ข้อสอบคัดเลือกของทีม USA 2012 (25 ข้อ)

1. พิจารณาหยดน้ำจากก๊อกที่อยู่เหนืออ่างล้างจานประมาณ 10 cm ขณะที่หยดหนึ่งแตะอ่าง มีหนึ่งหยดอยู่ในอากาศ และมีอีกหยดรออยู่ปากก๊อก แล้วระยะห่างของหยดน้ำที่อยู่ในอากาศกับหยดที่แตะอ่างเท่ากับข้อใด
 
A ระหว่าง 0 ถึง 2 cm
B ระหว่าง 2 ถึง 4 cm
C ระหว่าง 4 ถึง 6 cm
D ระหว่าง 6 ถึง 8 cm
E ระหว่าง 8 ถึง 10 cm
ตอบ (D)
2. กระสุนปืนใหญ่ถูกยิงด้วยความเร็วต้น v0 เหนือระดับพื้นดิน อยากทราบว่า มุมเงยเล็กสุด θmin ที่ทำให้กระสุนมีความสูง H มากกว่าระยะในแนวนอน R ที่วัดจากจุดยิงถึงจุดตกพื้นเท่ากับข้อใด
A θmin = 76°
B θmin = 72°
C θmin = 60°
D θmin = 45°
E ไม่มีมุมใดที่ทำให้ H มากกว่า R
ตอบ (A)
3. รูปสามเหลี่ยมด้านเท่า ถูกวางบนพื้นเอียงที่มีแรงเสียดทานสูงเกินกว่าจะลื่นไถลลงมาได้
แต่ถ้าพื้นเอียงมีความชันมากๆ วัตถุจะ "กลิ้ง" (โดยมีจุดยอดเป็นจุดหมุน) ลงมาได้ แล้วมุมเอียงที่วัตถุจะเริ่มกลิ้งลงมาเท่ากับข้อใด
A 30°
B 45°
C 60°
D การกลิ้งเกิดขึ้นได้กับทุกมุมที่มากกว่าศูนย์
E ถ้าไถลลงมาไม่ได้ ก็ไม่มีทางกลิ้งลงมาได้
ตอบ (C)
4. วัตถุที่เดิมหยุดนิ่งระเบิดออกเป็นสามส่วนเท่าๆ กัน โดยไม่คิดแรงภายนอก ถ้าชิ้นส่วนสองชิ้นแตกออกเป็นมุมฉากกับชิ้นอื่น ๆ ด้วยอัตราเร็ว v เท่ากัน แล้วอัตราเร็วของชิ้นที่สามเท่ากับข้อใด
A \(\rm v\)
B \(\rm\sqrt2v\)
C \(\rm2v\)
D \(\rm2\sqrt2v\)
E ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ (B)
5. วัตถุ 12 kg เคลื่อนที่ 4 m / s ไปทางทิศตะวันออก พุ่งชนกับวัตถุ 6 kg ที่เคลื่อนที่ 2 m / s ไปทางทิศตะวันตก 
ถ้าหลังการชนวัตถุเคลื่อนที่ไปด้วยกัน แล้วพลังงานจลน์ที่สูญเสียไปกับการชนกันนี้เท่ากับข้อใด
A 36 J
B 48 J
C 60 J
D 72 J
E 96 J
ตอบ (D)
6. นำปืนใหญ่สองลำมาเรียงในแนวดิ่ง ให้มีระยะห่าง 200 m และหันปากกระบอกเข้าหากัน เมื่อจุดฉนวนยิง ความเร็วจากปากกระบอกปืนด้านล่างจะเท่ากับ 25 m/s และความเร็วจากปากกระบอกปืนด้านบนจะเท่ากับ 55 m/s
แล้วกระสุนปืนจะชนกันที่วินาทีที่เท่าไร
 
A 2.2 s
B 2.5 s
C 3.6 s
D 6.7 s
E 8.0 s
ตอบ (B)
