ข้อสอบคัดเลือกของทีม USA 2013 (25 ข้อ)

1. ผู้สังเกตยืนอยู่ด้านข้างของด้านหน้าขบวนรถไฟที่จอดอยู่ เมื่อรถไฟเริ่มวิ่งด้วยความเร่งคงที่ โบกี้แรกจะผ่านผู้สังเกตไปโดยใช้เวลา 5 วินาที ต้องใช้เวลาเท่าไร โบกี้ที่ 10 (คิดเฉพาะโบกี้นี้) ถึงจะผ่านผู้สังเกตไป
A 1.07 s
B 0.98 s
C 0.91 s
D 0.86 s
E 0.81 s
ตอบ (E)

จากสูตร
\(\Delta {\rm{x = }}\dfrac{{\rm{1}}}{{\rm{2}}}{\rm{a}}{{\rm{t}}^{\rm{2}}}{\rm{ + }}{{\rm{v}}_{\rm{i}}}{\rm{t}}\)
โดย t0 = 0 คือ เวลาที่รถไฟเริ่มเคลื่อนที่ และรถไฟโบกี้แรกยังอยู่แนวเดียวกับผู้สังเกต
และ t1 เริ่มขณะโบกี้แรกวิ่งผ่านผู้สังเกตไป จะได้ \({\rm{L = }}\dfrac{{\rm{1}}}{{\rm{2}}}{\rm{at}}_{\rm{1}}^{\rm{2}}\)
สมมุติให้ หนึ่งโบกี้ยาว L และ t2 เริ่มขณะโบกี้ที่ 10 วิ่งมาถึงผู้สังเกต จะได้
\({\rm{9L = }}\dfrac{{\rm{1}}}{{\rm{2}}}{\rm{at}}_{\rm{2}}^{\rm{2}}\)
สุดท้าย t3 คือ เวลาที่โบกี้ที่ 10 วิ่งผ่านไป 
\({\rm{10L = }}\dfrac{{\rm{1}}}{{\rm{2}}}{\rm{at}}_{\rm{3}}^{\rm{2}}\)
จากสมการ t1 จะได้ \({\rm{2L/a = 25}}{{\rm{s}}^{\rm{2}}}\)
 
ดังนั้น \({{\rm{t}}_{\rm{2}}}{\rm{ = }}\sqrt {{\rm{9}} \cdot {\rm{25}}{{\rm{s}}^{\rm{2}}}} {\rm{ = 15 ~s}}\) และ \({{\rm{t}}_{\rm{3}}}{\rm{ = }}\sqrt {{\rm{10}} \cdot {\rm{25}}{{\rm{s}}^{\rm{2}}}} {\rm{ = 15}}{\rm{.81 ~s}}\)
 
 
ดังนั้น โบกี้ที่ 10 ใช้เวลา 15 – 15.81 = 0.81 s ในการผ่านผู้สังเกตไป
2. ก ยืนห่างจากกำแพง 20 m และ ข ยืนห่างจากกำแพงเดียวกัน 10 m ถ้า ก โยนลูกบอลทำมุมเงย 30 และชนแบบยืดหยุ่นกับกำแพง แล้ว ก ต้องโยนลูกบอลด้วยความเร็วเท่าไร ลูกบอลจึงจะตกที่ ข พอดี ให้ ก และ ข ให้มีความสูงเท่ากัน และทั้งคู่อยู่ในแนวตั้งฉากเดียวกันกับกำแพง
 
A 11 m/s
B 15 m/s
C 19 m/s
D 30 m/s
E 35 m/s
ตอบ (C)

กำแพงในข้อนี้เปรียบเสหมือนกระจกเงาที่สะท้อนการชนของลูกบอลแบบยืดหยุ่นสมบูรณ์ และระยะทางที่ต้องเคลื่อนที่จาก ก ถึง ข เท่ากับ 30 เมตร จากสูตรระยะทางจะได้
\({\rm{R = }}\dfrac{{{{\rm{v}}^{\rm{2}}}}}{{\rm{g}}}{\rm{sin2\theta }}\)
เราจะได้
\({{\rm{v}}^{\rm{2}}}{\rm{ = }}\dfrac{{{\rm{gR}}}}{{{\rm{sin 2\theta }}}} \approx \dfrac{{{\rm{300 }}{{\rm{m}}^{\rm{2}}}{\rm{/}}{{\rm{s}}^{\rm{2}}}}}{{\sqrt {\rm{3}} {\rm{/2}}}}\)
ดังนั้น v มีค่าประมาณ 19 m/s
3. ก โยนบอลให้ ข ที่อยู่ห่างออกไป l และ ก สามารถกำหนดเวลา t ที่บอลจะลอยไป จากอัตราเร็วที่ใช้ ซึ่งเขาจะใช้อัตราเร็วเท่าไรก็ได้จนถึง vmax และเลือกมุมที่ใช้ในการโยนเท่าไรก็ได้ ในช่วง 0 ถึง 90 ถ้าไม่คำนึงถึงแรงต้านอากาศ และถือว่า ก และ ข ความสูงเท่ากัน แล้วข้อความใดต่อไปนี้ผิด
 
A ถ้า vmax\(\sqrt{\text{g}l} \) แล้วบอลจะไม่สามารถไปถึง ข ได้
B กรณีที่บอลไปถึง ข ถ้า vmax เพิ่มขึ้น (ขณะที่ l คงตัว) แล้วค่าต่ำสุดของ t ต้องลดลง
C กรณีที่บอลไปถึง ข ถ้า vmax เพิ่มขึ้น (ขณะที่ l คงตัว) แล้วค่าสูงสุดของ t ต้องเพิ่มขึ้น
D กรณีที่บอลไปถึง ข ถ้า l เพิ่มขึ้น (ขณะที่ vmax คงตัว) แล้วค่าต่ำสุดของ t ต้องเพิ่มขึ้น
E กรณีที่บอลไปถึง ข ถ้า l เพิ่มขึ้น (ขณะที่ vmax คงตัว) แล้วค่าสูงสุดของ t ต้องเพิ่มขึ้น
ตอบ (A)

