1. | ผู้สังเกตยืนอยู่ด้านข้างของด้านหน้าขบวนรถไฟที่จอดอยู่ เมื่อรถไฟเริ่มวิ่งด้วยความเร่งคงที่ โบกี้แรกจะผ่านผู้สังเกตไปโดยใช้เวลา 5 วินาที ต้องใช้เวลาเท่าไร โบกี้ที่ 10 (คิดเฉพาะโบกี้นี้) ถึงจะผ่านผู้สังเกตไป |
A | 1.07 s |
B | 0.98 s |
C | 0.91 s |
D | 0.86 s |
E | 0.81 s |
2. | ก ยืนห่างจากกำแพง 20 m และ ข ยืนห่างจากกำแพงเดียวกัน 10 m ถ้า ก โยนลูกบอลทำมุมเงย 30◦ และชนแบบยืดหยุ่นกับกำแพง แล้ว ก ต้องโยนลูกบอลด้วยความเร็วเท่าไร ลูกบอลจึงจะตกที่ ข พอดี ให้ ก และ ข ให้มีความสูงเท่ากัน และทั้งคู่อยู่ในแนวตั้งฉากเดียวกันกับกำแพง |
A | 11 m/s |
B | 15 m/s |
C | 19 m/s |
D | 30 m/s |
E | 35 m/s |
3. | ก โยนบอลให้ ข ที่อยู่ห่างออกไป l และ ก สามารถกำหนดเวลา t ที่บอลจะลอยไป จากอัตราเร็วที่ใช้ ซึ่งเขาจะใช้อัตราเร็วเท่าไรก็ได้จนถึง vmax และเลือกมุมที่ใช้ในการโยนเท่าไรก็ได้ ในช่วง 0◦ ถึง 90◦ ถ้าไม่คำนึงถึงแรงต้านอากาศ และถือว่า ก และ ข ความสูงเท่ากัน แล้วข้อความใดต่อไปนี้ผิด |
A | ถ้า vmax < \(\sqrt{\text{g}l} \) แล้วบอลจะไม่สามารถไปถึง ข ได้ |
B | กรณีที่บอลไปถึง ข ถ้า vmax เพิ่มขึ้น (ขณะที่ l คงตัว) แล้วค่าต่ำสุดของ t ต้องลดลง |
C | กรณีที่บอลไปถึง ข ถ้า vmax เพิ่มขึ้น (ขณะที่ l คงตัว) แล้วค่าสูงสุดของ t ต้องเพิ่มขึ้น |
D | กรณีที่บอลไปถึง ข ถ้า l เพิ่มขึ้น (ขณะที่ vmax คงตัว) แล้วค่าต่ำสุดของ t ต้องเพิ่มขึ้น |
E | กรณีที่บอลไปถึง ข ถ้า l เพิ่มขึ้น (ขณะที่ vmax คงตัว) แล้วค่าสูงสุดของ t ต้องเพิ่มขึ้น |
4. | ให้ขาตั้งสองขายึดกันด้วยบานพับที่ไม่มีแรงเสียดทาน และสัมประสิทธิ์แรงเสียดทาน ระหว่างพื้นกับขาตั้งเท่ากับ μ แล้วค่า θ สูงสุดในข้อใด ที่ทำให้ขาตั้งไม่ยุบลง |
A | sinθ = 2μ |
B | sinθ/2 = μ/2 |
C | tanθ/2 = μ |
D | tanθ = 2μ |
E | tanθ/2 = 2μ |
5. | นักเรียนก้าวเข้าไปในลิฟต์และขึ้นไปอยู่บนเครื่องชั่ง เมื่อลิฟต์เคลื่อนที่จากชั้นบนสุด ไปชั้นล่างสุดของอาคาร นักเรียนได้บันทึกน้ำหนักตามเวลาที่เปลี่ยนไป ดังนี้ แล้วช่วงเวลาใดที่นักเรียนเคลื่อนที่ลงด้วยอัตราเร็วสูงสุด |
A | ช่วงวินาทีที่ 2 ถึง 4 |
B | ที่วินาทีที่ 4 |
C | ช่วงวินาทีที่ 4 ถึง 22 |
D | ที่วินาทีที่ 22 |
E | ช่วงวินาทีที่ 22 ถึง 24 |
6. | นักเรียนก้าวเข้าไปในลิฟต์และขึ้นไปอยู่บนเครื่องชั่ง เมื่อลิฟต์เคลื่อนที่จากชั้นบนสุด ไปชั้นล่างสุดของอาคาร นักเรียนได้บันทึกน้ำหนักตามเวลาที่เปลี่ยนไป ดังนี้ แล้วอาคารนี้สูงกี่เมตร |