7. นำปืนใหญ่สองลำมาเรียงในแนวดิ่ง ให้มีระยะห่าง 200 m และหันปากกระบอกเข้าหากัน เมื่อจุดฉนวนยิง ความเร็วจากปากกระบอกปืนด้านล่างจะเท่ากับ 25 m/s และความเร็วจากปากกระบอกปืนด้านบนจะเท่ากับ 55 m/s
แล้วกระสุนปืนจากกระบอกบนจะพุ่งลงมาได้กี่เมตรก่อนชน
A 31 m
B 67 m
C 110 m
D 140 m
E 170 m
ตอบ (E)
8. วัตถุมวล m = 3.0 kg เคลื่อนที่ตามแนวนอนไปชนกับสปริงเบา ที่มีค่านิจสปริง k = 80.0 N/m สัมประสิทธิ์
แรงเสียดทานระหว่างวัตถุกับพื้น คือ μk = 0.50 ถ้าวัตถุมีอัตราเร็ว 2.0 m/s เมื่อวัตถุชนกับสปริง แล้วระยะหดของสปริงจะเท่ากับข้อใด
 
A 0.19 m
B 0.24 m
C 0.39 m
D 0.40 m
E 0.61 m
ตอบ (B)
9. ดาวเคราะห์ทรงกลมสม่ำเสมอรัศมี R มีความเร่งโน้มถ่วงที่ผิวของดาวเท่ากับ g แล้วความเร็วหลุดพ้นของวัตถุจากพื้นผิวดาวเคราะห์จะเท่ากับข้อใด
A \(\rm \dfrac{1}{2}\sqrt{gR}\)
B \(\rm \sqrt{gR}\)
C \(\rm \sqrt{2gR}\)
D \(\rm 2\sqrt{gR}\)
E ไม่สามารถแสดงความเร็วหลุดพ้นของวัตถุ ด้วยเทอมของ g และได้ R
ตอบ (C)
10. วัตถุสี่ชิ้นถูกวางไว้บนพื้นเอียง จากนั้นปล่อยให้กลิ้งลงมาโดยมีไม่การไถล และไม่คำนึงถึงแรงต้านการหมุน และแรงต้านทานอากาศ 
    • วัตถุ A เป็นลูกบอลทองเหลืองตัน เส้นผ่านศูนย์กลาง d 
    • วัตถุ B เป็นลูกบอลทองเหลืองตัน เส้นผ่าศูนย์กลาง 2d 
    • วัตถุ C เป็นลูกบอลทองเหลืองกลวง เส้นผ่านศูนย์กลาง d 
    • วัตถุ D เป็นลูกบอลอลูมิเนียมตัน เส้นผ่าศูนย์กลาง d (อะลูมิเนียมมีความหนาแน่นน้อยกว่าทองเหลือง) 
ให้วัตถุถูกวางในลักษณะที่ศูนย์กลางมวลของวัตถุทั้งหมดกลิ้งไปในระยะเดียวกัน และเวลาที่ใช้ในการกลิ้งเป็น T ข้อความใดต่อไปนี้ถูกต้อง
A TB > TC > TA = TD
B TB > TC > TA = TD
C TB > TC > TA = TD
D TC > TA = TB = TD 
E TA = TB = TC = TD
ตอบ (D)
11. จากรูป นาย ก ดึงเชือกที่คล้องผ่านรอกที่ถูกยึดไว้ เพื่อขยับกล่องด้วยอัตราเร็วคงที่ v สัมประสิทธิ์แรงเสียดทานระหว่างกล่องกับพื้นเป็น μ < 1 สมมุติว่า รอกเบามากและไม่มีแรงเสียดทานระหว่างเชือกและรอก ข้อความใดถูกต้องขณะกล่องเคลื่อนที่
A แรงบนเส้นเชือกเป็นค่าคงที่
B แรงเสียดทานระหว่างพื้นกับกล่องจะลดลง
C แรงตั้งฉากของพื้นที่กระทำกับกล่องจะเพิ่มขึ้น
D ความดันกล่องที่พื้นจะเพิ่มขึ้น
E ความดันกล่องที่พื้นเป็นค่าคงที่
