื่อนที่ขึ้น ด้วยความเร่ง
E แกว่งลูกตุ้มในลิฟท์ที่กำลังเคลื่อนที่ลง ด้วยอัตราเร็วคงที่
ตอบ (C)
11. แก้วโลหะทรงกระบอกขนาดใหญ่ ลอยอยู่ในอ่างสี่เหลี่ยมที่มีน้ำอยู่ครึ่งอ่าง หลังจากนั้นปล่อยน้ำจากก๊อกให้ไหลเข้ามาในแก้วด้วยอัตราคงที่ จนแก้วจมลงไปอยู่ใต้น้ำทั้งใบ กราฟในข้อใดแสดงระดับน้ำในอ่างกับเวลาได้ถูกต้องที่สุด
A
B
C
D
E
ตอบ (C)
12. พิจารณาลูกบอลที่หนักมากๆ และคานเบา แบบเดียวกัน เมื่อนำลูกบอลสองลูกไปติดไว้ที่ปลายแต่ละด้าน จะเกิดปฏิสัมพันธ์แรงโน้มถ่วงซึ่งกันและกัน (ตามรูปด้านซ้าย) แรงบีบบนคานจะเท่ากับ F จากนั้นเพิ่มลูกบอลลูกที่สามให้เป็นจุดยอดของรูปสามเหลี่ยม และมีคานเป็นด้านของรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า (ตามรูปด้านขวา) แรงบีบบนคานแต่ละอัน 
ในกรณีหลังนี้จะเท่ากับข้อใด
A \(\rm \dfrac{1}{\sqrt3}F\)
B \(\rm \dfrac{\sqrt3}{2}F\)
C \(\rm F\)
D \(\rm\sqrt3F\)
E \(\rm 2 F\)
ตอบ (C)
13. หลอดด้าย มีแกนทรงกระบอกหน้าตัดวงกลมรัศมี 1 cm มีวงกลมรัศมี 2 cm แปะหัวท้ายแกน ดังรูป เมื่อนำไปวางบนพื้นที่กลิ้งได้โดยไม่ไถล แล้วดึงด้ายที่พันรอบแกนขึ้นทำมุม θ = 90 กับแนวระดับ (ดึงขึ้นเท่านั้น) หลอดด้ายจะหมุนไปทางขวา แล้ว θ มากสุดที่ทำให้หลอดด้ายไม่หมุนไปทางขวา เมื่อดึงด้าย เท่ากับข้อใด
A θ = 15
B θ = 30
C θ = 45
D θ = 60
E ไม่ข้อใดถูก เพราะ หลอดด้ายจะกลิ้งไปทางขวาเสมอ
ตอบ (D)
14. กำหนดเชือกที่ผูกลูกตุ้มไว้ที่ตำแหน่งต่างๆ ซึ่งแตกต่างกัน 5 เส้น เชือกทั้งหมดจะถูกห้อยลงมาจากเพดานไปจรดปลายพื้น หากปลดเชือกให้ตกลงสู่พื้น เชือกเส้นใดที่กระทบพื้นแล้วจะเกิดเสียงกระทบเป็นจังหวะแบบสม่ำเสมอ
A
B
C
D
E
ตอบ (D)
15. มวลติดสปริงในแนวตั้งถูกดึงออกมา 20 cm จากสมดุล ถ้ามวล 100 g ผ่านจุดสมดุลด้วยอัตราเร็ว 0.75 m / s แล้วค่านิจสปริงเท่ากับข้อใด
A 90 N/m
B 100 N/m
C 110 N/m
D 140 N/m
E 160 N/m
ตอบ (D)