ข้อ (A) เป็นไปตามค่ามากสุดของการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ 
สำหรับใครที่ต้องการคิดเลข จะลองคำนวณหาผลลัพธ์ดูก็ได้ กำหนดให้ θ เป็นมุมที่โยนออกไป และ v0 เป็นอัตราเร็วต้น จะได้
\(\begin{array}{l} 2{{\rm{v}}_0}\sin {\rm{\theta }} = {\rm{gt}}\\ {\rm{(}}{{\rm{v}}_0}\cos{\rm{\theta )t}} = l \end{array}\)
จาก sin2 θ + cos2 θ  = 1
\(\begin{align*} {{\rm{v}}_{\rm{0}}}^{\rm{2}} &={\left( {\frac{{{\rm{gt}}}}{{\rm{2}}}} \right)^2}{\rm{ + }}{\left( {\frac{l}{{\rm{t}}}} \right)^2}\\ \frac{{{{\rm{g}}^2}}}{{\rm{4}}}{{\rm{t}}^4} - {{\rm{v}}_{\rm{0}}}^{\rm{2}}{{\rm{t}}^2} + {l^2} &= 0\\ {{\rm{t}}^2} &= 2\frac{{{{\rm{v}}_{\rm{0}}}^{\rm{2}} \pm \sqrt {{{\rm{v}}_{\rm{0}}}^{\rm{4}} - {{\rm{g}}^2}{l^2}} }}{{{{\rm{g}}^2}}} \end{align*}\)
จากผลลัพธ์สังเกตว่า การเพิ่ม l จะส่งผลต่อเวลาในการเคลื่อนที่ทั้งสองทิศทาง และการเพิ่ม vmax ก็จะทำให้เวลามากสุดที่ลอยอยู่ในอากาศมากขึ้นเช่นกัน สำหรับเวลาน้อยสุดที่บอลจะลอยไป จะหาจาก
\(\begin{align*} {\rm{t}}{{\rm{\_}}^2} &= 2\frac{{{{\rm{v}}_{\rm{0}}}^{\rm{2}} - \sqrt {{{\rm{v}}_{\rm{0}}}^{\rm{4}} - {{\rm{g}}^2}{l^2}} }}{{{{\rm{g}}^2}}}\\ \frac{{\partial ({\rm{t}}{{\rm{\_}}^2})}}{{\partial ({{\rm{v}}_{\rm{0}}}^2)}} &= \frac{2}{{{{\rm{g}}^2}}}\left( {1 - \frac{{2{{\rm{v}}_{\rm{0}}}^{\rm{2}}}}{{2\sqrt {{{\rm{v}}_{\rm{0}}}^{\rm{4}} - {{\rm{g}}^2}{l^2}} }}} \right)\\ \frac{{\partial ({\rm{t}}{{\rm{\_}}^2})}}{{\partial ({{\rm{v}}_{\rm{0}}}^2)}} &= \frac{2}{{{{\rm{g}}^2}}}\left( {1 - \frac{1}{{\sqrt {{\rm{1}} - \frac{{{{\rm{g}}^2}{l^2}}}{{{{\rm{v}}_{\rm{0}}}^{\rm{4}}}}} }}} \right) \end{align*}\)
สังเกตว่า ขวามือเป็นลบเสมอ ดังนั้น t_ จะมีค่าน้อยสุด เมื่อเราเลือก v0 มากสุด
 
4. ให้ขาตั้งสองขายึดกันด้วยบานพับที่ไม่มีแรงเสียดทาน และสัมประสิทธิ์แรงเสียดทาน ระหว่างพื้นกับขาตั้งเท่ากับ μ แล้วค่า θ สูงสุดในข้อใด ที่ทำให้ขาตั้งไม่ยุบลง
A sinθ = 2μ
B sinθ/2 = μ/2
C tanθ/2 = μ
D tanθ = 2μ
E tanθ/2 = 2μ
ตอบ (E)

เนื่องจากแต่ละขาต้องสร้างสมดุลของแรงเสียดทานจากแรงในแนวนอนของขาอีกข้าง ผ่านจุดยอดของขาตั้งพิจารณาที่ทอร์กสมดุล
\(\dfrac{{\rm{L}}}{{\rm{2}}}\left( {{\rm{M / 2}}} \right){\rm{ g sin \alpha = LF}}{{\rm{}}_{\rm{f}}}{\rm{cos \alpha }}\)
โดย Ff คือ แรงเสียดทานบนขาแต่ละข้าง และ \({\rm{ \alpha = }}\dfrac{1}{2}\theta\)
ส่วนแรงตั้งฉากที่กระทำกับขาตั้งจะมีค่าเท่ากับน้ำหนักของขาตั้ง ดังนั้น
\({{\rm{F}}_{\rm{N}}}{\rm{ = (M/2)g}}\)
จับเทียบจะได้
\({{\rm{F}}_{\rm{N}}}{\rm{ = (M/2)g}}\)
หรือ
\(\dfrac{{\rm{L}}}{{\rm{2}}}\left( {{\rm{M / 2}}} \right){\rm{ g sin \alpha = L}}\mu \left( {{\rm{M / 2}}} \right){\rm{g cos \alpha }}\)
ดังนั้น tan θ / 2 = 2μ 
5. นักเรียนก้าวเข้าไปในลิฟต์และขึ้นไปอยู่บนเครื่องชั่ง เมื่อลิฟต์เคลื่อนที่จากชั้นบนสุด ไปชั้นล่างสุดของอาคาร นักเรียนได้บันทึกน้ำหนักตามเวลาที่เปลี่ยนไป ดังนี้
แล้วช่วงเวลาใดที่นักเรียนเคลื่อนที่ลงด้วยอัตราเร็วสูงสุด
A ช่วงวินาทีที่ 2 ถึง 4
B ที่วินาทีที่ 4
C ช่วงวินาทีที่ 4 ถึง 22
D ที่วินาทีที่ 22
E ช่วงวินาทีที่ 22 ถึง 24
ตอบ (C)

ค่าที่อ่านจากเครื่องชั่งจะไม่ใช่น่ำหนักแท้จริงของนักเรียน แต่เป็นแรงตั้งฉาก FN ที่กระทำกับขาที่เหยียบเครื่องชั่ง ซึ่งเป็นไปตามค่า g ดังนี้
\(\rm m_{scale} g = F_N\)

โดยแรงตั้งฉากจะมีทิศชี้ขึ้นไปยังนักเรียน ส่วนแรงดึงดูด mg จะมีทิศลงเสมอ ดังนั้น ความเร่งของนักเรียนขณะเคลื่อนที่ลงจะเท่ากับ 
\(\rm ma = mg – F_N\)

เมื่อรวมสมการและจัดรูปใหม่จะได้ 
\({\rm{a = g}}\left( {1 - \dfrac{{{{\rm{m}}_{{\rm{scale}}}}}}{{\rm{m}}}} \right)\)

เนื่องจากลิฟท์เริ่มจากหยุดนิ่ง ดังนั้น ความเร็วต้นของนักเรียนจะต้องเป็นศูนย์ แสดงว่า มวลของนักเรียนต้องเป็น 80 kg จากกราฟจะเห็นว่ามีสองคาบที่มีความเร่งสม่ำเสมอ โดยจุดแรกที่เกิดการลดลงจะมีความเร่งเท่ากับ
\({\rm{a = }}\left( {10~{\rm{ m/}}{{\rm{s}}^2}} \right)\left( {1 - \dfrac{{{\rm{60 ~kg }}}}{{{\rm{80 ~kg}}}}} \right) = 2.5~{\rm{ m/}}{{\rm{s}}^2}\)
และในจุดที่สองที่มีการเพิ่มขึ้นก็จะมีขนาดเท่ากัน
ดังนั้น ความเร็วในการเคลื่อนที่ลงสูงสุดจะเกิดขึ้นในช่วงที่มีความเร่งสม่ำเสมอ ในข้อนี้จะเกิดขึ้นในช่วงวินาทีที่ 4 ถึง 22
6. นักเรียนก้าวเข้าไปในลิฟต์และขึ้นไปอยู่บนเครื่องชั่ง เมื่อลิฟต์เคลื่อนที่จากชั้นบนสุด ไปชั้นล่างสุดของอาคาร นักเรียนได้บันทึกน้ำหนักตามเวลาที่เปลี่ยนไป ดังนี้
แล้วอาคารนี้สูงกี่เมตร
A 50 m
B 80 m
C 100 m
D 150 m
E 400 m
ตอบ (C)