ตอบ (B)
12. ห่วงโลหะสามารถกลิ้งรอบจุดศูนย์กลางได้ มีเชือกเบาสองเส้นผูกติดไว้ที่จุด A และ B ( ยึดติดไว้โดยที่ A และ B ไม่สามารถเลื่อนได้ ) และปลายเชือกอีกด้านผูกติดกับจุดศูนย์กลาง O นอกจากนี้ยังมีวัตถุหนัก G ถูกผูกไว้ที่จุด O ให้เชือกมีความยาวคงที่ น้ำหนัก G มีเฉพาะเชือกที่รับน้ำหนักไว้ และเดิมเส้นตรง OA อยู่ในแนวนอน
ถ้าห่วงนอกเริ่มหมุนช้าๆ ไป 90 ตามเข็มนาฬิกา จนเส้นตรง OA อยู่ในแนวตั้ง และยังคงรักษาขนาดมุมระหว่างเชือกทั้งสองไว้ และวัตถุอยู่ในลักษณะที่ห้อยแบบเดิม ข้อใดกล่าวถึงแรงตึง T1 และ T2 ในเชือกทั้งสองเส้นได้ถูกต้อง
A T1 จะลดลง
B T1 จะเพิ่มขึ้น
C T2 จะเพิ่มขึ้น
D T2 จะเป็นศูนย์หลังจากหยุดหมุน
E T2 ตอนแรกจะเพิ่มขึ้น จากนั้นจะลดลง
ตอบ (D)
13. กำหนด กราฟของแรงที่กระทำกับรถเข็นขนาด 40 kg เทียบกับตำแหน่ง x ของรถเข็น ซึ่งเคลื่อนที่ในหนึ่งมิติบนแกน x ถ้าที่ x = 0 รถเข็นมีความเร็ว -3.0 m / s (ในทิศลบ) แล้วข้อใดคืออัตราเร็วสูงสุดของรถเข็น
A 1.6 m/s
B 2.5 m/s
C 3.0 m/s
D 4.0 m/s
E 4.2 m/s
ตอบ (E)
14. ทรงกระบอกรัศมี a เดิมหนัก 80 N หลังเจาะรูให้ห่างจากเส้นผ่านศูนย์กลางไป 2a/5 จะมีน้ำหนัก 65 N จุดศูนย์กลางของทรงกระบอกและรูจะสูงเท่ากัน และเส้นผ่านศูนย์กลางจะขนานกัน ดังรูป
แรง T ที่กระทำที่ด้านบนของทรงกระบอกในแนวนอน ควรเท่ากับข้อใด จึงจะทำให้ทรงกระบอกอยู่นิ่งได้
A 6 N
B 10 N
C 15 N
D 30 N
E 38 N
ตอบ (A)
15. รถมวล m มีเครื่องยนต์ที่มีกำลังออกมาคงที่ P สมมุติมีแรงเสียดทานเฉพาะล้อกับพื้นเอียง (ไม่มีแรงเสียดทานที่ส่วนอื่นๆ) แล้วอัตราเร็วสูงสุดคงที่ vmax ที่รถคันนี้สามารถขับขึ้นพื้นเอียงทำมุม θ กับแนวนอนได้ เท่ากับข้อใด
A \(\rm v_{max} = P/(mg\, sinθ)\)
B \(\rm v_{max} = P^2 sinθ /mg\)
C \(\rm v_{max} = \sqrt{2P/mg}/ sinθ\)
D ไม่มีอัตราเร็วสูงสุดคงที่
E อัตราเร็วสูงสุดคงที่ขึ้นกับความยาวของพื้นเอียง
ตอบ (A)
16. รถกระป๋องมีความเร่งในแนวนอนด้วยความเร่ง \(\vec{a}\) ภายในมีกล่องมวล M ต่อกับสปริงสองเส้นที่มีค่านิจสปริง k1 และ k2 ถ้ากล่องสามารถขยับได้โดยไม่มีแรงเสียดทานในแนวนอน แล้วความถี่ในการสั่นของกล่องเท่ากับข้อใด
 