A | 50 m |
B | 80 m |
C | 100 m |
D | 150 m |
E | 400 m |
7. | ให้รถยนต์และรถบรรทุกมีโมเมนตัมเดียวกัน รถบรรทุกมีน้ำหนักเป็นสิบเท่าของรถยนต์ ข้อใดเปรียบเทียบพลังงานจลน์ของรถทั้งสองคันได้ถูกต้อง |
A | พลังงานจลน์ของรถบรรทุก มีค่ามากกว่า 100 เท่า |
B | พลังงานจลน์ของรถบรรทุก มีค่ามากกว่า 10 เท่า |
C | พลังงานจลน์ของรถทั้งคัน มีค่าเท่ากัน |
D | พลังงานจลน์ของรถยนต์ มีค่ามากกว่า 10 เท่า |
E | พลังงานจลน์ของรถยนต์ มีค่ามากกว่า 100 เท่า |
8. | รถบรรทุกมีความเร็วเริ่มต้น v คนขับได้เบรกจนกระทั่งรถหยุด โดยเบรกกระทำกับรถด้วยแรงคงที่ F ระยะทางที่รถบรรทุกเคลื่อนที่ไปจนกระทั่งหยุดคือ x และเวลาที่ใช้ในการหยุดรถคือ t แล้วข้อใดแสดงพลังงานจลน์เริ่มต้นของรถบรรทุกได้ถูกต้อง (พลังงานจลน์ก่อนคนขับเบรก) |
A | Fx |
B | Fvt |
C | Fxt |
D | Ft |
E | ถูกทั้งข้อ (A) และ (B) |
9. | รถบรรทุกมีความเร็วเริ่มต้น v คนขับได้เบรกจนกระทั่งรถหยุด โดยเบรกกระทำกับรถด้วยแรงคงที่ F ระยะทางที่รถบรรทุกเคลื่อนที่ไปจนกระทั่งหยุดคือ x และเวลาที่ใช้ในการหยุดรถคือ t แล้วข้อใดต่อไปนี้แสดงโมเมนตัมเริ่มต้นของรถบรรทุกได้ถูกต้อง (โมเมนตัมก่อนคนขับรถเบรก) |
A | Fx |
B | Ft/2 |
C | Fxt |
D | 2Ft |
E | 2Fx/v |
10. | ข้อใดคือวิธีแยกบอลกลมตัน กับบอลกลมกลวง ที่มีรัศมีและมวลเท่ากัน ได้ดีที่สุด |
A | ดูจากการโคจรของมวลทดสอบบอลนั้น |
B | ดูจากเวลาที่วัตถุกลิ้งลงมาจากพื้นเอียง |
C | ดูจากแรงไทดัลที่กระทำกับวัตถุในของเหลว |
D | ดูจากลักษณะการลอยตัวของวัตถุในน้ำ |
E | ดูจากแรงที่กระทำกับวัตถุในสนามโน้มถ่วงที่สม่ำเสมอ |
11. | บล็อกไม้รูปสามเหลี่ยมมุมฉากมวล M วางอยู่บนโต๊ะ ดังรูป มีลูกบาศก์ไม้ขนาดเล็ก มวล m สองอัน วางในแต่ละด้านของด้านประกอบมุมฉาก ให้พื้นผิวสัมผัสระหว่างลูกบาศก์และบล็อกไม้ไม่มีแรงเสียดทาน และในขณะที่ลูกบาศก์เล็กเลื่อนลงมา บล็อกไม้สามเหลี่ยมจะยังคงอยู่ที่เดิม แล้วแรงในแนวตั้งฉากกับผิวสัมผัส (Normal Force) ของระบบกับโต๊ะเท่ากับข้อใด |
A | 2mg |
B | 2mg + Mg |
C | mg + Mg |
D | Mg + mg(sinα + sinβ) |
E | Mg + mg(cosα + cosβ) |