จากกราฟจะเห็นว่ามีสองคาบที่มีความเร่งสม่ำเสมอ โดยจุดแรกที่เกิดการลดลงจะมีความเร่งเท่ากับ
\({\rm{a = }}\left( {10~{\rm{ m/}}{{\rm{s}}^2}} \right)\left( {1 - \dfrac{{{\rm{60~ kg }}}}{{{\rm{80~ kg}}}}} \right) = 2.5~{\rm{ m/}}{{\rm{s}}^2}\)
และในจุดที่สองที่มีการเพิ่มขึ้นก็จะมีขนาดเท่ากัน
ความเร็วในการเคลื่อนที่ลงสูงสุดจะเกิดขึ้นในช่วงที่มีความเร่งสม่ำเสมอ ในข้อนี้จะเกิดขึ้นในช่วงวินาทีที่ 4 ถึง 22
ส่วนเวลาที่ใช้เร่งความเร็วจะเกิดขึ้นใน 2 วินาทีแรก ดังนั้น ความเร็วของลิฟท์หลังเร่งความเร็วจะเท่ากับ 5 m/s และคาบในช่วงที่มีความเร่งจะมีค่าประมาณ 20 s และเคลื่อนที่ไปได้ประมาณ 100 m
จากการคำนวณก็ทำให้ได้คำตอบที่ชัดเจนอยู่แล้ว หรือเราจะพิจารณากราฟของความเร็วกับเวลาก็ได้
โดยระยะทางที่เคลื่อนที่ไปได้เท่ากับพื้นที่ใต้กราฟ ซึ่งมีค่าเท่ากับ 100 m
7. ให้รถยนต์และรถบรรทุกมีโมเมนตัมเดียวกัน รถบรรทุกมีน้ำหนักเป็นสิบเท่าของรถยนต์ ข้อใดเปรียบเทียบพลังงานจลน์ของรถทั้งสองคันได้ถูกต้อง
A พลังงานจลน์ของรถบรรทุก มีค่ามากกว่า 100 เท่า
B พลังงานจลน์ของรถบรรทุก มีค่ามากกว่า 10 เท่า
C พลังงานจลน์ของรถทั้งคัน มีค่าเท่ากัน
D พลังงานจลน์ของรถยนต์ มีค่ามากกว่า 10 เท่า
E พลังงานจลน์ของรถยนต์ มีค่ามากกว่า 100 เท่า
ตอบ (D)

เขียนพลังจลน์ในเทอมของโมเมนตัมจะได้
\({\rm{K = }}\dfrac{{{{\rm{p}}^{\rm{2}}}}}{{{\rm{2m}}}}\)
ดังนั้น อัตราส่วนจะอยู่ในรูป
\(\dfrac{{{{\rm{K}}_1}}}{{{{\rm{K}}_2}}}{\rm{ = }}\dfrac{{{{\rm{m}}_2}}}{{{{\rm{m}}_1}}}\)
จากโจทย์จึงสรุปว่า พลังงานจลน์ของรถยนต์ มีค่ามากกว่า 10 เท่า
8. รถบรรทุกมีความเร็วเริ่มต้น v คนขับได้เบรกจนกระทั่งรถหยุด โดยเบรกกระทำกับรถด้วยแรงคงที่ F ระยะทางที่รถบรรทุกเคลื่อนที่ไปจนกระทั่งหยุดคือ x และเวลาที่ใช้ในการหยุดรถคือ t
แล้วข้อใดแสดงพลังงานจลน์เริ่มต้นของรถบรรทุกได้ถูกต้อง (พลังงานจลน์ก่อนคนขับเบรก)
 
A Fx
B Fvt
C Fxt
D Ft
E ถูกทั้งข้อ (A) และ (B)
ตอบ (A)

ข้อนี้พิจารณาเฉพาะขนาด สังเกตว่า
\({{\rm{K}}_{\rm{i}}}{\rm{ = }}\delta {\rm{K = W = Fx}}\)
9. รถบรรทุกมีความเร็วเริ่มต้น v คนขับได้เบรกจนกระทั่งรถหยุด โดยเบรกกระทำกับรถด้วยแรงคงที่ F ระยะทางที่รถบรรทุกเคลื่อนที่ไปจนกระทั่งหยุดคือ x และเวลาที่ใช้ในการหยุดรถคือ t
แล้วข้อใดต่อไปนี้แสดงโมเมนตัมเริ่มต้นของรถบรรทุกได้ถูกต้อง (โมเมนตัมก่อนคนขับรถเบรก)
A Fx
B Ft/2
C Fxt
D 2Ft
E 2Fx/v
ตอบ (E)

พิจารณาเฉพาะขนาด จะได้
\({{\rm{p}}_{\rm{i}}}{\rm{ = }}\Delta {\rm{p = Ft}}\)
แต่
\(\displaystyle {\rm{x = }}\frac{{\rm{1}}}{{\rm{2}}}{\rm{a}}{{\rm{t}}^{\rm{2}}}{\rm{ = }}\frac{{\rm{1}}}{{\rm{2}}}{\rm{(at)t = }}\frac{{\rm{1}}}{{\rm{2}}}{\rm{vt}}\)
ดังนั้น pi = 2Fx/v
10. ข้อใดคือวิธีแยกบอลกลมตัน กับบอลกลมกลวง ที่มีรัศมีและมวลเท่ากัน ได้ดีที่สุด
A ดูจากการโคจรของมวลทดสอบบอลนั้น
B ดูจากเวลาที่วัตถุกลิ้งลงมาจากพื้นเอียง
C ดูจากแรงไทดัลที่กระทำกับวัตถุในของเหลว
D ดูจากลักษณะการลอยตัวของวัตถุในน้ำ
E ดูจากแรงที่กระทำกับวัตถุในสนามโน้มถ่วงที่สม่ำเสมอ 
ตอบ (B)

