จากบทความที่ผ่านมาเรื่อง “การวัดค่าสัมประสิทธิ์การดูดซับเสียง” (อ่านและดูภาพประกอบเพิ่มเติมที่
http://www.thaiphysoc.org/article/101/) เราพบเคยว่าในสมการที่ใช้ในการคำนวณหาสัมประสิทธิ์การดูดซับเสียงนั้นตัวแปรหลักๆของทุกวิธีการวัด คือ
“ความต้านทานทางเสียง” ดังนั้นเรามาทำความรู้จัก ความต้านทานทางเสียง กันให้มากยิ่งขึ้นดีกว่า
ความต้านทาน คือ ตัวชี้วัดความยากลำบากในการเคลื่อนที่ของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ในทางไฟฟ้าความต้านทาน (R) ของวัตถุจะถูกกำหนดให้เป็นอัตราส่วนของ แรงดันไฟฟ้า (Electric voltage, (V)) ต่อกระแส (Electric current, (/))
\(R=\dfrac{V}{1}\) (1)
เช่นเดียวกันกับความต้านทานเชิงกลที่มีค่าเท่ากับแรงกระทำภายนอก (External force, (F)) ต่อความเร็ว (Velocity, (v))
\(Z=\dfrac{F}{v}\) (2)
ในกรณีของเสียงความต้านทานทางเสียง คำนวณได้จาก ความดันเสียง (Sound pressure, (p)) ต่อความเร็วของอนุภาคเสียง (Particle velocity, (v))
\(Z=\dfrac{P}{v}\) (3)
เมื่อคลื่นเสียงแพร่กระจายในพื้นที่เปิดโล่ง ผ่านตัวกลางที่เป็นอากาศ โดยไม่มีการสูญเสีย ความต้านทานทางเสียง จะเป็นจำนวนจริงเสมอ ซึ่งสามารถคำนวณได้จาก ผลคูณของความหนาแน่นของตัวกลาง (Density, (
ρ)) และความเร็วเสียง (Sound speed, (c)) ดังสมการ
\(Z=\dfrac{P}{v}\) หรือ ρc (4)
แล้วค่าความต้านทานเสียงมาเป็นค่าสัมประสิทธิ์การสะท้อน การส่งผ่าน หรือ การดูดซับเสียงได้ยังไง ?
เมื่อเสียงเดินทางผ่านตัวกลางสองชนิด เกิดความสัมพันธ์ระหว่างการสะท้อนและการส่งผ่านของเสียงดังแสดงในรูปที่ 1 ภายใต้เงื่อนไขสองประการคือ 1) ความดันเสียงต้องมีความต่อเนื่อง และ 2) ความเร็วต้องเท่ากัน แม้ว่าความดันเสียงจะไม่มีทิศทาง แต่ความเร็วเป็นปริมาณเวกเตอร์ด้วยเหตุนี้สามารถเขียนแทนได้ดังสมการ (5.1) และ (5.2)
ดังนั้นค่าสัมประสิทธิ์การดูดซับเสียงจะถูกกำหนดโดยอัตราส่วนความต้านทานทางเสียง (z) ต่อความต้านทานของอากาศ (Z) เราเรียก อัตราส่วนความต้านทานทางเสียงนี้ว่า ความต้านทานทางเสียงปกติของผิววัสดุ (Normalized impedance of the material surface)
การนำความต้านทานทางเสียงไปใช้จริงทำได้อย่างไร
มาถึงตรงนี้หลายท่านอาจจะคิดว่ามันไม่ง่ายเลยใช่ไหมครับ กว่าจะมาเป็นค่าสัมประสิทธิ์การสะท้อน การส่งผ่าน หรือ การดูดซับเสียง แต่ทุกท่านไม่ต้องเป็นห่วงครับ เราสามารถนำข้อมูลที่วัดผ่านเครื่องวิเคราะห์การแปลงฟูเรียร์อย่างเร็ว (Fast Fourier transform, (FFT)) เพื่อคำนวณข้อมูลจำนวนมากมายออกมาเป็นชุดข้อมูลสำเร็จรูปหรือเป็นกราฟที่ต้องการ ดังแสดงในรูปที่ 2
รูปที่ 3 คล้ายกับรูปที่ 1 คือ มีตัวกลาง 2 ชนิด ตัวกลางแรกคือ อากาศ ตัวกลางที่สอง คือ วัสดุสีส้มซึ่งในที่นี้ คือ อิฐพรุน (Porous clay brick) เมื่อเสียงเดินทางผ่านตัวกลางทั้งสองชนิด คือ ภายใต้เงื่อนไขความดันเสียงต้องต่อเนื่อง และความเร็วเสียงต้องเท่ากัน ประกอบกับพื้นหลังของวัสดุสีส้มคือ พื้นคอนกรีตทำให้ไม่มีการส่งผ่านใดๆของเสียงไปยังตัวกลางที่สอง สามารถใช้สมการที่ 11 ในการคำนวณ
ค่าสัมประสิทธิ์การดูดซับเสียงและค่าความต้านทานเสียงภายหลังการวัดและการคำนวณผ่านเครื่องวิเคราะห์การแปลงฟูเรียร์อย่างเร็วแสดงในรูปที่ 4 รูป 4ก แกนนอนคือ ความถี่ (Frequency) แกนตั้งคือค่าสัมประประสิทธิ์การดูดซับเสียง (Sound abosrption coefficient) โดยค่าที่ได้มาจากการวิเคราะห์การแปลงฟูเรียร์อย่างเร็วในข้อมูล 4ข แกนนอนคือ ความถี่ ส่วนแกนตั้งคืออัตราส่วนความต้านทานทางเสียงที่กล่าวไปในข้างต้น
เรียบเรียงโดย
ศิวัช ลาวัลย์วดีกุล
อาจารย์สาขาวิชามาตรวิทยาและระบบคุณภาพ
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
อ้างอิง
- Z. Maekawa, P. Lord, Environmental and Architectural Acoustics, E & FN Spon, London, 1997, pp. 104–105.
- S. Lawanwadeekul, T. Otsuru, R. Tomiku, N. Hi-royasu, I. Eto, D. Matsuoka, and R. Yoshimoto, "Applying the ensemble averaging method with a pressure–velocity sensor to measure sound absorp-tion characteristics of porous clay bricks," Appl. Acoust, 164, 107250, (2020).