12. | (เกินหลักสูตรการสอบเข้า สอวน.) ทรงกลมกลวงมวล M รัศมี R มีของเหลวมวล M บรรจุไว้เต็ม โดยไม่มีแรงเสียดทาน (ไม่มีความหนืด) ทรงกลมที่เดิมอยู่นิ่ง ถูกปล่อยลงมาจากทางลาดที่ทำมุม θ กับแนวนอน โดยไม่มีการไถล แล้วความเร่งของทรงกลมหลังปล่อยลงมาเท่ากับข้อใด สมมุติว่า ความเร่งของการตกอย่างอิสระคือ g โมเมนต์ความเฉื่อยของทรงกลมกลวงรัศมี r มวล m ที่จุดศูนย์กลางมวล คือ \(\rm I = \dfrac{2}{3} mr^2\) โมเมนต์ความเฉื่อยของทรงกลมตันรัศมี r มวล m ที่จุดศูนย์กลางมวล คือ \(\rm I = \dfrac{2}{5} mr^2\) |
A | \(\rm a = g ~sinθ\) |
B | \(\rm a = \dfrac{3}{4} g ~sinθ\) |
C | \(\rm a = \dfrac{1}{2} g ~sinθ\) |
D | \(\rm a = \dfrac{3}{8} g ~sinθ\) |
E | \(\rm a = \dfrac{3}{5} g ~sinθ\) |
13. | ที่วงแหวนด้านนอกของดาวเสาร์ การระบุชั้นที่เป็นส่วนหนึ่งของดาวเสาร์ หรือชั้นที่เป็นดาวบริวารของดาวเสาร์ เราจะต้องทราบความสัมพันธ์ระหว่าง ความเร็ว v ของแต่ละชั้นในวงแหวน และระยะทางที่วัดจากศูนย์กลางของดาวเสาร์ R ของแต่ละชั้นเสียก่อน จงพิจารณาว่าข้อความใดต่อไปนี้ถูกต้อง |
A | ถ้า v ∝ R แสดงว่า ชั้นนั้นเป็นส่วนหนึ่งของดาวเสาร์ |
B | ถ้า v2 ∝ R แสดงว่า ชั้นนั้นเป็นดาวบริวารของดาวเสาร์ |
C | ถ้า v ∝ 1/R แสดงว่า ชั้นนั้นเป็นส่วนหนึ่งของดาวเสาร์ |
D | ถ้า v2 ∝ 1/R แสดงว่า ชั้นนั้นเป็นส่วนหนึ่งของดาวเสาร์ |
E | ถ้า v ∝ R2 แสดงว่า ชั้นนั้นเป็นดาวบริวารของดาวเสาร์ |
14. | รถเข็นมวล m เคลื่อนที่ไปทางขวาด้วยความเร็ว 12 m/s ชนแบบยืดหยุ่นกับรถเข็นมวล 4.0 kg ที่เดิมอยู่นิ่ง หลังการชน รถเข็นมวล m เคลื่อนที่ไปทางซ้ายด้วยความเร็ว 6.0 m/s ถ้าการชนแบบยืดหยุ่นเกิดในมิติเดียว แล้วความเร็วที่จุดศูนย์กลางมวล (vcm) ของรถเข็นทั้งสองคัน ก่อนชนเท่ากับข้อใด |
A | vcm = 2.0 m/s |
B | vcm = 3.0 m/s |
C | vcm = 6.0 m/s |
D | vcm = 9.0 m/s |
E | vcm = 18 m/s |
15. | คานสม่ำเสมอ มีส่วนหนึ่งจมอยู่ในน้ำและปลายด้านหนึ่งถูกแขวนไว้ ดังรูป ถ้าคานมีความหนาแน่นเป็น 5/9 ของน้ำ แล้วที่ภาวะสมดุล สัดส่วนของคานที่อยู่เหนือน้ำจะเท่ากับข้อใด |
A | 0.25 |
B | 0.33 |
C | 0.5 |
D | 0.67 |
E | 0.75 |
16. | แนวคิดจาก โจทย์โอลิมปิกฟิสิกส์นานาชาติ 2012 ที่ เอสโตเนีย อนุภาคขนาดเล็กจำนวนมากรวมตัวเป็นเมฆทรงกลมในอวกาศ ที่สภาวะหยุดนิ่ง อนุภาคจะมีความหนาแน่นของมวลต่อปริมาตรเป็น ρ0 และมีรัศมี r0 ถ้าแรงโน้มถ่วงทำให้ยุบตัว โดยมีเฉพาะแรงโน้มถ่วงที่กระทำระหว่างกัน (ไม่มีแรงอื่น) แล้วต้องใช้เวลานานแค่ไหนเมฆจึงจะยุบตัวสมบูรณ์ (ค่าจริงของ 0.5427 คือ\(\sqrt{\frac{3\pi}{32}}\)) |