ข้อ (B) เป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุด เพราะบอลตันจะมีโมเมนต์ความเฉื่อยน้อยกว่าบอลกลมกลวง ทำให้มีความเร่งตอนลงมาจากพื้นเอียงเร็วกว่า
สำหรับข้อ (A) และ (C) เป็นการตรวจสนามโน้มถ่วงนอกวัตถุ สำหรับวัตถุที่เป็นทรงกลม ผลลัพธ์ที่ได้จะขึ้นกับมวลเท่านั้น ส่วนข้อ (E) ค่าที่ได้ขึ้นกับมวลรวมของวัตถุเท่านั้น และข้อ (D) ค่าที่ได้จะขึ้นอยู่กับรูปทรงภายนอกของวัตถุ
11. บล็อกไม้รูปสามเหลี่ยมมุมฉากมวล M วางอยู่บนโต๊ะ ดังรูป มีลูกบาศก์ไม้ขนาดเล็ก มวล m สองอัน วางในแต่ละด้านของด้านประกอบมุมฉาก ให้พื้นผิวสัมผัสระหว่างลูกบาศก์และบล็อกไม้ไม่มีแรงเสียดทาน และในขณะที่ลูกบาศก์เล็กเลื่อนลงมา บล็อกไม้สามเหลี่ยมจะยังคงอยู่ที่เดิม แล้วแรงในแนวตั้งฉากกับผิวสัมผัส (Normal Force) ของระบบกับโต๊ะเท่ากับข้อใด
A 2mg
B 2mg + Mg
C mg + Mg
D Mg + mg(sinα + sinβ)
E Mg + mg(cosα + cosβ)
ตอบ (C)

จากโจทย์ มีสองแรงที่กระทำลูกบาศก์แต่ละอัน คือ แรงตั้งฉากจากบล็อกไม้รูปสามเหลี่ยม และแรงโน้มถ่วง โดยแรงตั้งฉากจะต้องสมดุลกับแรงโน้มถ่วง พิจารณาที่ลูกบาศก์ซ้าย จะได้
\(\rm F_N = mg~ cos α\)
แรงในแนวตั้งของแรงตั้งฉากจะถูกส่งผ่านบล็อกไม้รูปสามเหลี่ยมไปยังพื้นดิน จะได้ 
\(\rm F_{N_y} = mg ~cos2α\)
สำหรับลูกบาศก์ขวาก็เป็นไปในทำนองเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีแรงที่พื้นต้องรับน้ำหนักของบล็อกไม้รูปสามเหลี่ยมอีก
จึงได้แรงทั้งหมดเท่ากับ 
\(\rm F_{tot} = mg~ cos^2 α + mg~ cos^2 β + Mg\)
เนื่องจากบล็อกไม้เป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก แสดงว่า cos2 α + cos2 β = 1 
ดังนั้น Ftot = mg + Mg 
สังเกตว่า แรงในแนวนอนของแรงตั้งฉากมาจากลูกบาศก์ซ้าย จะได้ 
\(\rm F_{N_x} = mg ~cos α~ sin α\)
ส่วนลูกบาศก์ขวาจะมีแรงตั้งฉากในแนวนอนเท่ากับ mg cos β sin β ในทิศตรงข้าม แต่เพราะบล็อกไม้เป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก แสดงว่า cos α sin α = cos β sin β
ดังนั้น แรงแนวนอนสุทธิจึงเท่ากับ ศูนย์ ซึ่งสอดคล้องกับที่โจทย์ระบุว่าบล็อกไม้รูปสามเหลี่ยมจะไม่เคลื่อนที่บนโต๊ะ
 
12. (เกินหลักสูตรการสอบเข้า สอวน.) ทรงกลมกลวงมวล M รัศมี R มีของเหลวมวล M บรรจุไว้เต็ม โดยไม่มีแรงเสียดทาน (ไม่มีความหนืด) ทรงกลมที่เดิมอยู่นิ่ง ถูกปล่อยลงมาจากทางลาดที่ทำมุม θ กับแนวนอน โดยไม่มีการไถล แล้วความเร่งของทรงกลมหลังปล่อยลงมาเท่ากับข้อใด สมมุติว่า ความเร่งของการตกอย่างอิสระคือ g โมเมนต์ความเฉื่อยของทรงกลมกลวงรัศมี r มวล m ที่จุดศูนย์กลางมวล คือ \(\rm I = \dfrac{2}{3} mr^2\)
โมเมนต์ความเฉื่อยของทรงกลมตันรัศมี r มวล m ที่จุดศูนย์กลางมวล คือ \(\rm I = \dfrac{2}{5} mr^2\)
A \(\rm a = g ~sinθ\)
B \(\rm a = \dfrac{3}{4} g ~sinθ\)
C \(\rm a = \dfrac{1}{2} g ~sinθ\)
D \(\rm a = \dfrac{3}{8} g ~sinθ\)
E \(\rm a = \dfrac{3}{5} g ~sinθ\)
ตอบ (B)

ข้อนี้เราอาจคำนวณจากทอร์กหรือพลังงานที่เกิดขึ้น โดยทอร์กที่กระทำกับแกนที่ผ่านจุดสัมผัสจะเท่ากับ
\(\rm τ = RF~ sinθ = 2MgR ~sin θ\)
ความเร่งเชิงมุมเท่ากับ \(\rm τ = Iα\)
 
จากโจทย์จะได้โมเมนต์ความเฉื่อยคือ
\({\rm{I = }}\dfrac{{\rm{2}}}{{\rm{3}}}{\rm{M}}{{\rm{R}}^{\rm{2}}}{\rm{ + M}}{{\rm{R}}^{\rm{2}}}{\rm{ + M}}{{\rm{R}}^{\rm{2}}}{\rm{ = }}\dfrac{{\rm{8}}}{{\rm{3}}}{\rm{M}}{{\rm{R}}^{\rm{2}}}\)
ดังนั้น ความเร่งเท่ากับ
\({\rm{a = \alpha R = }}\dfrac{{{\rm{2MgRsin\theta }}}}{{\dfrac{{\rm{8}}}{{\rm{3}}}{\rm{M}}{{\rm{R}}^{\rm{2}}}}}{\rm{R = }}\dfrac{{\rm{3}}}{{\rm{4}}}{\rm{g sin\theta }}\)
หรืออีกวิธีคือ พิจารณาที่พลังงานจลน์ของวัตถุ จะได้
\(\begin{align*} \rm T &= \frac{{\rm{1}}}{{\rm{2}}}{\rm{(2M)}}{{\rm{v}}^{\rm{2}}}{\rm{ + }}\frac{{\rm{1}}}{{\rm{2}}} \cdot \frac{{\rm{2}}}{{\rm{3}}}{\rm{M}}{{\rm{R}}^{\rm{2}}}{{\rm{\omega }}^{\rm{2}}}\\ \rm T &=\frac{{\rm{4}}}{{\rm{3}}}{\rm{M}}{{\rm{v}}^{\rm{2}}} \end{align*}\)
และพลังงานศักย์ที่เกิดกับแกน y ในแนวตั้ง \(\rm U =  – (2M) gy\)