A \(\rm \dfrac{1}{2\pi}\sqrt{\dfrac{k_1+k_2}{M}+a}\)
B \(\rm \dfrac{1}{2\pi}\sqrt{\dfrac{k_1k_2}{(k_1+k_2)M}}\)
C \(\rm \dfrac{1}{2\pi}\sqrt{\dfrac{k_1k_2}{(k_1+k_2)M}+a}\)
D \(\rm \dfrac{1}{2\pi}\sqrt{\dfrac{|k_1-k_2|}{M}}\)
E \(\rm \dfrac{1}{2\pi}\sqrt{\dfrac{|k_1+k_2|}{M}}\)
ตอบ (E)
17. กำหนกกราฟ log / log จากแอมพลิจูดและคาบของการสั่นที่ไม่เป็นเชิงเส้น ดังรูป
จากกราฟ ข้อใดอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างคาบ T กับแอมพลิจูด A ได้ดีที่สุด
A \(\rm T = 1000A^2\)
B \(\rm T = 100A^3\)
C \(\rm T = 2A+3\)
D \(\rm T = 3\sqrt A\)
E คาบเป็นอิสระกับแอมพลิจูดในระบบการสั่น
ตอบ (A)
18. มวลแขวนอยู่บนเพดานภายในกล่องด้วยสปริงในอุดมคติ เดิมให้กล่องอยู่นิ่ง ส่วนมวลจะมีความเร็วเริ่มต้น และมีการสั่นเฉพาะในแนวตั้ง เมื่อมวลทิ้งตัวถึงจุดต่ำสุด กล่องจะถูกปล่อยให้ร่วงลงมา หากพิจารณาเฉพาะภายในกล่อง ปริมาณใดต่อไปนี้จะไม่เปลี่ยนแปลง ขณะกล่องร่วงลง โดยไม่สนแรงต้านอากาศ
A แอมพลิจูดของการสั่น
B คาบของการสั่น
C อัตราเร็วสูงสุดของมวล
D ความสูงขณะที่มวลมีอัตราเร็วสูงสุด
E ตำแหน่งที่สูงที่สุดของมวล
ตอบ ไม่มีข้อใดถูก 
เพราะ ทุกตัวเลือกจะมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อปล่อยกล่องลงมา
19. ใช้มอเตอร์ 1,500 วัตต์ สูบน้ำจากความสูงแนวตั้ง 2.0 เมตร จากชั้นใต้ดินที่มีน้ำท่วมอยู่ ผ่านท่อทรงกระบอก ถ้าน้ำไหลออกจากปากท่อด้วยอัตราเร็ว 2.5 m / s โดยไม่มีแรงเสียดทาน และสมมุติว่าพลังงานทั้งหมดของมอเตอร์ใช้ไปกับการสูบน้ำ แล้วรัศมีของท่อน้ำควรเท่ากับข้อใด ให้ความหนาแน่นของน้ำเป็น ρ = 1000 /m3
A 1/3 cm
B 1 cm
C 3 cm
D 10 cm
E 30 cm
ตอบ (D)
20. ภาชนะบรรจุน้ำถูกวางบนเครื่องชั่ง อ่านน้ำหนักได้ M1 = 45 kg และบล็อกไม้ถูกแขวนบนเครื่องชั่งที่สอง อ่านน้ำหนักได้ M2 = 12 kg ถ้าไม้มีความหนาแน่น 0.60 g/cm3 และน้ำมีความหนาแน่น 1.00 g/cm3 เมื่อหย่อนบล็อกไม้ครึ่งหนึ่งลงไปในน้ำ แล้วน้ำหนักที่อ่านได้จากเครื่องชั่งจะเท่ากับข้อใด
A M1 = 45 kg และ M2 = 2 kg
B M1 = 45 kg และ M2 = 6 kg
C M1 = 45 kg และ M2 = 10 kg
D M1 = 55 kg และ M2 = 6 kg