A | \(\rm \dfrac{0.5427}{r_0^2\sqrt{G\rho_0}}\) |
B | \(\rm \dfrac{0.5427}{r_0\sqrt{G\rho_0}}\) |
C | \(\rm \dfrac{0.5427}{\sqrt{r_0}\sqrt{G\rho_0}}\) |
D | \(\rm \dfrac{0.5427}{\sqrt{G\rho_0}}\) |
E | \(\rm \dfrac{0.5427}{\sqrt{G\rho_0}}r_0\) |
17. | วัตถุมวลเท่ากันสองอันเชื่อมกันด้วยคานเบา และโคจรรอบดาวเคราะห์ดวงหนึ่ง โดยคานมีความยาวระดับหนึ่ง แต่สั้นกว่ารัศมีวงโคจร ขณะโคจร คานจะอยู่ในลักษณะตั้งฉากกับดาวเคราะห์เสมอ • มีแรงเกิดขึ้นที่คานหรือไม่ ? ถ้ามีจะเป็นแรงดึงหรือแรงอัด ? • จะเกิดสภาวะสมดุลเสถียร ไม่เสถียร หรือตามธรรมชาติ เมื่อมีการรบกวนการทำมุมของคานเพียงเล็กน้อย ? ( การรบกวนในที่นี้ คือ การรบกวนการรักษาอัตราการหมุนที่ทำให้คานยังคงตั้งฉากกับดาวเคราะห์ ) |
A | ไม่มีแรงใดเกิดขึ้น และมีสภาวะสมดุลตามธรรมชาติ |
B | มีแรงดึงเกิดขึ้น และมีสภาวะสมดุลเสถียร |
C | มีแรงอัดเกิดขึ้น และมีสภาวะสมดุลเสถียร |
D | มีแรงดึงเกิดขึ้น และมีสภาวะสมดุลไม่เสถียร |
E | มีแรงอัดเกิดขึ้น และมีสภาวะสมดุลไม่เสถียร |
18. | อนุภาคมวล 1 kg สองอัน มีสถานะเริ่มต้น ดังรูป
ถ้ามีเฉพาะแรงภายใน แล้วข้อใดแสดงสถานะหลังผ่านไประยะหนึ่งได้ถูกต้องที่สุด |
A | |
B | |
C | |
D | |
E |
19. | การทดสอบลูกตุ้มอย่างง่าย ประกอบด้วย ลูกตุ้มมวล m ที่ยึดกับแกนหมุนด้วยแท่งเบายาว L ภายใต้สนามโน้มถ่วงคงที่ ลูกตุ้มที่เดิมอยู่นิ่งจะถูกปล่อยลงมาจากมุม θ0 < π / 2 กับแนวเดิม และคาบของการแกว่งคือ T0 โดยไม่คำนึงถึงแรงต้านอากาศและแรงเสียดทาน ขณะที่ลูกตุ้มแกว่ง มุม θg ใด ที่ทำให้เกิดแรงตึงที่แท่งยึดลูกตุ้มมากที่สุด |
A | แรงตึงมากสุดที่ θg = θ0 |
B | แรงตึงมากสุดที่ θg = 0 |
C | แรงตึงมากสุดในช่วง 0 < θg < θ0 |
D | แรงตึงคงที่ |
E | ไม่ข้อใดถูกต้อง เพราะ 0 < θ0 < \(\pi\) / 2 |
20. | การทดสอบลูกตุ้มอย่างง่าย ประกอบด้วย ลูกตุ้มมวล m ที่ยึดกับแกนหมุนด้วยแท่งเบายาว L ภายใต้สนามโน้มถ่วงคงที่ ลูกตุ้มที่เดิมอยู่นิ่งจะถูกปล่อยลงมาจากมุม θ0 < π / 2 กับแนวเดิม และคาบของการแกว่งคือ T0 โดยไม่คำนึงถึงแรงต้านอากาศและแรงเสียดทาน แรงตึงมากสุดที่แท่งยึดลูกตุ้ม จะมีค่าเท่าใด |
A | mg |
B | 2mg |
C | mL θ0/T02 |
D | mg sinθ0 |
E | mg(3 – 2 cosθ0) |