จากกฎการอนุรักษ์พลังงานจะได้ว่า
\(\begin{align*} \rm \frac{d}{dt}(T + U) &= 0\\ \frac{{\rm{8}}}{{\rm{3}}}{\rm{Mv}}\frac{{{\rm{dv}}}}{{{\rm{dt}}}} &= -{\rm{(2M)g}}\frac{{{\rm{dy}}}}{{{\rm{dt}}}} \end{align*}\)
แต่ \(\dfrac{{{\rm{dy}}}}{{{\rm{dt}}}}\rm= -v\,{\rm{sin\theta }}\)ดังนั้น ความเร่งจะเท่ากับ
\({\rm{a}} = \dfrac{{{\rm{dv}}}}{{{\rm{dt}}}}{\rm{ = }}\dfrac{{\rm{3}}}{{\rm{4}}}{\rm{gsin\theta }}\)
13. ที่วงแหวนด้านนอกของดาวเสาร์ การระบุชั้นที่เป็นส่วนหนึ่งของดาวเสาร์ หรือชั้นที่เป็นดาวบริวารของดาวเสาร์ เราจะต้องทราบความสัมพันธ์ระหว่าง ความเร็ว v ของแต่ละชั้นในวงแหวน และระยะทางที่วัดจากศูนย์กลางของดาวเสาร์ R ของแต่ละชั้นเสียก่อน จงพิจารณาว่าข้อความใดต่อไปนี้ถูกต้อง
A ถ้า v ∝ R แสดงว่า ชั้นนั้นเป็นส่วนหนึ่งของดาวเสาร์
B ถ้า v2 ∝ R แสดงว่า ชั้นนั้นเป็นดาวบริวารของดาวเสาร์
C ถ้า v ∝ 1/R แสดงว่า ชั้นนั้นเป็นส่วนหนึ่งของดาวเสาร์
D ถ้า v2 ∝ 1/R แสดงว่า ชั้นนั้นเป็นส่วนหนึ่งของดาวเสาร์
E ถ้า v ∝ R2 แสดงว่า ชั้นนั้นเป็นดาวบริวารของดาวเสาร์
ตอบ (A)

หากเป็นชั้นที่เป็นส่วนหนึ่งของดาวเสาร์ แล้ว ω = v / R จะเป็นค่าคงที่ 
แสดงว่า v ∝ R
หากเป็นชั้นที่เป็นดาวบริวารของดาวเสาร์ จะได้
\(\dfrac{{{{\rm{v}}^{\rm{2}}}}}{{\rm{R}}} = \dfrac{{{\rm{GM}}}}{{{{\rm{r}}^{\rm{2}}}}}\)
แสดงว่า v2 ∝ 1/R
14. รถเข็นมวล m เคลื่อนที่ไปทางขวาด้วยความเร็ว 12 m/s ชนแบบยืดหยุ่นกับรถเข็นมวล 4.0 kg ที่เดิมอยู่นิ่ง หลังการชน รถเข็นมวล m เคลื่อนที่ไปทางซ้ายด้วยความเร็ว 6.0 m/s ถ้าการชนแบบยืดหยุ่นเกิดในมิติเดียว แล้วความเร็วที่จุดศูนย์กลางมวล (vcm) ของรถเข็นทั้งสองคัน ก่อนชนเท่ากับข้อใด
A  vcm = 2.0 m/s
B vcm = 3.0 m/s
C vcm = 6.0 m/s
D vcm = 9.0 m/s
E vcm = 18 m/s
ตอบ (B)

พิจารณาที่จุดศูนย์กลางมวลของรถเข็น โดยพื้นฐานแล้วรถเข็นจะต้องมีโมเมนตัมเท่ากันแต่ตรงข้ามกัน เพื่อให้โมเมนตัมรวมเป็นศูนย์ หลังการชนแบบยืดหยุ่น โมเมนตัมจะมีทิศย้อนกลับ ซึ่งชัดเจนจากกฎการอนุรักษ์พลังงานรวม และโมเมนตัม 
ดังนั้น ความเร็วของจุดศูนย์กลางมวลจึงเท่ากับ 3 m/s เพื่อให้ความเร็วต้นของ m ไปทางขวา 9 m/s และความเร็วสุดท้ายของ m ไปทางซ้าย 9 m/s 
สังเกตว่า เราไม่จำเป็นต้องรู้มวล และความเร็วปลายของรถเข็นคันอื่น ๆ เลย

หรืออาจใช้สมการ
\(\rm 12m = 6 m + 4 v^2\)
และ
\(\dfrac{1}{2}{\rm{m}} \times {12^2} = \dfrac{1}{2}{\rm{m}} \times {6^2} + \dfrac{1}{2} \times 4 \times {\rm{v}}_2^2\)
แก้สมการแล้วหาคำตอบ จะได้ 
\({{\rm{v}}_{{\rm{cm}}}} = \dfrac{{12~{\rm{m}}}}{{{\rm{m}} + 4}} = 3\,\,{\rm{m/s}}\)
15. คานสม่ำเสมอ มีส่วนหนึ่งจมอยู่ในน้ำและปลายด้านหนึ่งถูกแขวนไว้ ดังรูป ถ้าคานมีความหนาแน่นเป็น 5/9 ของน้ำ แล้วที่ภาวะสมดุล สัดส่วนของคานที่อยู่เหนือน้ำจะเท่ากับข้อใด
A 0.25
B 0.33
C 0.5
D 0.67
E 0.75
ตอบ (D)