16. โจ พยามใช้เชือกยกเพื่อนที่อยู่ในกล่องใบหนึ่ง ซึ่งแขวนอยู่ที่ด้านข้างของสะพาน ส่วนโจอยู่บนสะพาน ตัวเชือกมีตะขอเกี่ยวกับกล่อง และถูกพาดกับราวจับที่ถูกยึดไว้แน่น โจพยามยึดกล่องไว้โดยการกดเชือกกับราวด้วยหนังสือฟิสิกส์ที่เบาและไร้แรงเสียดทาน มีสัมประสิทธิ์ความเสียดทานสถิตระหว่างเชือกกับราวเป็น μs และสัมประสิทธิ์ความเสียดทานจลน์ระหว่างเชือกกับราวเป็น μk < μs มวลของกล่องและเพื่อนรวมกันเป็น M และความสูงเริ่มต้น จากกล่องถึงพื้นคือ h และสมมุติว่าเชือกเบามาก
โจ ต้องออกแรงกระทำกับหนังสือฟิสิกส์เท่าใด เชือกจึงจะไม่ไถลลงไป
A Mg
B μk Mg
C μk Mg / μs
D ( μk + μs ) Mg
E Mg / μs
ตอบ (E)
17. โจ พยามใช้เชือกยกเพื่อนที่อยู่ในกล่องใบหนึ่ง ซึ่งแขวนอยู่ที่ด้านข้างของสะพาน ส่วนโจอยู่บนสะพาน ตัวเชือกมีตะขอเกี่ยวกับกล่อง และถูกพาดกับราวจับที่ถูกยึดไว้แน่น โจพยามยึดกล่องไว้โดยการกดเชือกกับราวด้วยหนังสือฟิสิกส์ที่เบาและไร้แรงเสียดทาน มีสัมประสิทธิ์ความเสียดทานสถิตระหว่างเชือกกับราวเป็น μs และสัมประสิทธิ์ความเสียดทานจลน์ระหว่างเชือกกับราวเป็น μk < μs มวลของกล่องและเพื่อนรวมกันเป็น M และความสูงเริ่มต้น จากกล่องถึงพื้นคือ h และสมมุติว่าเชือกเบามาก
โจ ใช้แรงตั้งฉากหยุดเชือกไม่ให้ไถลลงไปได้แล้ว แต่เพื่อนของเขากลับกระโดดอยู่ในกล่อง จนกระทั่ง แรงกระแทกดึงให้เชือกไถลหลุดออกจากมือโจไป แล้วอัตราเร็วที่กล่องกระแทกลงพื้นเท่ากับข้อใด สมมุติว่า แรงตั้งฉากของโจไม่เปลี่ยนแปลง
 
A \(\rm \sqrt{2gh}(\mu_k/\mu_s)\)
B \(\rm \sqrt{2gh}(1-\mu_k/\mu_s)\)
C \(\rm \sqrt{2gh}\sqrt{\mu_k/\mu_s}\)
D \(\rm \sqrt{2gh}\sqrt{1-\mu_k/\mu_s}\)
E \(\rm \sqrt{2gh}(\mu_s-\mu_k)\)
ตอบ (D)
18. บล็อกมวล m = 3.0 kg เลื่อนจากพื้นเอียงแรกไปถึงพื้นเอียงที่สอง มีค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานจลน์ของบล็อกกับแต่ละพื้นเอียงเท่ากับ μk = 0.40 ถ้าบล็อกเริ่มเลื่อนลงมาจากความสูง h1 = 1.0 m จากพื้นดิน และพื้นเอียงทั้งสองเอียง 30 กับแนวระดับ ความสูงที่จากพื้นดิน ที่บล็อกหยุดอยู่ที่พื้นเอียงที่สองเท่ากับข้อใด
 
A 0.18 m
B 0.52 m
C 0.59 m
D 0.69 m
E 0.71 m
ตอบ (A)
19. วัตถุมวล 2.00 kg เคลื่อนที่ด้วยแรงที่กำหนดจาก 
\(\rm \vec F= – (8.00 N / m) (x\hat i + y\hat j )\)
โดย \(\rm \hat i\) และ \(\rm \hat j\) เป็นเวกเตอร์หนึ่งหน่วยในแกน x และ y  และเริ่มปล่อยวัตถุด้วยความเร็วต้น \(\rm \vec v= (3.00 m / s)\hat i + (4.00 m / s) \hat j\)