E M1 = 55 kg และ M2 = 2 kg
ตอบ (E)
21. กำหนดระบบสปริงหนึ่งประกอบด้วย แท่นหนัก 10 N อยู่ด้านบนของสปริงสองอัน ซึ่งมีค่านิจสปริง 75 N/m ทั้งสองอัน และด้านบนแท่นมีสปริงที่สามที่มีค่านิจสปริง 75 N/m ถ้าวางลูกบอลหนัก 5.0 N บนสปริงที่สามจนน้ำหนักค่อย ๆ กดสปริงทั้งระบบลง แล้วระยะที่ลูกบอลกดลงมาจะเท่ากับข้อใด
A 0.033 m
B 0.067 m
C 0.100 m
D 0.133 m
E 0.600 m
ตอบ (C)
22. เสียงที่เบาที่สุดที่เราได้ยินจะมีความเข้มเสียง I0 = 10–12 W/m2 ถ้าเปลี่ยนเป็นหน่วยพื้นฐานกิโลกรัม, เมตร และวินาที จะมีค่าเท่ากับข้อใด
 
A I0= 10–12 kg/s3
B I0= 10–12 kg/s
C I0= 10–12 kg2m/s
D I0= 10–12 kg2m/s2
E I0= 10–12  kg/m·s3
ตอบ (A)
23. เครื่องมือวัดในข้อใด ไม่สามารถ วัดความเร่งโน้มถ่วง (g) ได้
A เครื่องชั่งสปริง (อ่านค่าในหน่วยแรง) และวัตถุที่ทราบมวล
B คานที่ทราบความยาว, แต่ไม่ทราบมวล และนาฬิกาจับเวลา
C พื้นเอียงที่ทราบความชัน, รถจำลองหลายขนาดๆ ที่ทราบมวล และนาฬิกาจับเวลา
D ปืนที่ยิงแบบโพรเจกไทล์ที่ทราบอัตราเร็ว, กระสุนที่ทราบมวล และไม้บรรทัด
E มอเตอร์ที่ทราบกำลังที่ออกมา, วัตถุที่ทราบมวล, เส้นเชือกที่ทราบความยาว และนาฬิกาจับเวลา
ตอบ (C)
24. วัตถุมวล m สามชิ้น นำมาติดกันด้วยสปริงแบบเดียวกัน เมื่อวางบนพื้นราบจะเห็นเป็นรูปสามเหลี่ยมที่มีความยาวด้าน l เมื่อหมุนวัตถุรูปสามเหลี่ยมรอบ ๆ จุดศูนย์กลางด้วยความเร็วเชิงมุม ω วัตถุรูปสามเหลี่ยมจะมีความยาวด้านใหม่เป็น 2l แล้วค่านิจสปริง k เท่ากับข้อใด
A \(\rm 2m\omega^2\)
B \(\rm \dfrac{2}{\sqrt3}m\omega^2\)
C \(\rm \dfrac{2}{3}m\omega^2\)
D \(\rm \dfrac{1}{\sqrt3}m\omega^2\)
E \(\rm \dfrac{1}{3}m\omega^2\)
ตอบ (C)
25. พิจารณาสองวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ที่แสดงดังรูป วงโคจร P เป็นวงกลมมีรัศมี R วงโคจร Q เป็นวงรี มีจุดยอดไกลสุด b อยู่ระหว่าง 2R และ 3R และจุดยอดใกล้สุด a อยู่ระหว่าง R/3 และ R/2 ถ้าความเร็วในวงโคจร P เป็น vc ความเร็วในวงโคจร Q ที่จุด a เป็น va และที่จุด b เป็น vb แล้วข้อใดต่อไปนี้ถูกต้อง
A vb > vc > 2va
B 2vc > vb > va
C 10vb > va > vc
D vc > va > 4vb
E 2va > \(\sqrt2\)vb > vc
ตอบ (C)