สมมุติให้ α เป็นสัดส่วนของคานที่อยู่เหนือน้ำ, l เป็นความยาวของคาน, V เป็นปริมาตรของคาน, ρw เป็นความหนาแน่นของน้ำ และ ρr เป็นความหนาแน่นของคาน จากนั้นพิจารณาทอร์กที่จุดหมุน โดยแรงโน้มถ่วงที่กระทำกับทอร์กเท่ากับ
\({{\rm{\tau }}_{\rm{g}}}{\rm{ = }}{{\rm{\rho }}_{\rm{r}}}{\rm{V g }} \cdot \dfrac{{\rm{1}}}{{\rm{2}}}l\)
เนื่องจาก 1 – α คือส่วนที่คานจมอยู่ใต้น้ำ และจุดศูนย์กลางของส่วนที่จมอยู่ใต้น้ำจะอยู่ห่างจากจุดหมุนป็นระยะ (α + \(\frac{1}{2}\)(1 – α))l ดังนั้น แรงลอยที่กระทำกับทอร์กจะเท่ากับ
\(\begin{align*} {{\rm{\tau }}_{\rm{b}}} &={{\rm{\rho }}_{\rm{w}}}{\rm{(1}}-{\rm{\alpha )V g }} \cdot {\rm{(\alpha + }}\frac{{\rm{1}}}{{\rm{2}}}{\rm{(1}}-{\rm{\alpha ))}}l\\ {{\rm{\tau }}_{\rm{b}}}&= \frac{{\rm{1}}}{{\rm{2}}}{{\rm{\rho }}_{\rm{w}}}{\rm{(1}}-{{\rm{\alpha }}^{\rm{2}}}{\rm{)V g}}l \end{align*}\)
เนื่องจากทอร์กต้องเท่ากัน จะได้
\(\begin{align*} {{\rm{\tau }}_{\rm{g}}}&={{\rm{\tau }}_{\rm{b}}}\\ {\rm{ }}\frac{{\rm{1}}}{{\rm{2}}}{{\rm{\rho }}_{\rm{r}}} &= \frac{{\rm{1}}}{{\rm{2}}}{{\rm{\rho }}_{\rm{w}}}{\rm{(1}}-{{\rm{\alpha }}^{\rm{2}}}{\rm{)}}\\ \frac{{{{\rm{\rho }}_{\rm{r}}}}}{{{{\rm{\rho }}_{\rm{w}}}}} &= {\rm{1}}-{{\rm{\alpha }}^{\rm{2}}} \end{align*}\)
จากโจทย์ให้ \(\dfrac{{{{\rm{\rho }}_{\rm{r}}}}}{{{{\rm{\rho }}_{\rm{w}}}}} = \dfrac{5}{9}\)
ดังนั้น
\(\begin{align*} \frac{{\rm{5}}}{9} &= {\rm{1}}-{{\rm{\alpha }}^{\rm{2}}}\\ {\rm{\alpha }} &= \frac{2}{3} \end{align*}\)
16. แนวคิดจาก โจทย์โอลิมปิกฟิสิกส์นานาชาติ 2012 ที่ เอสโตเนีย 
อนุภาคขนาดเล็กจำนวนมากรวมตัวเป็นเมฆทรงกลมในอวกาศ ที่สภาวะหยุดนิ่ง อนุภาคจะมีความหนาแน่นของมวลต่อปริมาตรเป็น ρ0 และมีรัศมี r0 ถ้าแรงโน้มถ่วงทำให้ยุบตัว โดยมีเฉพาะแรงโน้มถ่วงที่กระทำระหว่างกัน (ไม่มีแรงอื่น) แล้วต้องใช้เวลานานแค่ไหนเมฆจึงจะยุบตัวสมบูรณ์ (ค่าจริงของ 0.5427 คือ\(\sqrt{\frac{3\pi}{32}}\))
A \(\rm \dfrac{0.5427}{r_0^2\sqrt{G\rho_0}}\)
B \(\rm \dfrac{0.5427}{r_0\sqrt{G\rho_0}}\)
C \(\rm \dfrac{0.5427}{\sqrt{r_0}\sqrt{G\rho_0}}\)
D \(\rm \dfrac{0.5427}{\sqrt{G\rho_0}}\)
E \(\rm \dfrac{0.5427}{\sqrt{G\rho_0}}r_0\)
ตอบ (D)

ข้อนี้ต้องหาคำตอบด้วยวิธีวิเคราะห์เชิงมิติ ซึ่งจะพิจารณาจาก
\({\rm{t = 0}}{\rm{.527~}}{{\rm{G}}^{{\rm{ - 1/2}}}}{\rho _{\rm{0}}}^{{\rm{ - 1/2}}}{\rm{r}}_0^{\rm{n}}\)
(เนื่องจากในทุกตัวเลือก ตัวแปร G และ ρ0 มีเลขชี้กำลังเดียวกัน) 

โดยขนาดของ t เป็น [T], ขนาดของ G เป็น [L]3 [M]-1 [T]-2 , ขนาดของ ρ0 เป็น [L]-3 [M] และขนาดของ r0 เป็น [L] จะได้
\(\begin{align*} \rm [T] &= ([L{{\rm{]}}^{\rm{3}}}{{\rm{[M]}}^{{\rm{ - 1}}}}{{\rm{[T]}}^{{\rm{ - 2}}}}{{\rm{)}}^{{\rm{ - 1/2}}}}{{\rm{([L}}{{\rm{]}}^{{\rm{ - 3}}}}{\rm{[M])}}^{{\rm{ - 1/2}}}}{{\rm{[L]}}^{\rm{n}}}\\ \rm[T] &= {\rm{[T][L}}{{\rm{]}}^{\rm{n}}}\\ \rm n &= 0 \end{align*}\)
สังเกตว่า เวลาในการยุบตัวไม่ได้ขึ้นกับขนาดของเมฆเลย
 
17. วัตถุมวลเท่ากันสองอันเชื่อมกันด้วยคานเบา และโคจรรอบดาวเคราะห์ดวงหนึ่ง โดยคานมีความยาวระดับหนึ่ง แต่สั้นกว่ารัศมีวงโคจร ขณะโคจร คานจะอยู่ในลักษณะตั้งฉากกับดาวเคราะห์เสมอ 
    • มีแรงเกิดขึ้นที่คานหรือไม่ ? ถ้ามีจะเป็นแรงดึงหรือแรงอัด ? 
    • จะเกิดสภาวะสมดุลเสถียร ไม่เสถียร หรือตามธรรมชาติ เมื่อมีการรบกวนการทำมุมของคานเพียงเล็กน้อย ? ( การรบกวนในที่นี้ คือ การรบกวนการรักษาอัตราการหมุนที่ทำให้คานยังคงตั้งฉากกับดาวเคราะห์ )
A ไม่มีแรงใดเกิดขึ้น และมีสภาวะสมดุลตามธรรมชาติ
B มีแรงดึงเกิดขึ้น และมีสภาวะสมดุลเสถียร
C มีแรงอัดเกิดขึ้น และมีสภาวะสมดุลเสถียร
D มีแรงดึงเกิดขึ้น และมีสภาวะสมดุลไม่เสถียร
E มีแรงอัดเกิดขึ้น และมีสภาวะสมดุลไม่เสถียร
ตอบ (D)

เนื่องจากแรงโน้มถ่วงคิดจาก 1/r2 ดังนั้น แรงดึงดูดของมวลด้านในจะมากกว่ามวลด้านนอก ในขณะที่มวลทั้งสองมีความเร็วเชิงมุมเดียวกัน ดังนั้น ความเร่งสู่ศูนย์กลางจะเท่ากับ r แสดงว่ามวลด้านนอกต้องมีแรงสู่ศูนย์กลางมากกว่ามวลด้านใน
ให้ Fa เป็นแรงสู่ศูนย์กลาง 
สำหรับมวลด้านนอก Fa > Fg ดังนั้น มวลด้านนอกจึงดึงให้คานยึดออก (หรือคานออกแรงดึงเข้า) 
และในทำนองเดียวกันสำหรับมวลด้านใน Fa < Fg จึงตอบข้อ (D)

เพื่อให้เข้าใจง่ายลองพิจารณาที่จุด C.M. ว่า มวลด้านนอกมีแรงพุ่งออกในแนวรัศมี และมีแรงดึงจากคาน ส่วนมวลด้านในมีแรงพุ่งเข้าในแนวรัศมี และมีแรงตึงจากคาน เมื่อคานถูกรบกวนให้เปลี่ยนมุมเล็กน้อยแรงเหล่านี้จะสร้างทอร์กที่ทำให้คานคงสภาพไว้ คานจึงเกิดความสมดุลเสถียร
 
18. อนุภาคมวล 1 kg สองอัน มีสถานะเริ่มต้น ดังรูป
ถ้ามีเฉพาะแรงภายใน แล้วข้อใดแสดงสถานะหลังผ่านไประยะหนึ่งได้ถูกต้องที่สุด
 
A
B
C
D
E
ตอบ (E)