แล้วต้องใช้เวลาเท่าไรวัตถุจึงจะกลับมาที่จุดเริ่มต้น
A 0.785 s
B 1.26 s
C 1.57 s
D 2.00 s
E 3.14 s
ตอบ (C)
20. วัตถุมวล 2.00 kg เคลื่อนที่ด้วยแรงที่กำหนดจาก 
\(\rm \vec F= – (8.00 N / m) (x\hat i + y\hat j )\)
โดย \(\rm \hat i\) และ \(\rm \hat j\) เป็นเวกเตอร์หนึ่งหน่วยในแกน x และ y  และเริ่มปล่อยวัตถุด้วยความเร็วต้น \(\rm \vec v= (3.00 m / s)\hat i + (4.00 m / s) \hat j\)
แล้วระยะไกลสุด จากจุดเริ่มต้นถึงวัตถุเท่ากับข้อใด
A 2.00 m
B 2.50 m
C 3.50 m
D 5.00 m
E 7.00 m
ตอบ (B)
21. วิศวกรกำหนดปริมาตร Vm ของโลหะที่ใช้สร้างถังความดันทรงกลมให้คงที่ค่าหนึ่ง โดยสมมุติว่า ผนังของถังบางมาก และมีแรงดันสูงจนเข้าใกล้จุดระเบิด ถ้าปริมาณแก็สที่บรรจุได้เท่ากับ n (หน่วยโมล) ซึ่งไม่ขึ้นกับรัศมี r ของถัง แต่ขึ้นอยู่กับ Vm (หน่วย m3), อุณหภูมิ T (หน่วย K), ค่าคงที่แก๊สในอุดมคติ R (หน่วย J / (K · mol)) และความทนแรงดึงของโลหะ σ (หน่วย N / m2) ค่า n ในเทอมของตัวแปรดังกล่าวเท่ากับข้อใด
 
A \(\rm n=\dfrac{2}{3}\dfrac{V_mσ}{RT}\)
B \(\rm n=\dfrac{2}{3}\dfrac{\sqrt[3]{V_mσ}}{RT}\)
C \(\rm n=\dfrac{2}{3}\dfrac{\sqrt[3]{V_mσ^2}}{RT}\)
D \(\rm n=\dfrac{2}{3}\dfrac{\sqrt[3]{V_m^2σ}}{RT}\)
E \(\rm n=\dfrac{2}{3}\sqrt[3]{\dfrac{V_mσ^2}{RT}}\)
ตอบ (A)
22. กำหนด กราฟของทอร์กที่ออกมาจากเครื่องยนต์เบนซินกับฟังก์ชันความถี่ของการหมุน เครื่องยนต์ไม่สามารถทำงานนอกช่วงของกราฟได้
RPM ของเครื่องยนต์ (รอบของเครื่องยนต์ต่อนาที) ในข้อใด ที่ให้กำลังสูงสุด
A ที่จุด I
B ระหว่างจุด I และ II
C ที่จุด II
D ระหว่างจุด II และ III
E ที่จุด III
ตอบ (D)
23. วัตถุถูกยิงจากพื้นของดาวทรงกลมสม่ำเสมอที่อยู่นิ่ง ด้วยมุมหนึ่งเทียบกับแนวตั้ง ถ้าวัตถุเคลื่อนที่โดยไม่สนแรงต้านอากาศ และตกกลับในที่สุด โดยนักบินอวกาศชายอธิบายว่าวัตถุจะเคลื่อนที่แบบพาราโบลา ตามกฎการเคลื่อนแบบโพรเจกไทล์ ส่วนนักบินอวกาศหญิงจำกฎของเคปเลอร์ได้ว่า ทุกวงโคจรที่อยู่รอบดาวจะเป็นวงรี (หรือวงกลม) และแรงโน้มถ่วงของทรงกลมสม่ำเสมอจะมีค่าเสมือนกับว่ามวลทั้งหมดรวมกันเป็นจุดมวลที่ศูนย์กลางจุดเดียว แล้วข้อใดอธิบายความแตกต่างของคำอธิบายทั้งสองได้ดีที่สุด
