รูปที่1 เพชรวัสดุที่ขึ้นชื่อว่าแข็งมากๆ
ที่มา Skolkovo Institute of Science and Technology
ปัจจุบันข้าวของเครื่องใช้ต่างๆไม่ว่าจะเป็น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ ทีวี รวมถึง ยานพาหนะที่เราใช้เดินทางนั้น ล้วนแต่เกิดจากการวัสดุที่นำมาผลิตแตกต่างกันไป ดั่งเช่น หน้าจอมือถือใช้กระจก หรือ ตัวมือถือใช้อะลูมิเนียม ในการประกอบตัวเครื่อง รวมถึงยานพาหนะ เช่น รถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นต้น ล้วนแต่ใช้วัสดุอะลูมิเนียมอัลลอย ในการขึ้นโครงรถด้วยทั้งนั้น โดยที่วัสดุพวกนี้จะต้องมีความแข็งแกร่ง ทนทาน ไม่แตกหัก เปราะ หรือ เสียรูปไปจากเดิมได้ง่ายๆ แต่ก่อนที่เราจะนำวัสดุชนิดนึงมาใช้กับงานที่เราต้องการขึ้นรูป หรือ ประกอบอะไรซักอย่าง เราอยากรู้ว่าวัสดุชนิดไหนมีความแข็งมากที่สุด เราจะต้องทดสอบความแข็งแรง และ ความทนทานของวัสดุชนิดนั้นๆเสียก่อน ซึ่งสมัยก่อนนี้การทดสอบความแข็งแรงของวัสดุนั้นจะกระทำโดยใช้เครื่องกดที่มีหัวเพชรกดลงไปเพื่อดูว่า วัสดุนั้นมีความทนทานเท่าใด ต่อแรงกดกระทำต่อตัววัสดุ กว่าจะหาวัสดุที่แข็งแรงทนทานต่อแรงกระทำนั้น ก็เสียเวลาเป็นอย่างมากในการทดสอบวัสดุในแต่ละชนิด
แต่เมื่อไม่นานมานี้ได้มีนักวิจัยจาก the University of Houston และ Manhattan College ได้ทำการศึกษาวิจัยโดยกานำ การเรียนรู้ของเครื่องหรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อ machine learning นั้นมาช่วยในการหาวิเคราะห์ความแม่นยำในการหาวัสดุใหม่ที่มีความแข็งแรงมาก ๆ ที่เหมาะสำหรับนำไปขึ้นรูปและประกอบชิ้นส่วนเข้ากับงานวิจัยในอุตสาหกรรมต่อไป ซึ่งในงานวิจัยชิ้นนี้ได้ถูกตีพิมพ์ลงในวรสารวัสดุศาสตร์ที่มีชื่อว่า Advanced Material ในทางทฤษฎีวัสดุที่มีความแข็งแรงมาก ๆนั้นจะต้องมีแรงกดที่กระทำต่อตัววัสดุที่นำมาทดสอบนั้นจะต้องได้ค่าความแข็งที่มากกว่า40จิกะปาสคาลในหน่วยวิกเกอร์(Vicker Scale) โดยที่ทางทีมวิจัยนั้นได้ทำการออกแบบการทดลอง โดยการนำการเรียนรู้ของเครื่อง หรือ machine learning มาทำการทำนายและวิเคราะห์จากการทดสอบความแข็งชองวัสดุแบบวิกเกอร์ โดยที่ขึ้นอยู่กับส่วนประกอบของทางเคมีของวัสดุเท่านั้น โดยการนำโบโรคาร์ไบด์(Borocarbide) เฟสที่มีความเสถียรมากมาใช้ในการวิเคราะห์ร่วมกันกับmachine learning โดยจำนวนชุดข้อมูลของสารประกอบนั้นทั้งหมด560ข้อมูล เพื่อใช้ในการวิเคราะห์หาค่าความแข็งของวัสดุ โดยอ้างอิงชุดข้อมูลจากสารประกอบแต่ละตัวที่มีค่าการสูญเสียความแข็ง ร่วมกันกับพื้นฐานการคำนวนความแข็งของวิกเกอร์ จากนั้นนำชุดข้อมูลในแต่ละส่วนมาเปรียบเทียบกัน