ประการแรก โมเมนตัมเชิงเส้นจะต้องถูกอนุรักษ์ไว้ จากสถานะเริ่มต้นที่โมเมนตัมเชิงเส้นเป็นศูนย์ แสดงว่าข้อ (B) ไม่ใช่คำตอบ และโมเมนตัมเชิงมุมที่จุดใด ๆ จะต้องถูกอนุรักษ์ไว้ด้วย จากสถานะเริ่มต้นที่โมเมนตัมเชิงเส้นเป็นศูนย์ ดังนั้น โมเมนตัมเชิงมุมจะมีค่าเท่ากันทุกจุดไม่ว่าจะเป็นจุดอ้างอิงใด จึงพิจารณาเพียงจุดใดหนึ่งจุดก็พอ จากโมเมนตัมเชิงมุมรวมต้องเท่ากับ 2 kg m2/s ในทิศทวนเข็มนาฬิกา จึงตัดข้อ (C) และ (D) ออกไป สุดท้าย เนื่องจากโมเมนตัมเชิงเส้นของระบบจะต้องเป็นศูนย์ แสดงว่าจุดศูนย์กลางมวลจะต้องไม่เคลื่อนที่ ข้อ (A) จึงไม่ใช่คำตอบ
 
19. การทดสอบลูกตุ้มอย่างง่าย ประกอบด้วย ลูกตุ้มมวล m ที่ยึดกับแกนหมุนด้วยแท่งเบายาว L ภายใต้สนามโน้มถ่วงคงที่ ลูกตุ้มที่เดิมอยู่นิ่งจะถูกปล่อยลงมาจากมุม θ0 < π / 2 กับแนวเดิม และคาบของการแกว่งคือ T0 โดยไม่คำนึงถึงแรงต้านอากาศและแรงเสียดทาน
ขณะที่ลูกตุ้มแกว่ง มุม θg ใด ที่ทำให้เกิดแรงตึงที่แท่งยึดลูกตุ้มมากที่สุด
A แรงตึงมากสุดที่ θg = θ0
B แรงตึงมากสุดที่ θg = 0
C แรงตึงมากสุดในช่วง 0 < θg < θ0
D แรงตึงคงที่
E ไม่ข้อใดถูกต้อง เพราะ 0 < θ0 < \(\pi\) / 2
ตอบ (B)

มวลจะมีความเร่งพุ่งไปทางแกนหมุน เพราะมีความเร่งสู่ศูนย์กลาง ถ้ามวลมีความเร็ว v ความเร่งจะเท่ากับ
\({{\rm{a}}_{\rm{c}}}{\rm{ = }}\dfrac{{{{\rm{v}}^{\rm{2}}}}}{{\rm{L}}}\)
และมีสองแรงที่กระทำในแนวรัศมี คือ แรงตึงในแท่งยึดลูกตุ้มที่มีทิศพุ่งเข้า และแรงที่แตกมาจากแรงโน้มถ่วงที่มีทิศพุ่งออก ให้ θ เป็นมุมที่กางออกมาจากเส้นในแนวตั้งของแรงโน้มถ่วง จะได้
\(\rm F_{g,rad} = mg \,cos θ\)
จากกฎข้อที่สองของนิวตัน จะได้แรงตึง F เท่ากับ
\(\rm F –  F_{g, rad} = ma_c\)
และทั้งสองสมการจะมีค่าเพิ่มขึ้น เมื่อมวลเข้าใกล้จุดต่ำสุดของการแกว่ง ดังนั้น แรงตึงสูงสุดเกิดขึ้นที่นั้น 
สรุปว่า ที่ θg = 0 จะทำให้เกิดแรงตึงที่แท่งยึดลูกตุ้มมากที่สุด
20. การทดสอบลูกตุ้มอย่างง่าย ประกอบด้วย ลูกตุ้มมวล m ที่ยึดกับแกนหมุนด้วยแท่งเบายาว L ภายใต้สนามโน้มถ่วงคงที่ ลูกตุ้มที่เดิมอยู่นิ่งจะถูกปล่อยลงมาจากมุม θ0 < π / 2 กับแนวเดิม และคาบของการแกว่งคือ T0 โดยไม่คำนึงถึงแรงต้านอากาศและแรงเสียดทาน
แรงตึงมากสุดที่แท่งยึดลูกตุ้ม จะมีค่าเท่าใด
 
A mg
B 2mg
C mL θ0/T02
D mg sinθ0
E mg(3 – 2 cosθ0)
ตอบ (E)

เนื่องจากแท่งยึดลูกตุ้มจะเกิดแรงตึงสูงสุดเมื่อมวลอยู่ที่จุดต่ำสุดของการแกว่ง 
ที่จุดต่ำสุด ระยะทางตามแนวตั้งที่มวลเคลื่อนที่ไปได้จะเท่ากับ L (1 – cos θ0) ดังนั้น จากกฎการอนุรักษ์พลังงาน จะได้ว่า
\(\dfrac{1}{2}{\rm{m}}{{\rm{v}}^{\rm{2}}}{\rm{ = mgL(1}}-{\rm{cos }}{{\rm{\,\theta }}_{\rm{0}}}{\rm{)}}\)
และที่จุดต่ำสุดจะมีแรงตึงเท่ากับ
\(\begin{align*} \rm F &=\rm mg + 2mg(1 - cos\,{{\rm{\theta }}_{\rm{0}}}{\rm{)}}\\ \rm F &= \rm mg(3 -2cos\, {{\rm{\theta }}_{\rm{0}}}{\rm{)}} \end{align*}\)
ดังนั้น แรงตึงมากสุดจะเท่ากับ mg(3 – 2 cosθ0)
21. การทดสอบลูกตุ้มอย่างง่าย ประกอบด้วย ลูกตุ้มมวล m ที่ยึดกับแกนหมุนด้วยแท่งเบายาว L ภายใต้สนามโน้มถ่วงคงที่ ลูกตุ้มที่เดิมอยู่นิ่งจะถูกปล่อยลงมาจากมุม θ0 < π / 2 กับแนวเดิม และคาบของการแกว่งคือ T0 โดยไม่คำนึงถึงแรงต้านอากาศและแรงเสียดทาน
ถ้าทำการทดลองใหม่ด้วยแท่งยึดลูกตุ้มยาว 4L โดยใช้มุมเดิมคือ θ0 จะได้คาบของการแกว่งคือ T แล้วข้อความใดต่อไปนี้ถูกต้อง
 
A T = 2T0 โดยไม่คำนึงถึง θ0
B T > 2T0 โดย T ≈ 2T0 ถ้า θ0 << 1
C T < 2T0 โดย T ≈ 2T0 ถ้า θ0 << 1
D T > 2T0 ในบาง θ0 และ T < 2T0 ในบาง θ0
E ไม่สามารถหาค่า T และ 2T0 ได้ เพราะไม่ใช่การแกว่งแบบมีคาบ ( ยกเว้นกรณี θ0 << 1 )
ตอบ (A)