21. | การทดสอบลูกตุ้มอย่างง่าย ประกอบด้วย ลูกตุ้มมวล m ที่ยึดกับแกนหมุนด้วยแท่งเบายาว L ภายใต้สนามโน้มถ่วงคงที่ ลูกตุ้มที่เดิมอยู่นิ่งจะถูกปล่อยลงมาจากมุม θ0 < π / 2 กับแนวเดิม และคาบของการแกว่งคือ T0 โดยไม่คำนึงถึงแรงต้านอากาศและแรงเสียดทาน ถ้าทำการทดลองใหม่ด้วยแท่งยึดลูกตุ้มยาว 4L โดยใช้มุมเดิมคือ θ0 จะได้คาบของการแกว่งคือ T แล้วข้อความใดต่อไปนี้ถูกต้อง |
A | T = 2T0 โดยไม่คำนึงถึง θ0 |
B | T > 2T0 โดย T ≈ 2T0 ถ้า θ0 << 1 |
C | T < 2T0 โดย T ≈ 2T0 ถ้า θ0 << 1 |
D | T > 2T0 ในบาง θ0 และ T < 2T0 ในบาง θ0 |
E | ไม่สามารถหาค่า T และ 2T0 ได้ เพราะไม่ใช่การแกว่งแบบมีคาบ ( ยกเว้นกรณี θ0 << 1 ) |
22. | กำหนดภาพจำลองเท้ามนุษย์ ดังรูป ถ้านักเรียนมวล m = 60 kg ยืนด้วยนิ้วเท้าเดียว แล้วแรงตึง T ในเอ็นร้อยหวายควรเท่ากับข้อใด |
A | T = 600 N |
B | T = 1200 N |
C | T = 1800 N |
D | T = 2400 N |
E | T = 3000 N |
23. | คนมวล m กระโดดบันจี้จัมลงมาจากสะพานสูง ได้ระยะตกสูงสุด H จากนั้นเชือกจะหน่วงให้เขาอยู่นิ่งชั่วขณะก่อนที่จะตีกลับขึ้นไป ให้เชือกมีความยืดหยุ่นสมบูรณ์ ตามกฎแรงของฮุค (Hooke's force law) มีค่านิจสปริง k และสามารถยืดจากความยาวเดิม L0 ถึง L = L0 + h ได้ และแรงตึงสูงสุดในเส้นเชือกจะเท่ากับสี่เท่าของน้ำหนักคน แล้วค่านิจสปริงควรมีค่าเท่าใด |
A | \(\rm k=\dfrac{mg}{h}\) |
B | \(\rm k=\dfrac{2mg}{h}\) |
C | \(\rm k=\dfrac{mg}{H}\) |
D | \(\rm k=\dfrac{4mg}{H}\) |
E | \(\rm k=\dfrac{8mg}{H}\) |
24. | คนมวล m กระโดดบันจี้จัมลงมาจากสะพานสูง ได้ระยะตกสูงสุด H จากนั้นเชือกจะหน่วงให้เขาอยู่นิ่งชั่วขณะก่อนที่จะตีกลับขึ้นไป ให้เชือกมีความยืดหยุ่นสมบูรณ์ ตามกฎแรงของฮุค (Hooke's force law) มีค่านิจสปริง k และสามารถยืดจากความยาวเดิม L0 ถึง L = L0 + h ได้ และแรงตึงสูงสุดในเส้นเชือกจะเท่ากับสี่เท่าของน้ำหนักคน จงหาระยะยืดสูงสุดของเชือก h |
A | \(\rm h=\dfrac{1}{2}H\) |
B | \(\rm h=\dfrac{1}{4}H\) |
C | \(\rm h=\dfrac{1}{5}H\) |
D | \(\rm h=\dfrac{2}{5}H\) |
E | \(\rm h=\dfrac{1}{8}H\) |
25. | กล่องหนัก W เลื่อนลงมาจากพื้นเอียง 30◦ ด้วยอัตราเร็วคงที่ ภายใต้แรงโน้มถ่วงและแรงเสียดทาน ถ้าเพิ่มแรง P กระทำกับกล่องในแนวนอนจะทำให้กล่องเคลื่อนที่ขึ้นด้วยอัตราเร็วคงที่ แล้วขนาดของ P ควรเท่ากับข้อใด |
A | \(\rm P = W/2\) |
B | \(\rm P = 2W/\sqrt3\) |
C | \(\rm P = W\) |
D | \(\rm P = \sqrt3W\) |
E | \(\rm P = 2W\) |