รูปที่2 จำนวนชุดข้อมูลของสารประกอบ560ชุดในการวิเคราะห์ค่าความแข็งของวัสดุที่สูญเสีย
ที่มา Finding the Next Superhard Material through Ensemble
Learning
จากผลการทดลองวิเคราะห์สารประกอบของวัสดุโดยใช้การเรียนรู้ด้วยเครื่อง(machine learning) นั้น ผลปรากฏว่า จำนวนชุดข้อมูลทั้งหมด560ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์รวมทั้งโบโรคาร์ไบต์นั้น มีความแม่นยำถึง97เปอร์เซนต์เมื่อเทียบกับการทดลองวัสดุแบบดั่งเดิม ซึ่งจากผลการทดลองนั้น ทางทีมวิจัยยังได้กล่าวอีกว่า การคำนวนและวิเคราะห์โดยใช้การเรียนรู้ด้วยเครื่อง(Machine Learning) นั้นยังมีข้อจำกัดอยู่บางประการ ไม่ว่าจะเป็นจำนวนพารามิเตอร์ที่ใส่ อีกทั้งระเบียบวิธีในการคำนวณอาจจะมีผลของความคาดเคลื่อนอยู่บ้าง อีกทั้งการเรียนรู้ของเครื่อง(Machine Learning)นั้นเป็นเพียงแค่เครื่องมือที่ช่วยในการค้นหาวัสดุ และ ลดระยะเวลาได้มากยิ่งขึ้นและในอนาคตข้างหน้าสืบต่อไป
ก่อนจะจากกันไปบางคนพออ่านถึงตรงนี้อาจจะมีคำถาม และ สงสัยที่ว่า วิกเกอร์สเกล การทดสอบความแข็งของวัสดุโดยวิธีวิกเกอร์(Vicker Hardness) คืออะไรกันแน่ มาตามผมมา เดี๋ยวจะพาไปให้ถึงบางอ้อเอง ก่อนอื่นเราไปรู้จักการวัดความแข็งกันก่อน การวัดความแข็ง(Hardness)นั้น เป็นการวัดคุณสมบัติเชิงกลพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็น ความต้านทานแรงดึง ความเหนียว ความทนต่อการสึกหรอ ระเบียบวิธีการวัดความแข็งใน ณ ปัจจุบัน มี2แบบด้วยกันที่จะยกตัวอย่างมาเริ่ม 1. การทดสอบแบบบริเนลล์ (Brinell Hardness Test) อาศัยการกดของหัวกดทรงกลมที่ผลิตจากเหล็กกล้าชุบแข็ง ซึ่งมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง D ลงบนพื้นผิวชิ้นงานทดสอบด้วยแรงกด F โดยที่คงค่าแรงกดเป็นระยะเวลา 10 ถึง 15 วินาทีสำหรับวัสดุประเภทเหล็กหรือเหล็กกล้า และในอีกแบบนึงจะยังคงค่าแรงเป็นระยะเวลา 30 วินาทีสำหรับโลหะอ่อน เช่น อะลูมิเนียม และทองเหลือง เป็นต้น ทำให้เกิดรอยกดที่มีความลึกบนผิวชิ้นงานวัสดุ และสามารถคำนวนหาค่าความแข็งของบริเนลล์ได้ที่
โดยที่ F คือ แรงกระทำที่กดลงไปบนวัสดุ
D คือ เส้นผ่านศนูย์กลางของลูกเหล็กที่กดลงไป
d คือ เส้นผ่านศนูย์กลางของรอยที่กดลงไปบนวัสดุ
\( π 22/7 หรือ 3.14\)
นี่คือ หลักการทดสอบความแข็งของวัสดุ ที่ทางผู้เขียนนั้นมาขยายความเพื่อให้เข้าใจถึง ระเบียบวิธีการคำนวนและทดลอง เพื่อหาความแข็งของวัสดุต่างๆเป็นต้น
บทความโดย
นวะวัฒน์ เจริญสุข
วิศวกรรมยานยนต์ ทุน TAIST-Tokyo tech
สังกัด สถาบันพัฒนาวิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช)
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ที่มา