A เนื่องจากการทดลองเกิดใกล้กับผิวของทรงกลม จึงไม่ควรแทนทรงกลมด้วยจุดมวล
B เนื่องจากวัตถุตกกลับมา แสดงว่าวัตถุไม่ได้อยู่ในวงโคจรของดาวนั้น ดังนั้นเส้นทางการเคลื่อนที่อาจจะไม่ใช่วงรี
C นักบินอวกาศหญิง มองข้ามเรื่องการเคลื่อนที่รอบจุดมวล ที่อาจจะเป็นพาราโบลาหรือไฮเพอร์โบลาก็ได้
D กฎของเคปเลอร์ ใช้กับวงโคจรที่มีขนาดใหญ่เท่านั้น
E วัตถุเคลื่อนที่เป็นวงรี แต่เกือบจะเป็นพาราโบลา เพราะระยะที่ยิงขึ้นไปสั้นมาก เมื่อเทียบกับระยะห่างจากจุดศูนย์กลางของดาวเคราะห์
ตอบ (E)
24. เครื่องเล่นแผ่นเสียง มีวงแหวนเทฟลอน ที่มีรัศมีวงใน R และรัศมีวงนอก R + δ ( δ << R) ดังรูป และการหมุนแผ่นเสียงด้วยอัตราคง จะต้องใส่พลังงานให้มากกว่างานจากแรงเสียดทาน ถ้าผู้ผลิตเครื่องเล่นต้องการลดการใช้พลังงาน โดยไม่เปลี่ยนอัตราการหมุน น้ำหนักของเครื่องเล่นหรือ สัมประสิทธิ์แรงเสียดทานของผิวเทฟลอน วิศวกรจึงเสนอสองทางเลือก คือ การเพิ่มความกว้างของแบริ่ง ( เพิ่ม δ ) หรือเพิ่มรัศมี (เพิ่ม R) ข้อใดสรุปผลที่จะตามมาได้ถูกต้อง
A การเพิ่ม δ ไม่มีผลต่อกำลังการทำงาน แต่การเพิ่ม R ทำให้กำลังการทำงานเพิ่มขึ้น
B การเพิ่ม δ ไม่มีผลต่อกำลังการทำงาน แต่การเพิ่ม R ทำให้กำลังการทำงานลดลง
C การเพิ่ม δ ทำให้กำลังการทำงานเพิ่มขึ้น แต่การเพิ่ม R ไม่มีผลต่อกำลังการทำงาน
D การเพิ่ม δ ทำให้กำลังการทำงานลดลง แต่การเพิ่ม R ไม่มีผลต่อกำลังการทำงาน
E การเปลี่ยนแปลงทั้งสองไม่มีผลใดๆ ต่อกำลังการทำงาน
ตอบ (A)
25. ให้ทรงกระบอกกลวงที่มีผนังบางมาก (เช่น แกนกระดาษชำระ) กับบล็อกอันหนึ่ง วางนิ่งอยู่บนระนาบที่มีความชัน θ กับแนวระดับ ถ้าทรงกระบอกกลิ้งลงมาโดยไม่ไถล และบล็อกก็เลื่อนลงมาจากระนาบ มาถึงด้านล่างระนาบพร้อมกัน แล้วค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานจลน์ ระหว่างบล็อกกับระนาบเท่ากับข้อใด
A \(0\)
B \(\dfrac{1}{3}\tan\theta\)
C \(\dfrac{1}{2}\tan\theta\)
D \(\dfrac{2}{3}\tan\theta\)
E \(\tan\theta\)
ตอบ (C)