การแกว่งนี้จะมีคาบที่แน่นอน (ลองพิจารณาที่ θ ใดๆ จะพบว่าพลังงานจะถูกอนุรักษ์ไว้ และอนุภาคจะกลับสู่สภาวะหยุดนิ่งที่จังหวะหนึ่ง) จากการวิเคราะห์เชิงมิติ จะได้คาบของการแกว่งเท่ากับ
\({\rm{T = f(}}{{\rm{\theta }}_{\rm{0}}}{\rm{)}}\sqrt {\dfrac{{{l_0}}}{g}}\)
ดังนั้น ที่ θ0 ใดๆ จะมีคาบการแกว่งแปรผันกับ \(\sqrt {{l_0}}\)
22. กำหนดภาพจำลองเท้ามนุษย์ ดังรูป ถ้านักเรียนมวล m = 60 kg ยืนด้วยนิ้วเท้าเดียว แล้วแรงตึง T ในเอ็นร้อยหวายควรเท่ากับข้อใด
A T = 600 N
B T = 1200 N
C T = 1800 N
D T = 2400 N
E T = 3000 N
ตอบ (D)

จากโจทย์น้ำหนักของนักเรียนคนนั้นเท่ากับ W = mg = 600 N ซึ่งเป็นน้ำหนักที่นิ้วเท้าต้องรองรับไว้ ส่วนข้อเท้าจะเป็นจุดแบ่งสมดุลของทอร์ก จะได้
\(\begin{align*} \rm T \cdot 5 cm &= 600 \rm N \cdot {\rm{ 20 cm}}\\ \rm{T} &= 2400\rm~ N \end{align*}\)
23. คนมวล m กระโดดบันจี้จัมลงมาจากสะพานสูง ได้ระยะตกสูงสุด H จากนั้นเชือกจะหน่วงให้เขาอยู่นิ่งชั่วขณะก่อนที่จะตีกลับขึ้นไป ให้เชือกมีความยืดหยุ่นสมบูรณ์ ตามกฎแรงของฮุค (Hooke's force law) มีค่านิจสปริง k และสามารถยืดจากความยาวเดิม L0 ถึง L = L0 + h ได้ และแรงตึงสูงสุดในเส้นเชือกจะเท่ากับสี่เท่าของน้ำหนักคน
แล้วค่านิจสปริงควรมีค่าเท่าใด
A \(\rm k=\dfrac{mg}{h}\)
B \(\rm k=\dfrac{2mg}{h}\)
C \(\rm k=\dfrac{mg}{H}\)
D \(\rm k=\dfrac{4mg}{H}\)
E \(\rm k=\dfrac{8mg}{H}\)
ตอบ (E)

ในขณะที่เชือกยืดตัวสูงสุด ทุกพลังงานศักย์โน้มถ่วงจะถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานงานศักย์ของสปริง
\({\rm{mgH = }}\dfrac{{\rm{1}}}{{\rm{2}}}{\rm{k}}{{\rm{h}}^{\rm{2}}}\)
เมื่อแทนแรงตึงสูงสุดที่มีค่าเท่ากับสี่เท่าของน้ำหนักคน ผลลัพธ์ขณะเชือกยืดตัวสูงสุดจะเท่ากับ
\(\rm kh = 4mg\)
ตัดตัวแปร h ได้
\({\rm{k = }}\dfrac{{{\rm{8mg}}}}{{\rm{H}}}\)
24. คนมวล m กระโดดบันจี้จัมลงมาจากสะพานสูง ได้ระยะตกสูงสุด H จากนั้นเชือกจะหน่วงให้เขาอยู่นิ่งชั่วขณะก่อนที่จะตีกลับขึ้นไป ให้เชือกมีความยืดหยุ่นสมบูรณ์ ตามกฎแรงของฮุค (Hooke's force law) มีค่านิจสปริง k และสามารถยืดจากความยาวเดิม L0 ถึง L = L0 + h ได้ และแรงตึงสูงสุดในเส้นเชือกจะเท่ากับสี่เท่าของน้ำหนักคน
จงหาระยะยืดสูงสุดของเชือก h
A \(\rm h=\dfrac{1}{2}H\)
B \(\rm h=\dfrac{1}{4}H\)
C \(\rm h=\dfrac{1}{5}H\)
D \(\rm h=\dfrac{2}{5}H\)
E \(\rm h=\dfrac{1}{8}H\)
ตอบ (A)

ในขณะที่เชือกยืดตัวสูงสุด ทุกพลังงานศักย์โน้มถ่วงจะถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานงานศักย์ของสปริง
\({\rm{mgH = }}\dfrac{{\rm{1}}}{{\rm{2}}}{\rm{k}}{{\rm{h}}^{\rm{2}}}\)
เมื่อแทนแรงตึงสูงสุดที่มีค่าเท่ากับสี่เท่าของน้ำหนักคน ผลลัพธ์ขณะเชือกยืดตัวสูงสุดจะเท่ากับ
\(\rm kh = 4mg\)
ตัดตัวแปร k และ mg ได้
\({\rm{h = }}\dfrac{{\rm{1}}}{{\rm{2}}}{\rm{H}}\)
25. กล่องหนัก W เลื่อนลงมาจากพื้นเอียง 30 ด้วยอัตราเร็วคงที่ ภายใต้แรงโน้มถ่วงและแรงเสียดทาน ถ้าเพิ่มแรง P กระทำกับกล่องในแนวนอนจะทำให้กล่องเคลื่อนที่ขึ้นด้วยอัตราเร็วคงที่ แล้วขนาดของ P ควรเท่ากับข้อใด
A \(\rm P = W/2\)
B \(\rm P = 2W/\sqrt3\)
C \(\rm P = W\)
D \(\rm P = \sqrt3W\)
E \(\rm P = 2W\)
ตอบ (D)

ถ้ากล่องเคลื่อนที่ลงมาด้วยอัตราเร็วคงที่ จะได้ tan θ = μ
ถ้ากล่องถูกแรง P ผลักขึ้นพื้นเอียงในแนวนอนด้วยความเร็วคงที่ จะได้
\(\rm F_N = mg \,cos θ + P \,sin θ\)
ดังนั้น แรงเสียดทานจะเท่ากับ
\(\rm F_f = μ (mg \,cos θ + P \,sin θ)\)
ซึ่งแรงจะสมดุลด้วยแรงโน้มถ่วง และการผลักขึ้นพื้นเอียง จึงได้
\(\rm P cos θ = μ (mg \,cos θ + P \,sin θ) + mg \,sin θ\)
เมื่อหารตลอดสมการด้วย cosθ และแทน tan θ = μ จะได้
\(\begin{align*} \rm P &= \rm \mu (W + P\mu ) + W\mu \\ &= \frac{{{\rm{2\mu }}}}{{1 - {{\rm{\mu }}^2}}}{\rm{W}}\\ &= \frac{{{\rm{2}}\frac{1}{{\sqrt 3 }}}}{{1 - \frac{1}{3}}}{\rm{W}} \end{align*}\)
ดังนั้น \({\rm{P = }}\sqrt 3 {\rm{W}}\)